0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

Atago

  • ONSITE SERVICE ส่งสินค้า AP-300 เครื่องวัดความหวาน

    Onsite Service ส่งสินค้า AP-300 เครื่องวัดความหวานAutomatic Polarimeter แบรนด์ ATAGO

    สถานที่จัดส่ง บริษัท สถาพรธนาพัฒน์ จำกัด  จังหวัด สมุทรสาคร

    วันที่ 21 ตุลาคม 2564

    AP-300

    Onsite Service

     

    เครื่องวัดความหวาน

     

    เครื่องวัดน้ำตาล

     

    ส่งสินค้า

  • การใช้งาน Master-M

     

    เครื่องวัดความหวาน Atago

    1. ชื่อและส่วนประกอบต่างๆ เครื่องวัดความหวาน

    • ช่องมองภาพ (Eyepiece)
    • แผ่นปิดปริซึม (Daylight plate)
    • ปริซึมรองรับตัวอย่าง (Prism)
    • ด้ามจับ (Grip).

    Atago

    **คำเตือน: เมื่อต้องการใช้เครื่องมือนี้วัดสารละลายที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ทุกครั้งควรใช้ความระมัดระวังในทุกอุปกรณ์ สวมหน้ากากและถุงมือป้องกันสารเคมีทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยกรุณาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรับมือกับสารอันตรายในกรณีที่อาจจะเกิด

    2. การสอบเทียบ (calibration)

    **ข้อควรระวัง: เครื่องวัดการหักเหของแสงนี้ ต้องการการปรับเทียบค่าก่อนเริ่มการใช้งานครั้งแรกในทุกๆ วันนอกเหนือจากนั้น หากอุณหภูมิในห้องเปลี่ยนในระหว่างวัน เราต้องทำการสอบเทียบค่าใหม่อีกครั้ง

    • หยดน้ำกลั่น 1-2 หยด ลงบนปริซึมรองรับสาร (รูปที่ 1)
    • ปิดแผ่นปริซึมลงเบาๆ (รูปที่ 2)
    • น้ำกลั่นหรือสารละลายจะต้องแผ่สม่ำเสมอบนหน้าปริซึมรองรับสารไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้น (รูปที่ 3)
    • มองผ่านช่องมองภาพ หมุนเพื่อปรับค่าขีดบอกปริมาณให้คมชัด (รูปที่ 4)
    • ดูเพื่อให้มั่นใจว่าเส้นตัดสีขาวและสีฟ้า ตรงกับขีดบอกปริมาณที่ 0 องศาเซลเซียส (รูปที่ 5)
    • ถ้าหากเส้นตัดสีขาวและสีฟ้าไม่ตรงกับขีดวัดบอกปริมาณที่ 0 องศาเซลเซียส หมุนเกลียวสำหรับปรับค่าด้วยไขควงจนกระทั้งเส้นตัดสีขาวและสีฟ้าตรงกับขีดบอกปริมาณที่ 0 องซาเซลเซียส (รูปที่ 6)

    Refractometer

    **คำเตือน: อย่าหมุนเกลียวปรับค่ามากจนเกินไป อาจจะทำให้เครื่องวัดค่าการหักเหของแสงทำงานผิดพลาด
    3. การสุ่มทำการวัดอย่างง่ายและรวดเร็ว

    • หยดตัวอย่าง 1-2 หยด ลงบนปริซึมรองรับตัวอย่าง (รูปที่ 1)
    • ปิดแผ่นปริซึมลงเบาๆ (รูปที่ 2)
    • ตัวอย่างที่ต้องการวัดจะต้องแผ่สม่ำเสมอบนหน้าปริซึมรองรับสารไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้น (รูปที่ 3)
    • มองเส้นตัดผ่านช่องมองภาพ (eyepiece) สามารถปรับความคมชัดได้โดยการหมุนที่ช่องมองภาพ (รูปที่ 4)
    • อ่านค่าที่วัดได้จากขีดบอกปริมาตรที่เส้นตัดสีขาวและสีฟ้าว่าตรงกับขีดบอกปริมาณว่าตรงกับค่าที่เท่าไหร่ (รูปที่ 7)
    • เช็ดตัวอย่างออกด้วยผ้าบางๆ หรือ tissue ที่เปียก หรือล้างปริซึมรองรับตัวอย่างด้วยน้ำ หลังจากล้างปริซึมให้ซับน้ำที่เหลืออยู่ด้วยผ้าบางๆ หรือ tissue ที่แห้ง (รูปที่ 8)

