0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

anemometer

  • Anemometers

    Anemometers

    Alternate Terms for Anemometers

    • Air Flow Meters
    • Air Velocity or Wind-speed Meters
    • Wind cups or weathervanes

    What is an Anemometer?

    Anemometers measure the speed (velocity) of moving air. Thermo-Anemometers also measure temperature by way of a thermometer located in the Anemometer sensor. The measurement units for Anemometers include: Feet per minute (ft/min), meters per second (m/s), kilometers per hour (km/hr), miles per hour (mph), nautical miles per hour (knots), and Beauforts.

    How does an Anemometer measure moving air?

    Anemometers measure moving air with a rotary sensor which acts very much like a weathervane and can be likened to the blades of a fan. The vane freely rotates in response to air fl ow and as the air moves through the vane the blades turn in proportion to the speed of the air.

    What is CFM / CMM?

    Cubic Feet per Minute (CFM) or Cubic Meters per Minute (CMM) are units of measure for Air Volume measurements. This is a measurement of the quantity of moving air through an air duct, passageway, or enclosure. In order to accomplish this, the area of the duct must be measured. The area value (in ft2 or m2) is entered by the user by push button or keypad into the meter and an air velocity measurement is taken. The meter then calculates the CFM or CMM automatically.

    What is the signifi cance of a built-in IR thermometer?

    Having an IR thermometer as part of an Anemometer offers the user several important benefi ts:

    • Two tools in one
    • Save time and cost
    • Check for hot spots in duct work, electrical panels, and wiring conduits

    Typical Anemometer Applications

    • Air duct measurements
    • Positive pressure tests in clean rooms
    • Fume hood testing and verifi cation
    • Automobile engines analysis
    • Automobile passenger compartment tests
    • Ionizer fl ow output monitoring
    • Ventilation system inspection

     HD300AN200

     
     
     

    .

  • NEW PRODUCT

     

    New ProductNew ProductNew ProductNew ProductNew Product

  • Onsite Trainning GM8903,PONPE 419AQ เครื่องวัด Anemometer&CO2

    Onsite Trainning GM8903 / PONPE 419AQ
    เครื่องวัด Anemometer
    CO2 & CO Temp. & Data logger

     

    สถานที่จัดส่ง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์    วันที่ 22 พฤษภาคม 2565

    👉ดูข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ :https://bit.ly/3JfjHOG

     

     

  • Training ป้ายแสดงความเร็วลมและทิศทางลม รุ่น PONPE WD1@Tipco Asphalt Public Co., Ltd

    Project:  Training ป้ายแสดงความเร็วลม และทิศทางลม รุ่น PONPE WD1

    สถานที่: บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน), จังหวัดสมุทรปราการ

    วันที่: 30 พฤศจิกายน 2560

    PONPE WD1

     

    • IMG_2118
    • IMG_2119
    • IMG_2120
    • IMG_2121
    • IMG_2122
    • IMG_2123

     

     

  • Training เปลี่ยนสินค้า เครื่องวัดความเร็วลม รุ่น GM8902 แบนด์ BENETECH @บริษัท เมอิวะ พลาสต์ (ประเทศไทย) จำกัด

    Training เปลี่ยนสินค้า เครื่องวัดความเร็วลม รุ่น GM8902 แบนด์ BENETECH @บริษัท เมอิวะ พลาสต์ (ประเทศไทย) จำกัด

    สถานที่: บริษัท เมอิวะ พลาสต์ (ประเทศไทย) จำกัด 135/1 หมู่ 8 ตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562

    • 1
  • การตั้งค่าองศาใบพัดเครื่องรุ่น PONPE WD1

    PONPE WD1

    การตั้งค่าองศาใบพัดทิศทางลมของเครื่อง PONPE WD1

    1. ทำการกำหนดจุดที่จะติดตั้งเสาสัญญาณก่อนว่าจะติดตั้งอยู่ในรูปแบบไหน เช่น ภาพที่แสดง

    PONPE WD1

    2. ทำการวางเสาสัญญาณให้ตรงกับทิศทางที่จะทำการติดตั้ง จากนั้นถอดใบพัดทิศทางลมออก แล้วทำการปรับค่ามุมให้ได้ 0 องศา นำคีมหนีบมาล็อคเพื่อไม่ให้ค่าองศาเปลี่ยนไปจาก 0 จากนั้นดูที่เข็มทิศว่าทิศเหนือชี้ไปทางไหน แล้วนำใบพัดทิศทางลมติดตั้งกับเสาสัญญาณโดยให้หัวลูกศรของใบพัดหันไปทางทิศเหนือ แล้วลองหมุนใบพัดดูว่าที่หัวลูกศรชี้ไปทางทิศตะวันออก ค่าที่ได้อยู่ประมาณ 90 องศาไหม ถ้าเป็นไปตามนี้เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการตั้งค่าองศาของ เครื่องวัดความเร็วลม

