0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

407026

  • Training เครื่องวัดแสง รุ่น 407026 @Rangsit City Municipality

    Project:  Training เครื่องวัดแสง Lux Meter รุ่น 407026

    สถานที่: เทศบาลนครรังสิต, จังหวัดปทุมธานี

    วันที่: 25 สิงหาคม 2560

    Training 407026@Rangsit City Municipality

     

    • S__8052753
    • S__8052754

     

     

  • การเลือกใช้เครื่องวัดแสง ในการทำงาน  (Lux Light meter)

    light meter

    การเลือกใช้เครื่องวัดแสง ในการทำงาน  (Lux Light meter)


    การทำงานของเครื่องวัดแสง

            ส่วนประกอบสำคัญของ เครื่องวัดแสง คือ ตัวเซนซ์รับแสง ( photo cell ) และส่วนของแสดงผลการวัด ตัวเซนซ์รับแสงมีหน้าที่ในการรับแสงซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งแปลงไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าแบบอนาลอก  และผ่านการประมวลผลโดยโมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีหน้าที่แปลงค่าความสว่างเป็นสัญญาณดิจิตอล โดยการแสดงผลนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตออกแบบ

    แสง มีคุณสมบัติของความเป็นคลื่น และมีพลังงานที่ขึ้นอยู่กับค่าความถี่ของแสงนั้นๆ ตามสมมติฐานของแมกซ์แพลงค์ ( E = nhf ) ดังพื้นฐานนี้ หน่วยการวัดของแสง จึงมีหน่วยการวัดหลายพารามิเตอร์ ได้แก่

    1.ความจ้า (brightness) หรือ อุณหภูมิ (temperature)

    2.ความสว่าง (illuminance หรือ illumination) (หน่วยSI: ลักซ์ (lux))

    3.ฟลักซ์ส่องสว่าง (luminous flux) (หน่วย SI: ลูเมน (lumen))

    4.ความเข้มของการส่องสว่าง (luminous intensity) (หน่วย SI: แคนเดลา (candela))

    5.ความสุกใสของแสง (brilliance) หรือ แอมปลิจูด (amplitude)

    6.สี (color) หรือ ความถี่ (frequency)

    7.โพลาไรเซชั่น (polarization) หรือ มุมการแกว่งของคลื่น (angle of vibration)

    แต่โดยทั่วไป มักนิยมใช้การวัดความสว่างของแสงเพื่อการนำไปใช้วิเคราะห์งานต่างๆ เช่น งานด้านการควบคุมคุณภาพของหารผลิตหลอดไฟ งานตรวจวัดปริมาณ ความเข้มแสง เพื่อวิจัยอุปกรณ์ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นต้น ความเข้มแสงนอกจากจะขึ้นกับความเข้มแสงจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรงแล้ว ระยะทางการส่องสว่างก็มีผลต่อความเข้มแสงที่ส่องไปถึงวัตถุหรือเครื่องมือวัดเช่นกัน ดังนั้นสภาพแวดล้อมในการใช้งาน เครื่องวัดแสง คือสิ่งที่ผู้ใช้ต้องคำนึงถึง


    แสงสว่างที่เหมาะสมในการทำงาน  (Lux Light meter)

    แสงสว่าง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของทั้งมนุษย์ พืชสัตว์  ดังนั้นการตรวจสอบแสงสว่างจะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพของแสง ไม่ว่าจะมาจากแสงอาทิตย์หรือหลอดไฟ เพื่อต้องการไม่ให้มีผลกระทบต่อการทำงาน เช่น หากมีแสงสว่างที่น้อยเกินไปในการทำงาน จะมีผลเสียต่อสายตาเพราะต้องเพ่งเลงตลอดเวลาในการทำงาน  หากมี่แสงสว่างที่มากเกินไป จะทำให้ผู้ทำงานเกิดความไม่สบายสายตา แสบตา มึนศีรษะ   จึงต้องมีการตรวจสอบจากเครื่องวัดแสงว่าในแต่ละสถานที่มีปริมาณแสงเหมาะสมหรือไม่

    ปริมาณแสงที่เหมาะสม

    ประเภทกิจกรรมและพื้นที่ ความส่องสว่าง (LUX)
    ห้องน้ำ ห้องสุขา        100
    ช่องทางเดินภายในอาคาร 200
    ห้องสมุด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ 300 – 500
    ห้องประชุม       200 – 300
    หน้ากระดาน หน้าเวทีประชุม  700 – 1,000
    พื้นที่ทั่วไปในอาคาร     200
    แสงสว่างทั่วไปในร้านค้า     500 – 1,000

    แสงสว่างที่ควรหลีกเลี่ยง  คือการเกิดแสงจ้า (Glare) คือ จุดหรือพื้นที่ที่มีแสงจ้าเกิดขึ้นในระยะของลาน สายตา (Visual Field) ทำให้ตารู้สึกว่ามีแสงสว่างมากเกินกว่าที่ตาจะปรับได้ แสงจ้ามี 2 ชนิด คือ 
    1.1) แสงจ้าเข้าตาโดยตรง (Direct Glare) เกิดจากแหล่งกำเนิดที่แสงสว่างจ้าในระยะลานสายตา ซึ่งอาจเกิดจากแสงสว่างที่ส่องผ่านหน้าต่าง หรือแสงสว่างที่เกิดจาก ดวงไฟที่ติดตั้งไว้ 
    1.2) การเกิดเงา เงาเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างยิ่ง บริเวณที่มีเงามืดบนพื้นผิว ของชิ้นงาน จะทำให้การทำงานลำบากยากยิ่งขึ้น เพราะมองไม่เห็นหรือเห็นไม่ชัดนั่นเอง

     

    แสง
       
    การแก้ไขจะต้องมีการวางจุดติดตั้งของแสงสว่างให้เหมาะสม  โดยไม่กระทบต่อสายตาผู้ปฎิบัติงาน 
    จุดบริเวณหน้าต่างหรือประตูต่างๆ อาจทำการแก้ไขด้วยการติดผ้าม่าน ที่บังตา บานเกร็ด ต้นไม้ หรือไม้เลื้อยต่างๆ
    คุณลักษณะของเครื่องมือ สามารถวัดความเข้มแสงสว่างได้ ตั้งแต่ 0 - มากกว่า 10,000 ลักซ์ คุณลักษณะของ เครื่องวัดแสงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน CIE 1931 (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527


    เครื่องวัดแสง  (Lux Light meter) รุ่นแนะนำ

    407026

    GM1010

    GM1020

     

Contact Us