    วิธีใช้ refractometer Atago

    4. มาตราส่วน บริกซ์ (Brix)
         เครื่องวัดการหักเหของแสง ถูกออกแบบมาให้วัดค่าการหักเหของแสงของตัวอย่างมาตราส่วนบริกซ์มีพื้นฐานมาจากน้ำตาล (ซูโครส) และน้ำ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ตัวอย่างส่วนมากประกอบด้วยสารอื่นๆ มากกว่าน้ำตาล ตัวอย่างเช่น เกลือ แร่ธาตุต่างๆ และโปรตีน เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (Brix) แสดงให้เห็นถึงความเข้มข้นทั้งหมดของปริมาณของแสงที่ละลายในตัวอย่าง
         สำหรับตัวอย่างที่แน่นอน ได้แก่ น้ำมันสำหรับตัด (Cutting Oil) และของเหลวที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมอื่นๆ แผนภูมิสำหรับแปลงค่าจากเปอร์เซนต์บริกซ์ (Brix) ไปยังความเข้มข้นของตัวอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้

    5. การสุ่มทำการวัดอย่างง่ายและรวดเร็วRefractometer Atago
        ค่อยๆ วางตัวอย่างประมาณ 0.3 มล. ลงบนปลายด้านหน้า (ดังรูป 1) หรือปลายด้านหลัง (ดังรูป 2) ของแท่นรองรับตัวอย่างแล้วหมุนเครื่องวัดการหักเหของแสง (Refractometer) เบาๆ เพื่อให้ตัวอย่างเคลื่อนไปอยู่บนปริซึม ตัวอย่างเหลวจะแผ่อย่างสม่ำเสมอและสามารถวัดค่าได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยการลดขั้นตอนการเปิดและปิดแผ่นปริซึมระหว่างการหยดตัวอย่าง ผู้ใช้สามารถประหยัดเวลาในการวัดในกรณีที่มีตัวอย่างที่ต้องการวัดหลายๆ ตัวอย่างในแต่ละวัดได้ (การวัดวิธีนี้สามารถใช้ได้กับตัวอย่างที่มีความหนืดต่ำๆ)

    6. การทวนสอบและการสอบเทียบ

    • การทวนสอบ
      เพื่อความมั่นใจในความแม่นยำของการวัดค่าเครื่องการหักเหของแสง ควรจะต้องตั้งค่าเริ่มต้น (set zero) ก่อนการใช้งานทุกวัน แนะนำให้บำรุงรักษาและสอบเทียบเป็นระยะๆ สำหรับความถี่นั้นขึ้นอยู่กับมาตรฐานของการปฏิบัติการในหน่วยงานคุณ
    • ขั้นตอนการทวนสอบ
      1. ตรวจสอบว่าปริซึมรองรับตัวอย่าง (Prisum) สะอาดและไม่มีรอยขีดข่วน
      2. ใช้สารละลายซูโครส (Sucrose Solution) ตรวจสอบว่าเส้นตัดสีขาวและสีฟ้ามีค่าเท่ากับที่ควรจะเป็น
      3. ตรวจสอบว่าค่าที่วัดได้ตรงกับค่าความเข้มข้นของสารละลายซูโครสที่ใช้
    • การสอบเทียบ
      โดยพื้นฐานของระบบคุณภาพ ISO (องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ) สำหรับเครื่องวัดการหักเหของแสงของ ATAGO สามารถจัดใบรับรองการสอบเทียบให้ได้รวมถึงเอกสารรับรอง HACCP หรือ GMP โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

    7. ช่องมองภาพ (eye piece)
         มีความชื้นสะสมเมื่อภาพของขีดบอกปริมาณและเส้นตัดกลายเป็นมีความชื้นเข้ามาขวางข้างในช่องมองภาพ (eyepiece) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ สำหรับวิธีการทำความสะอาดมีขั้นตอนดังนี้

    Atago

    1. จับตัวเครื่องโดยหันช่องมองภาพ (eyepiece) เข้าหาตัวหมุนช่องมองภาพ (eyepiece) ไปทางซ้ายหรือทวนเข็มนาฬิกาจนกระทั่งช่องมองภาพ (eyepiece) หลุดจากตัวเครื่อง
    2. เช็ดเบาๆ ทั้งสองด้านตามลูกศรชี้ เพื่อทำความสะอาดโดยใช้ผ้าแห้งเพื่อขจัดความชื้นออก
    3. ใส่ช่องมองภาพ (eyepiece) กลับเข้าไปที่เดิมแล้วหมุนตามเข็มนาฬิกา จนกระทั่งแน่นเหมือนเดิม