    PONPE WD1

  • การเชื่อมต่อโพรบเครื่องวัดลมรุ่น TM-4001 และ TM-4002

    TM-4001_TM-4002

    การเชื่อมต่อโพรบเครื่องวัดลมรุ่น TM-4001และTM-4002 ที่ถูกต้อง

    โดยส่วนใหญ่ผุ้ใช้งาน จะเชื่อมต่อโพรบกับตัวเครื่องผิดวิธีเลยทำให้ connector หัก

    ขั้นตอนการเชื่อมต่อ

    1.ให้เราดูช่องเชื่อมต่อ

    TM-4001

    2.ให้เราดู connector ของโพรบ และจะเห็นลูกศร

    TM-4001

    3.จากนั้นให้คว่ำลูกศรลง ลูกศรที่สายโพรบจะอยู่ทางเดียวกับหลัง เครื่องวัดความเร็วลม

    TM-4001

    4.ลักษณะฝั่งด้านหน้าเครื่อง TM-4002

    TM-4001

  • การเลือกใช้งานเครื่องวัดค่าความเร็วลม

    การเลือกใช้งานเครื่องวัดค่าความเร็วลม

    เครื่องวัดความเร็วลม คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวัดความเร็วลมและเป็นอุปกรณ์ทางอุตุนิยมวิทยาที่ใช้ในการวัดความเร็วลมของอากาศทั่วไป โดยเครื่องวัดความเร็วลมมีหลายแบบหลายชนิดเพื่อให้สามารถใช้งานได้หลากหลายและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

     

    การนำ เครื่องวัดค่าความเร็วล ไปใช้งาน

    ตัวเครื่องวัดค่าความเร็วลมสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภทงานเช่น การตรวจสอบความเร็วลมของทางอุตุนิยมวิทยา  การติดตั้งซ่อมแซมระบบเครื่องปรับอากาศ  ตรวจสอบ ความเร็วลม ของระบบดูดอากาศ ใช้ในงานโรงเรือนเลี้ยงสัตว์  วัดความเร็วลมในท่อ เป็นต้น ซึ่งจากงานทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถเลือก เครื่องวัดค่าความเร็วลม ให้เหมาะสมกับงานได้ โดยเครื่องวัดค่า ความเร็ว ที่นิยมใช้งานหลักๆมี 4 แบบ คือ

    1.เครื่องวัดค่าความเร็วลมแบบถ้วย (Cup Anemometer) เหมาะสำหรับการวัดภายนอกหรือการวัดค่าความเร็วลมของพายุ การติดตั้งจะติดตั้งบนเสาเพื่อให้รับลมได้ดี เครื่องวัดความเร็วลมแบบถ้วยมีแรงเสียดทาน ซึ่งทำให้มีความแม่นยำน้อยกว่าเครื่องมือวัดความเร็วลมประเภทอื่นๆ 

     

    เครื่องวัดความเร็วรอบ

     

    2.เครื่องวัดค่าความเร็วลมแบบใบพัด (Windmill Anemometer) เหมาะสำหรับการวัดในงานทั่วไปทั้งภายในและภายในภายนอกหรือการวัดความเร็วลมระดับปานกลาง การใช้งานที่ถูกต้องเครื่องวัดความเร็วลมชนิดนี้จะต้องอยู่ในตำแหน่งขนานกับทิศทางของลม เมื่อลมหมุนใบพัด รอบการหมุนของใบพัดจะถูกคำนวณเป็น ความเร็วลม

     

    เครื่องวัดความเร็วลมแบบใบพัด

     

    3.เครื่องวัดค่าความเร็วลมแบบเทอร์โมอิเล็กทริค (Hotwire Anemometer) เหมาะสำหรับการวัดค่าความเร็วลมที่ต่ำๆ เพราะมีการตอบสนองที่รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง เครื่องมือวัดความเร็วลมประเภทนี้ค่อนข้างจะเปราะบางควรมีความระมัดระวังในการใช้งาน

     

    เครื่องวัดความเร็วแบบ Hotwire

     

    4. เครื่องวัดความเร็วลม แบบ pilot tube เหมาะสำหรับวัดความดันและการไหลของอากาศ และก๊าซในท่อ

     

    เครื่องวัดความเร็วลมแบบ Pilot Tube

     

    อย่างไรก็ดีการเลือกใช้เครื่องวัดความเร็วลมรุ่นใด ยี่ห้อใด นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับ และบริการหลังการขายด้วย

     

     

  • การใช้งาน SDL350

     

    SDL350 EXTECH

    เครื่องวัดความเร็วลม แบบ Hotwire วัดปริมาณลมและอุณหภูมิลม สามารถบันทึกข้อมูลลง SD Card

    สามารถใช้ในงาน ติดตั้ง HVAC, ทดสอบตู้ดูดควัน, ทดสอบสภาพแวดล้อม, การตรวจสอบอัตราการไหลของลม, การทดสอบ วิเคราะห์เครื่องยนต์การติดตั้ง ตรวจสอบ ซ่อมแซม ฯลฯ

