ไฮโดรโปนิกส์ (hydroponic) มีการจัดการระบบปุ๋ยของพืชอย่างไร?
🌱ไฮโดรโปรนิกส์ (hydroponic)คือ การปลูกพืชไร้ดิน หรือ "การปลูกโดยไม่ใช้ดิน มีการจัดปัจจัยต่างๆ เช่น น้ำ ธาตุอาหาร แสง และอุณหภูมิให้แก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อคุณภาพที่ดีสำหรับพืชผักของคุณ
การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ นั้นไม่ได้มีเพียง การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา, การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยสมุนไพรเท่านั้น หรือการควบคุมแสง อุณหภูมิ ความชื้น ยังมีปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตคือระบบน้ำปุ๋ยที่จะช่วยให้สามารถควบคุมปริมาณน้ำปุ๋ยให้เหมาะสมกับพืชพรรณ
Controller PH และ Controller EC มีความจำเป็นในระบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics system) เนื่องจากเป็นตัวสั่งการให้การจ่ายน้ำปุ๋ยให้เกิดความเหมาะสมโดยค่า EC(ค่าความนำไฟฟ้า)
จะใช้สำหรับการดูดน้ำปุ๋ย A/ B ให้มาผสมในอ่างพักน้ำโดยค่า การวัดจะอยู่ในหน่วย mS/CM ครับ ขึ้นอยู่กับพืชที่ปลูกครับ เช่น บล็อกโครี 2.5-3.0 mS/CM
เมื่อค่าของน้ำปุ๋ยเกินที่กำหนดจะหยุดจ่ายอัตโนมัติ ส่วนค่า PH จะเป็นการควบคุมการเติมน้ำเข้ามาเจือจางที่ระบบอ่างน้ำปุ๋ยเมื่อมีค่า EC(ค่าความนำไฟฟ้า)
สูงเกินกำหนด / ต่ำเกินกำหนด จะสั่งน้ำมาเจือจาง ความบริสุทธิของน้ำที่ใช้ปลูก (มีค่าสารละลายเริ่มต้นต่ำ และมีค่า pH ก่อนปรับค่าไม่สูงมาก)
การเปลี่ยนน้ำจะไม่ต้องกระทำบ่อยเนื่องจากน้ำที่มีความบริสุทธิสูง จะมีผลต่อความสมดุลของธาตุอาหารพืชได้ดีกว่าน้ำที่มีความบริสุทธิต่ำ
ฤดูกาล ช่วงฤดูร้อนอาจจะต้องมีการเปลี่ยนน้ำใหม่ในช่วงประมาณ 10 - 15 วัน สำหรับฤดูอื่นๆ อาจจะไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้
ตารางความจำเป็นของสารอาหารที่เหมาะสมของพืช
ประโยชน์ของระบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics system)
• ผักไฮโดรโปนิกส์มีคุณค่าทางอาหารสูง
• มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง
• คุณประโยชน์โดดเด่น
• มีปริมาณแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์เท่ากับพืชผักที่ปลูกบนดินหรือสูงกว่าเล็กน้อย
ข้อดี
1.ได้ผลผลิตที่สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
2.ผักที่ได้มีความสวยงามน่ารับประทาน ผักมีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
3.การปลูกผักแบบไฮโดรไปนิกส์ไม่ต้องใช้ดินในการเพาะปลูก จึงสามารถปลูกได้ทุกที่ ปลูกได้ทั้งพืชขนาดเล็กและขนาดใหญ่
4.ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพและมีความสม่ำเสมอมากกว่าการเพาะปลูกในดิน
5.ระบบการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์จะช่วยประหยัดน้ำมากกว่าการปลูกพืชผักในดิน
6.สามารถควบคุมการให้ธาตุอาหารของพืชผักได้ง่ายกว่าการปลูกพืชผักในดิน เพราะช่วยแก้ปัญหาความไม่สม่ำเสมอของธาตุอาหารในดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน
7.การปลูกผักแบบไร้ดินก็มีประโยชน์ในด้านภูมิทัศน์เช่นกัน เพราะเราสามารถผลิตพืชสวนประดับเพื่อใช้ประดับอาคารได้
ข้อเสีย
1.มีต้นทุนการผลิตเริ่มต้นค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ในการเพาะปลูกหลากหลายมากและมีราคาค่อนข้างสูง แต่มีศักยภาพในการคืนทุนเร็ว
2.ผู้ปลูกต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์ในการควบคุมดูแล เพราะในการจัดการที่ดีพอก็อาจทำให้พืชผักที่ปลูกมีปริมาณธาตุอาหารในพืชสูงได้
3.ผู้ปลูกจะต้องมีความความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสรีรวิทยาของชนิดพืชที่จะปลูก
4.การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ต้องมีการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ
5.มีข้อจำกัดของชนิดพืชที่ปลูกมีค่อนข้างสูง