    8. การแก้ไขอุณหภูมิ (Temperature correction)
         เมื่อเราวัดค่าสารละลายตัวอย่างที่ อุณหภูมิ แตกต่างกัน จะทำให้ค่าที่วัดแตกต่างกันไปด้วย ขีดบอกปริมาณสำหรับเครื่องวัดการหักเหของแสงชนิดมือถือ สามารถแสดงผลการวัดที่ถูกต้องเมื่อเครื่องถูกใช้วัดค่าอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ในหัวข้อที่ 2 และหัวข้อที่ 5 การวัดค่าการแก้ไขอุณหภูมิทำได้โดยการวัดบริกซ์ (Brix) ของตัวอย่างที่อุณหภูมิเดียวกับอุณหภูมิห้องหลังจากการสอบเทียบเครื่องวัดการหักเหของแสงด้วยน้ำ ซึ่งถูกวางทิ้งไว้ในห้องชั่วระยะเวลาหนึ่ง (ทำให้น้ำที่ให้สอบเทียบค่ามีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง) วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกสะบายที่สุดและใช้กันทั่วไปอีกวิธีหนึ่ง เราอาจแก้ไขอุณหภูมิโดยใช้ตารางแก้ไขอุณหภูมิ ก็สามารถทำได้สำหรับในกรณีนี้ การสอบเทียบค่าเครื่องวัดการหักเหของแสงด้วยน้ำกลั่นที่มีอุณหภูมิที่ 20 องศาเซลเซียส เมื่อเราทำการสอบเทียบค่าเครื่องวัดการหักเหของแสงไม่ต้องปรับเกลียวสำหรับปรับค่า เราแก้ไขค่าที่อ่านได้โดยใช้ตารางแก้ไขอุณหภูมิซึ่งแสดงอยู่ในหน้าถัดจากการอ่านค่าและการวัดอุณหภูมิไป

    Scale
    reading
    Measurement
    temperature
    Correction
    value
    Correct
    value
    15.8% 15°C -0.33 15.5%
    27.2 22°C +0.15 27.4%

     

    ตัวอย่าง
    การแก้ไขค่าอุณหภูมิสำหรับเครื่องวัดการหักเหของแสง วัดที่ความยาวคลื่น 589 nm.
    อุณหภูมิ อ้างอิง 20 องศาเซลเซียส

    Atago

    9. ข้อควรระวัง

    • เครื่องวัดการหักเหของแสง ควรเก็บอยู่ในกล่องสำหรับเก็บตัวเครื่อง (มาพร้อมตอนสั่งซื้อ) และควรเก็บในสภาพแวดล้อมที่แห้ง (อุณหภูมิประมาณ 0 ถึง 40 องศาเซลเซียส)
    • อย่าวางเครื่องหักเหของแสงทิ้งไว้ในที่มีแสงอาทิตย์โดยตรง
    • การใช้โคมไฟสำหรับเครื่องวัดการหักเหของแสงโดยติดแน่นกับตัวเครื่อง อาจเกิดผลกระทบกับระบบชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติของตัวเครื่องได้
    • เมื่อตัวอย่างมีความขุ่นหรือมีสี จะทำให้พื้นที่ที่เรามองหาเส้นตัดเพื่ออ่านค่าจะมืดหรือหายไป ในกรณีนี้แสงจากดวงอาทิตย์หรือแสงจากหลอดไฟจะช่วยให้สามารถอ่านค่าได้ง่ายขึ้น
    • ระวังอย่าให้ตัวเครื่องโดนละอองน้ำ
    • เช็ดตัวอย่างออกภายหลังจากการวัดค่าด้วยผ้าเปียกหรือกระดาษชำระที่เปียก
    • ปริซึมรองรับตัวอย่าง (Prism) และแผ่นปิดปริซึม (Daylight Plate) จะถูกทำความสะอาดทันทีหลังจากที่วัดค่าเสร็จแล้ว หากเครื่องวัดการหักเหของแสงถูกใช้สำหรับการวัดน้ำมัน หรือตัวอย่างที่คล้ายน้ำมัน อาจมีน้ำมันส่วนที่เหลือเคลือบหรือตกค้างอยู่ หากเป็นเช่นนี้ ให้เช็ดทำความสะอาดตัวอย่างที่ค้างอยู่ด้วยเอซิลแอลกอฮอล์
    • ระวังไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบนหน้าปริซึมรองรับตัวอย่าง (Prism) หลังจากการใช้งานทำความสะอาดปริซึมรองรับตัวอย่าง และแผ่นปิดด้วยผ้านุ่มชุบน้ำและเช็ดส่วนที่เปียกอีกครั้งด้วยผ้าแห้ง
    • เครื่องวัดการหักเหของแสง เป็นเครื่องมือที่เที่ยงตรงและอ่อนไหวต่อระบบสายตาเป็นอย่างมาก อย่าทำตก, กระแทกอย่างแรง หรือกระเทือนอย่างรุนแรง
    • เครื่องมือนี้หากถูกใช้ให้เกิดประโยชน์นอกเหนือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานหรือการวัดค่าโดยผู้ใช้งานเครื่องมือได้

Contact Us