    อธิบายตัวเครื่อง

    1. เทอร์โมคัปเปิล อินพุต
    2. หัวต่อโพรบ Hot WireHotwire Anemometer
    3. จอแสดงผลค่าการวัด
    4. หน่วยวัด
    5. ปุ่ม HOLD /เปิดไฟ (Backlight)   
    6. ปุ่มแสดงค่าสูงสุด / ต่ำสุด (Max / Min)
    7. ปุ่มกำหนดค่าและตั้งเวลา    
    8. ช่องเสียบแจ็คเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
    9. ปุ่มรีเซ็ต
    10. ช่องเสียบแจ็คสำหรับอะแด็ปเตอร์
    11. ช่องเสียบ SD Card
    12. ปุ่ม Enter และ ปุ่ม LOG
    13. ปุ่มลูกศรเลื่อนลง  และเปลี่ยนฟังก์ชัน
    14. ปุ่มลูกศรเลื่อนขึ้น  และเปปลี่ยนหน่วย
    15. ปุ่มเปิด – ปิดเครื่อง 
    16. แสดงอุณหภูมิในการวัด
    17. สายโพรบวัดลม
    18. ด้ามจับโพรบ
    19. ฝาครอบเซ็นเซอร์
    20. ช่องอากาศไหลผ่าน

    อธิบายโพรบ    

    1. หันจุดสีไปในทิศทางลมเข้าHotwire Sensor
    2. เซ็นเซอร์วัดความเร็วลม
    3. เปิดฝาครอบป้องกัน เซ็นเซอร์
    4. ปิดฝาครอบป้องกันเซ็นเซอร์
    5. เซ็นเซอร์วัด อุณหภูมิ

    ขั้นตอนการทำงาน

    การเปิด-ปิดเครื่อง

    • กดปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง   ค้างไว้ 1.5 วินาที ในการเปิดหรือปิดเครื่อง

    ฟังก์ชันของตัวเครื่อง
    ตัวเครื่องมือวัดมีสามโหมดของการวัดคือ ความเร็วอากาศ ( อุณหภูมิ ) อุณหภูมิอุณหภูมิและปริมาณอากาศ (CFM / CMM) กดปุ่มฟังก์ชั่นเป็นเวลาอย่างน้อย 1.5 วินาทีในการเปลี่ยนจากโหมดอื่น ๆ    

    • ความเร็วลม และอุณหภูมิ  : เครื่องจะแสดงไอคอน An
    • กำหนดประเภทเทอร์โมคัปเปิล K หรือ J : เครื่องจะแสดงไอคอน tP
    • ปริมาณลม (CFM / CMM) เครื่องจะแสดง F-US หรือ F-EU ขึ้นอยู่กับการตั้งหน่วยวัดพื้นที่

    โหมดความเร็วลมและอุณหภูมิ

    • เลือกโหมด ความเร็วลม และอุณหภูมิที่กล่าวมาในข้อ 2
    • เสียบโพรบเข้ากับเครื่องบริเวณช่องเสียบโพรบด้านบนตัวเครื่อง
    • ถือโพรบขึ้นและวัดโดยให้ลมไหลเข้าสู่พื้นที่เซ็นเซอร์ โปรดทราบว่าทิศทางลมจะต้องตรงจุดสีของโพรบ
    • จอแสดงผลจะแสดงความเร็วลมในส่วนด้านบนจอและแสดงอุณหภูมิในส่วนล่างของจอ

    การเปลี่ยนหน่วยวัดความเร็วลม
    การวัดความเร็วลม มี 5 หน่วยการวัดคือ m/s, Km/h, FPM, knots และ mph วิธิการเปลี่ยนหน่วยวัดมีดังนี้

    • กดปุ่ม Unit ค้างไว้ 1.5 วินาที หน่วยวัดล่าสุดจะแสดงบนหน้าจอ
    • กดปุ่ม Unit อีกครั้งเพื่อเลือกหน่วยวัดและหยุดเมื่อเจอหน่วยวัดที่ต้องการ กดยืนยัน

    การวัดอุณหภูมิ เทอร์โมคัปเปิล (ชนิด K,J)

    • เลือกโหมดอุณหภูมิ เทอร์โมคัปเปิล โดยใช้ปุ่มฟังก์ชั่นตามที่อธิบายไว้ข้างต้น
    • เครื่องจะแสดง 'J' หรือ 'K' ที่ด้านซ้ายของจอแสดง แสดงให้เห็นประเภทที่เลือก การเปลี่ยนชนิดให้ดูที่ส่วนโหมดการตั้งค่า
    • เชื่อมต่อโพรบอุณหภูมิ ชนิด J หรือ K โดยเสียบแจ็คเสียบบริเวณด้านบนซ้ายของตัวเครื่อง
    • ถือโพรบไปในบริเวณที่ต้องการวัดค่า
    • เครื่องจะแสดงอุณหภูมิในการวัดค่าในจอแสดงผล
    • โดยอุณหภูมิจะแสดงผลเป็น ºC หรือ ºF ขึ้นอยู่ที่การเลือกหน่วยวัดที่อธิบายไว้ข้างต้น

    การวัดปริมาณลม (CFM , CMM)

    • ในการวัดค่าจะต้องทราบพื้นที่ของท่อ ในหน่วยการวัดตารางเมตรหรือตารางฟุต สำหรับท่อสี่เหลี่ยมจะต้องคำนวณจากสูตร กว้าง x ยาว, ท่อกลมคือ πR^2
    • ป้อนค่าพื้นที่ในโหมดการตั้งค่า
    • เลือกโหมดปริมาณลมตามที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้โดยใช้ปุ่มฟังก์ชั่น
    • ต่อโพรบเข้ากับเครื่องมือวัด และเลื่อนเปิดฝาครอบเซ็นเซอร์ในการวัด จากนั้นปิดฝาครอบป้องกันเมื่อไม่ได้ใช้งาน
    • ถือโพรบขึ้นและวัดโดยให้ลมไหลเข้าสู่พื้นที่เซ็นเซอร์ โปรดทราบว่าทิศทางลมจะต้องตรงจุดสีของโพรบ
    • เครื่องวัดจะแสดงการวัดปริมาณลมบนจอแสดงผลและหน่วยของการวัดที่เลือก (US หรือ EU) ในการแสดงผล F-US สำหรับ CFM , F-EU สำหรับ CMM แสดงในหน่วย CFM ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที และ แสดงในหน่วย CMM ลูกบาศก์เมตรต่อนาที

    การหยุดข้อมูลการวัดเพื่ออ่านค่า

    • กดปุ่ม  HOLD ค้าวไว้ชั่วขณะ เพื่อค้างค่าที่วัดได้  และกดปุ่ม HOLD อีกครั้ง เพื่อปล่อยค่าที่ค้างเอาไว้

    การอ่านค่าสูงสุด – ต่ำสุด (MAX - MIN)

    • กดปุ่ม MAX-MIN ชั่วขณะหน้าจอจะแสดงไอคอน REC
    • ตัวเครื่องจะแสดงการอ่านค่า MAX-MIN
    • กดปุ่ม MAX-MIN อีกครั้งเพื่อดูการอ่าน MAX ปัจจุบัน (ไอคอน MAX ปรากฏ) การอ่านบนจอแสดงผลอยู่ในขณะนี้เป็นการอ่านค่าสูงสุดนับตั้งแต่ไอคอนบันทึกถูกเปิด (เมื่อปุ่ม MAX-MIN ถูกกดครั้งแรก)
    • กดปุ่ม MAX-MIN อีกครั้งเพื่อดูการอ่าน MIN ปัจจุบัน (ไอคอน MIN ปรากฏ) การอ่านบนจอแสดงผลอยู่ในขณะนี้เป็นการอ่านค่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไอคอนบันทึกถูกเปิด (เมื่อปุ่ม MAX-MIN ถูกกดครั้งแรก)
    • กดปุ่ม MAX-MIN ค้างไว้ 1.5 วินาที จอแสดงผลจะกลับไปสู่โหมดปกติ

    การเปิดไปหน้าจอแสดงผล

    • เมื่อต้องการเปิดหรือปิดไฟหน้าจอแสดงผล กดปุ่ม Backlight ค้างไว้ 1.5 วินาที เครื่องวัดจะเตือนด้วยเสียงบี๊บ เมื่อเปิดหรือปิดไฟหน้าจอ

    การรีเซ็ตเครื่อง

    • ใช้คลิปหนีบกระดาษหรือสิ่งที่คล้ายกัน กดปุ่มรีเซ็ตที่อยู่ด้านขวาล่าง

    ด้านข้างตัวเครื่อง

    • หลังจากกดปุ่ม Reset จากนั้น กดปุ่มเพาเวอร์ค้างไว้ 1.5 วินาที หากใช้อะแดปเตอร์ถอดปลั๊กอะแดปเตอร์แล้วเสียบเข้าไปใหม่

    การบันทึกข้อมูลด้วยตนเอง

    • ตั้งค่าเวลาในการบันทึกข้อมูลเริ่มต้นให้เป็น 0 วินาที
    • กดปุ่ม LOG ค้างไว้ 1.5 วินาที หน้าจอจะแสดง PN (n = จำนวนหน่วยความจำตำแหน่งที่ 1-99)
    • กดปุ่ม LOG ชั่วขณะเพื่อเข้าสู่ระบบอ่านค่าในหน่วยความจำ ไอคอน REC จะกระพริบ (ไอคอน SD SCAN จะปรากฏขึ้นเมื่อเครื่องวัดอ่านค่าจาก Memory Card)
    • กดปุ่มลูกศร ▲และ▼เพื่อเลือกหนึ่งในตำแหน่งหน่วยความจำข้อมูลที่มี  99 ข้อมูลในการที่จะบันทึก.)
    • ในการออกจากการใช้โหมด การบันทึกข้อมูล กดปุ่ม LOG ค้างไว้ 1.5 วินาที

    การบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ

    • ตั้งค่าเวลาในการ บันทึกข้อมูล เริ่มต้นต้องไม่เป็น 0 วินาที
    • กดปุ่ม LOG ค้างไว้ 1.5 วินาที
    • เครื่องจะสแกนหา SD การ์ดและตรวจสอบว่ามันสามารถนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลได้ หากการ์ดไม่ได้ใส่  ตัวเครื่องจะสแกน SD ไปเรื่อย ๆ ในกรณีนี้ให้ปิดเครื่องและใส่ SD การ์ดให้ถูกต้อง
    • หากใส่ SD การ์ด ที่ถูกต้อง, การแสดงผลจะแสดงไอคอน LOG (หรือไอคอน LOG สลับกับแสดงอุณหภูมิ) และจากนั้นไอคอน REC จะกระพริบในแต่ละครั้งที่อ่านจะถูกเก็บไว้
    • หยุดบันทึกข้อมูลโดยการกดปุ่ม LOG ชั่วขณะ ไอคอน Datalogger จะหยุดกระพริบและตัวอย่างจะแสดงเป็นเวลาสั้น ๆ ที่จะเริ่มต้นการเข้าสู่ระบบเพียงแค่กดปุ่ม LOG อีกครั้ง
    • ในการออกจาก การบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ  กดปุ่ม LOG ค้างไว้ 1.5 วินาที
    • เมื่อการ์ด SD ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในโฟลเดอร์ที่ถูกสร้างขึ้นบนการ์ดจะชื่อ ABH01สามารถเก็บข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์นี้ได้
    • เมื่อเริ่มต้น Datalogging เอกสารใหม่ชื่อ ABH01001.xls จะถูกสร้างขึ้นใน SD card ในโฟลเดอร์ ABH01 ข้อมูลที่บันทึกไว้จะถูกวางไว้ในเอกสาร ABH01001.xls 30,000 จนกว่าจะถึงการอ่าน
    • ถ้าเซสชั่นการวัดเกิน 30,000   เอกสารใหม่จะถูกสร้างขึ้น(ABH01002.xls) อีก 30,000 ค่า วิธีการนี้ยังคงได้ถึง 99 ข้อมูล หลังจากที่โฟลเดอร์ใหม่จะถูกสร้างขึ้น (ABH02) ซึ่งอีก 99 สเปรดชีต กระบวนการนี้จะมีต่อเนื่องในแบบเดียวกันนี้กับโฟลเดอร์ ABH03 ถึง ABH10

    การถ่ายโอนข้อมูลจาก  SD การ์ดไปยังคอมพิวเตอร์

    • ปิดเครื่องมือวัด จากนั้นถอด  SD การ์ดออก
    • เสียบ SD การ์ดโดยตรงลงในเครื่องอ่านการ์ด SD พีซี หากคอมพิวเตอร์ไม่มีช่องเสียบ SD การ์ด, ใช้อะแดปเตอร์ SD การ์ด แทน
    • เปิดอ่านข้อมูลตามตัวอย่างนี้

    การเข้าถึงโหมดการตั้งค่า

    • กดปุ่ม SET อย่างน้อย 1.5 วินาทีเพื่อเข้าสู่เมนูการตั้งค่า
    • กดปุ่ม SET ชั่วขณะจะแสดงพารามิเตอร์ที่มีอยู่ที่ด้านล่างของจอแสดงผล และแสดงพารามิเตอร์ที่กำหนดค่าไว้ในปัจจุบัน
    • กดปุ่มลูกศรขึ้นลงเพื่อเปลี่ยนการตั้งค่าเมื่อพารามิเตอร์ที่ต้องการปรากฏขึ้น ให้กดปุ่ม ENTER เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง
    • กดปุ่ม SET อย่างน้อย 1.5 วินาทีในการออกจากโหมดการติดตั้ง โปรดสังเกตว่าเครื่องจะสลับออกจากโหมดการตั้งค่าที่สำคัญถ้าไม่กดภายใน 7 วินาที
    • พารามิเตอร์การตั้งค่าที่มีอยู่  อยู่ด้านล่าง ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมให้ดูด้านล่างรายการนี้:
      dAtE: ตั้งเวลา (ปี / เดือน / วัน; ชั่วโมง / นาที / วินาที)
      SP-t: การเซ็ตค่าเริ่มต้นในการบันทึกข้อมูล
      PoFF: การตั้งค่าการปิดเครื่องอัตโนมัติ
      bEEP: การตั้งค่าการ เปิด-ปิด เสียงบี๊บ
      dEC: การเซ็ตค่ารูปแบบตัวเลข; สหรัฐอเมริกา (ทศนิยม: 20.00) หรือยุโรป (จุลภาค: 20,00)
      SdF: การลบข้อมูล SD การ์ด
      t-CF: การเลือกหน่วยวัดอุณหภูมิเป็น ºCหรือ ºF
      tYPE: การเลือกเทอร์โมคัปเปิลเป็นชนิด  Kหรือ J
      F-US/F-EU: การเลือกหน่วยวัด F-US สำหรับ CFM , F-EU สำหรับ CMM   แสดงในหน่วย CFM ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที และ แสดงในหน่วย CMM ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
      ArEA: สำหรับ CFM / CMM Air Flow (ปริมาณ) วัดผู้ใช้ป้อนขนาดพื้นที่ของท่อ ในหน่วยของตารางฟุตหรือตารางเมตร

    การตั้งค่าเวลา

    • ไปที่พารามิเตอร์ dAtE 
    • ใช้ปุ่ม ENTER เพื่อผ่านขั้นตอนการเลือก (ปี,เดือน,วัน,ชั่วโมง,นาที,วินาที)
    • กดปุ่มลูกศรขึ้น-ลง เพื่อเปลี่ยนค่า
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)

    การเซ็ตค่าเริ่มต้นในการบันทึกข้อมูล

    • ไปที่พารามิเตอร์ SP-t    
    • ค่าที่สามารถเซ็ตค่าได้คือ 0, 1, 2, 5, 10, 30, 60, 120, 300, 600, 1800 หรือ 3600 วินาที
    • กดปุ่มลูกศรขึ้น-ลง เพื่อเปลี่ยนค่า
    • กดปุ่ม  ENTER เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)

    การเปิดใช้งาน/ปิดใช้งาน   การปิดเครื่องอัตโนมัติ

    • ไปที่พารามิเตอร์ PoFF
    • ใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลือกเปิดหรือปิด ด้วยคุณสมบัติการปิดอัตโนมัติเปิดใช้งาน   เครื่องวัดอัตโนมัติจะเปลี่ยนเป็นปิดหลังจาก 10 นาทีไม่มีการใช้งาน
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)

    การตั้งค่าการ เปิด-ปิด เสียงบี๊บ

    • ไปที่พารามิเตอร์ bEEP
    • กดปุ่มลูกศรขึ้น-ลง เพื่อเลือก เปิด-ปิด
    • กดปุ่ม  ENTER เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)

    การเซ็ตค่ารูปแบบตัวเลข

    • ไปที่พารามิเตอร์ dEC    
    • กดปุ่มลูกศรขึ้น-ลง เพื่อเลือก USA หรือ EURO
    • กดปุ่ม  ENTER เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)

    การลบข้อมูล SD การ์ด

    • ไปที่พารามิเตอร์  SdF     
    • ใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลือก YES เพื่อลบข้อมูล (เลือก NO ยกเลิก) โปรดทราบว่าข้อมูลทั้งหมดในการ์ดจะหายไปหากทำการลบข้อมูล
    • กดปุ่ม  ENTER เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง
    • กดปุ่ม  ENTER   อีกครั้ง เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง
    • เครื่องจะกลับไปที่โหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติเมื่อลบข้อมูลเสร็จสมบูรณ์

    การเลือกหน่วยวัดอุณหภูมิเป็น ºC หรือ ºF

    • ไปที่พารามิเตอร์  t-CF
    • ใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลือก °C หรือ°F
    • กด ENTER เพื่อยืนยันการตั้งค่า
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)

    การเลือกเทอร์โมคัปเปิลเป็นชนิด  K หรือ J

    • ไปที่พารามิเตอร์  tYPE
    • ใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลือก  K หรือ  J
    • กด ENTER เพื่อยืนยันการตั้งค่า
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)

    การเลือกหน่วยวัด F-US สำหรับ CFM , F-EU สำหรับ CMM  

    • ไปที่พารามิเตอร์  F-US/F-EU  
    • ใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลือกหน่วยวัด F-US สำหรับ CFM , F-EU สำหรับ CMM   แสดงในหน่วย CFM ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที และ แสดงในหน่วย CMM ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
    • กด ENTER เพื่อยืนยันการตั้งค่า
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)

    การป้อนข้อมูลขนาดท่อ

    • ไปที่พารามิเตอร์  ArEA  
    • ใช้ปุ่มลูกศรตั้งค่าขนาดท่อที่ (สมการ กว้าง x ยาว ที่ใช้สำหรับท่อสี่เหลี่ยม และ 〖πR〗^2จะใช้สำหรับท่อกลม)
    • กด ENTER เพื่อยืนยันการตั้งค่า
    • กดปุ่ม SET ค้างไว้  1.5 วินาทีใ นการออกจากโหมดการทำงานปกติ (หรือรอ  7 วินาทีที่เครื่องจะสลับไปยังโหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ)
  • ข้อควรระวังการใช้งานเครื่องวัดลมที่ใช้ SENSOR แบบ HOTWIRE

    ข้อควรระวังการใช้งานเครื่องวัดความเร็วลมที่ใช้ SENSOR แบบ HOTWIRE

     

     

    ข้อควรระวังการใช้งานเครื่องวัดความเร็วลมที่ใช้ SENSOR แบบ HOTWIRE

     

              ส่วนใหญ่การใช้งานเครื่องวัดลมที่ใช้ SENSOR แบบ HOTWIRE นั้นผู้ใช้จะไม่ระมัดระวังในการใช้งาน จึงทำให้ SENSOR แบบ HOTWIRE นั้นขาด

    และทำให้ไม่สามารถวัดค่าความเร็วลมได้

     

    SENSOR แบบ HOTWIRE

    รูปภาพแสดงให้เห็นว่า SENSOR แบบ HOTWIRE นั้นขาดเพราะเกิดจากการใช้งานจึงทำให้ไม่สามารถวัดค่าได้

     

    ข้อควรระวังเบื้องต้น

    1.ไม่ควรนำไปวัดความเร็วลมที่เกิน Range กว่าที่สะเปคตัวเครื่องกำหนด

    2.ไม่ควรนำไปวัดความเร็วลมที่มีฝุ่นละอองและลมที่มีละอองน้ำ

    3.ไม่ควรไปสำผัสในส่วนของตัวเซนเซอร์

    4.ระวังอย่าให้ตัวเครื่องวัดความเร็วลมตกหรือกระแทก

     

     

     

  • ทั้งลด ทั้งแถม เครื่องวัดความเร็วลม อุณหภูมิ ความชื้น ในเครื่องเดียวกัน ราคาพิเศษ

     3 in 1 Meter

     

     

  • วิธีคิดคำนวนหาพื้นที่หน้าตัดในการวัดปริมาณลม (Flow)

    Flow

    วิธีคิดคำนวนหาพื้นที่หน้าตัดในการวัดปริมาณลม (Flow)

     

     

    1.ในการวัดค่าปริมาณลม (Flow) ในการวัดที่จะให้ได้ค่าที่ถูกต้องนั้นเราต้องใส้พื้นที่หน้าตัดของตัวท่อหรือช่องลม เครื่องวัดความเร็วลม

    2.ถ้าพื้นที่หน้าตัดเป็นแบบสี่เหลี่ยม ให้คำนวนจาก Area (A) = Width (W) x Height (H) 

       

    Flow

    3.ถ้าพื้นที่หน้าตัดเป็นแบบวงกลมให้ใช้สูตรคำนวน ดังรูปถาพที่แสดงด้านล่าง

     

    Flow2

    Extech

     

     

    4.ส่วนนี้เป็นการคิดคำนวนจากค่า ความเร็วลม คูณด้วยพื้นที่ใช้ในกรณีที่เครื่องวัดความเร็วลมนั้นไม่มีฟังก์วัดค่าปริมาณลม (Flow) ดังสูตรคำนวนต่อไปนี้  

     

    Flow3

     

  • หลักการเลือกใช้เครื่องวัดความเร็วลม Anemometer

    ความเร็วลม

    หลักการเลือกใช้เครื่องวัดความเร็วลม Anemometer

         ความเร็วลม (Wind speed) คือ การเคลื่อนที่ของอากาศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในสภาพแวดล้อมภายนอก แต่ความเร็วของการเคลื่อนที่ของอากาศภายในก็มีความสำคัญในหลายกรณี เช่น การพยากรณ์อากาศ เครื่องบินและการเดินเรือ การก่อสร้างและวิศวกรรมโยธา ถ้า ความเร็วลม (Wind speed) สูงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์และลมแรง อาจก่อให้เกิดพายุที่เราคุ้นเคย ได้แก่ พายุเฮอริเคน (Hurricane) พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นต้น ความเร็วลมสูงสุดที่เคยวัดได้ คือ 407 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

         เครื่องวัดความเร็วลม หรือ (Anemometer) คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวัดความเร็วลมและเป็นอุปกรณ์ทางอุตุนิยมวิทยา ที่ใช้ในการวัดความเร็วลมของอากาศทั่วไป มีโพรบเซนเซอร์วัดความเร็วลมหลายขนาดเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การตรวจสอบความเร็วลมของท่อลม พัดลม มอร์เตอร์ เครื่องเป่าลม การตรวจสอบความเร็วลมของระบบปรับอากาศ โดย เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) มีหลายแบบหลายชนิดเพื่อให้สามารถใช้งานได้หลากหลายและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

    ประเภทของเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer)

         1.เครื่องวัดความเร็วลมแบบถ้วย (Cup Anemometer) คือ เครื่องวัดความเร็วลมแบบแรกที่ถูกนำมาใช้งาน ประกอบไปด้วยเสาและแขน 3-4 แขนติดอยู่กับปลายเสาพร้อมถ้วยที่ยึดติดอยู่ที่ปลายของแขน เมื่อลมพัดจะทำให้แขนทั้งหมดหมุนรอบเสา เหมาะสำหรับงานที่วัดในที่กลางแจ้งที่มีทิศทางลมไม่แน่นอน

    เครื่องวัดความเร็วลมแบบถ้วย
     

       รุ่น PONPE 229AN / PONPE Intelligent Sensor Meter
    - มี PORT สำหรับสื่อสารในระบบ RS-485
    - อินพุต: 0-75mV / 4-20mA / 0-10V
    - เอาต์พุต: 4-20mA
    - มี CONTACT RELEY 2 ตัว
    - วัสดุ: ABS + PC
    - ออกแบบพิเศษสำหรับโรงงาน
    - เซ็นเซอร์ Airspeed ให้ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี
    - มีความสามารถในการป้องกันลมได้มากถึง 16 ระดับ  

    2.เครื่องวัดความเร็วลมแบบใบพัด (Windmill anemometer) การใช้งานจะต้องวางในตำแหน่งที่ทิศทางลมจะพัดผ่านใบพัด เมื่อลมหมุนใบพัด รอบการหมุนของใบพัดจะถูกคำนวณเป็นความเร็วลมออกมา เหมาะสำหรับงานที่วัดในช่องลมหรือความเร็วลมทั่วไปที่มีทิศทางที่แน่นอน

    เครื่องวัดความเร็วลมแบบใบพัด  

    รุ่น PONPE 220AN / PONPE เครื่องวัดความเร็วลม DIGITAL ANEMOMETER
    - วัดค่าความเร็วลม 0 - 45 m/s
    - จอ LCD พร้อมไฟ backlight ฟังก์ชั่นปิดเครื่องอัตโนมัติ
    - ตัวเครื่องแสดงค่าความเร็วลมและอุณหภูมิลมในการวัด
    - ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน CE / ROHS / FCC
    - มีฟังก์ชั่นดูค่า Max/Average/Current air velocity measurement

         3.เครื่องวัดความเร็วลมแบบเทอร์โมอิเล็กทริค (Hotwire Anemometer) ใช้เส้นลวดเล็กๆ ซึ่งถูกทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศโดยรอบ เมื่อลมพัดให้เส้นลวดเย็นลง ความเร็วของลมดังกล่าวมีผลกระทบต่ออัตราที่ลวดสูญเสียความร้อน โดยความเร็วลมจะถูกคำนวณจากกระแสไฟฟ้าที่จำเป็นในการรักษาอุณหภูมิลวดให้คงที่ เครื่องมือวัดความเร็วลมประเภทนี้จะให้ความแม่นยำสูงกว่า 2 แบบแรก เหมาะสำหรับงานการวัดในท่อ HVAC และช่องระบายอากาศขนาดเล็กอื่น ๆ และแบบ pilot tube เหมาะสำหรับวัดความดันอากาศและการไหลของอากาศ และก๊าซ

    เทอร์โมอิเล็กทริค
     

    รุ่น TM-4002 / TENMARS เครื่องวัดความเร็วลม CFM, CMM, อุณหภูมิ และความชื้น
    - มีฟังก์ชั่นสามารถวัดปริมาณการไหลของอากาศได้
    - สามารถแสดงหน่วยการวัด  เมตร/วินาที, ฟุต/นาที, กิโลเมตร/ชม  
    - แสดงการอ่านค่าสูงสุด, ต่ำสุด และการค้างค่าการอ่าน
    - ฟังก์ชันการบันทึกข้อมูล (99 ข้อมูล)
    - วัดค่า CFM, CMM  ได้ตั้งแต่ 0~9999
    - วัดค่า 0.1 to 25.00 m/s
    - ตัวโพรบสามารถยืดออกได้ถึง 110 cm. 
    - จอ LCD แสดงค่า อุณหภูมิ และความชื้นและ FLOW ไปพร้อมกัน

    อิเล็กทริค  

    รุ่น DT-8920 / CEM เครื่องวัดความดันลม PRESSURE AND FLOW METER
    - จอ LCD ขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมไฟแบ็คไลท์
    - มีฟังก์ชั่นดูค่าMAX MIN และ AVG 
    - ช่วงการวัดแรงดัน ±5000Pa
    - มี Software ในการดึงข้อมูลทำ Report ได้
    -ใช้วัดค่าแรงดันก๊าซช่วง 0-50 องศา
    - ต่อคอมพิวเตอร์ด้วย PORT USB 

     


    เครื่องวัดความเร็วลม Anemometer รุ่นแนะนำ

     

    เครื่องวัดความเร็วลม Anemometer

                                               สินค้ารุ่น GM8903                                                                                             สินค้ารุ่น AN200
     

  • เครื่องวัดความเร็วลมแบบ HOT WIRE กับ แบบใบพัด

    Anemometer

    เครื่องวัดความเร็วลม

    พื้นฐานของเครื่องวัดความเร็วลมจะถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งาน ซึ่งทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ HOT WIRE,Vane Anemometer

    1.เครื่องวัดความเร็วลมแบบเทอร์โมอิเล็คทริค (HOT WIRE)   เซ็นเซอร์วัดลมแบบ HOT WIRE จะมีเวลาในการตอบสนองอย่างรวดเร็วและความไวที่ดีต่อการไหลของอากาศที่ต่ำมาก น้อยกว่า 1 เมตรต่อวินาที แต่เซ็นเซอร์วัดลมทั้งสองประเภทจะไม่เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่น,ความชื้น,กัดกร่อนหรือในที่ที่มีความผันผวนของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีต่ออัตราการระบายความร้อน

    850024 Anemometer

     

    2.เครื่องวัดความเร็วลมแบบใบพัด (Vane Anemometer) เครื่องวัดลมแบบนี้จะทำงานบนหลักการที่ว่าใบพัดจะหมุนได้อย่างอิสระ และจะหมุนด้วยความเร็วที่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเร็วลม ซึ่งเครื่องวัดความเร็วลมแบบใบพัดโดยส่วนใหญ่จะมีช่วงการวัดอยู่ที่ 0.15 ถึง 40 เมตรต่อวินาที และถูกได้ออกแบบมาให้ใช้ประโยชน์ที่หลากหลายของการใช้งานรวมทั้งในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างรุนแรง เครื่องวัดความเร็วลมแบบใบพัดนี้จะไม่สามารถวัดความเร็วลมที่ต่ำๆได้เหมือนกับเครื่องวัดความเร็วลมแบบเทอร์โมอิเล็คริค (HOT WIRE)

    840001

  • เครื่องวัดเสียง แสง ความเร็วลม วัดรอบ ราคาพิเศษ เริ่มต้น 450 บาท

    Benetech

Contact Us