0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

Gas

  • การเลือกใช้เครื่องวัดกับการทำงานในที่อับอากาศ

    การเลือกใช้เครื่องวัดกับการทำงานในที่อับอากาศ

    ที่อับอากาศ คือ พื้นที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็นพิษ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ  ตัวอย่างของสถานที่อับอากาศ เช่น แท้งค์น้ำ , ไซโล , ท่อ , เตา ,ถัง , บ่อ , ห้องใต้ดิน เป็นต้น

    การทำงานในที่อับอากาศต้องมีการผ่านการอบรมการทำงานอย่างถูกต้อง ที่สำคัญควรมีเครื่องวัดที่เป็นมาตรฐานที่ช่วยตรวจสอบสภาพมลภาวะทางอากาศในการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง

    โดยทั่วไปชนิดของ แก๊ส ที่จะตรวจวัดขึ้นอยู่กับพื้นที่อับอากาศที่ปฏิบัติงานนั้นๆ ซึ่งแต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไปแต่แก๊สที่จะทำการตรวจสอบอย่างน้อยมี 4 แก๊ส คือ แก๊สออกซิเจน (O2) , ไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) , คาร์บอนมอนอกไซด์(CO) และ แก๊สติดไฟได้(%LEL) ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถเลือกหาเครื่องวัดแก๊สเหล่านี้ได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องที่วัดแก๊สแต่ละชนิด ยกตัวอย่างรุ่น เช่น 

    เครื่องวัดออกซิเจน (O2) รุ่น SAO2

     SAO2 เครื่องวัดค่าออกซิเจน

     

    คาร์บอนมอนนอกไซด์ ( CO ) รุ่น TM-801

     

     

    หรือเลือกเครื่องมือวัดที่สามารถวัดค่าแก๊สได้หลายอย่างในเครื่องเดียวเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานมากชึ้น ยกตัวอย่างเช่น MULTI-GAS DETECTOR เครื่องวัดแก๊ส QRAE II เป็นเครื่องวัดค่าแก๊สที่สามารถวัดแก๊สได้ 4 แก็ส คือ O2 , H2S , CO , %LEL 

     

     

    อย่างไรก็ดีการเลือกใช้ เครื่องวัดแก๊ส รุ่นใด ยี่ห้อใด นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับ และบริการหลังการขายด้วย

     

  • คู่มือการใช้งานเครื่องวัดแก๊สฉบับภาษาไทย รุ่น SACD4

    คู่มือการใช้งานเครื่องวัดแก๊สฉบับภาษาไทย รุ่น SACD4

    อธิบายลักษณะตัวเครื่อง

    1.แสดงเวลาปัจจุบัน

    2.จอแสดงผลแบบแอลซีดี

    3.แสดงสถานะแบตเตอรี่

    4.แสดงการวัดค่า แก๊ส CH4

    5.แสดงการวัดค่าแก๊ส O2

    6.แสดงการวัดค่าแก๊ส CO

    7.แสดงการวัดค่าแก๊ส H2S

    8.ปุ่มเปิด – ปิดเครื่อง/ออกจากเมนูการตั้งค่า

    9.ปุ่มเข้าเมนู/ยืนยัน

    10.เซ็นเซอร์วัดแก๊ส

    11.ปุ่มเลื่อนลง

    12.ปุ่มเลื่อนขึ้น

    13.แสดงวันที่ปัจจุบัน

    14.ไฟกระพริบเตือน

    15.ช่องเสียบที่ชาร์ตแบตเตอรี่

     

    การใช้งาน

    1.ทำการชาร์ตแบตเตอรี่ให้เต็ม จากนั้นกดปุ่มเปิดเครื่องมือวัดหน้าจอจะแสดงการวัดค่า แก๊ส ต่างทั้งหมด 4 แก๊ส

    2.ทำการตั้งเวลาและวันที่ให้เป็นปัจจุบัน จากนั้นให้ทำการเซ็ตค่าเริ่มต้นการวัดที่ศูนย์ในกรณีที่ค่าเริ่มต้นในการวัดของแก๊ส CH4 , CO , H2S  ไม่เท่ากับศูนย์

    3.นำตัวเครื่องไปวัดค่าแก๊สต่างในสถานที่ที่ต้องการทราบค่า

     

    ฟังก์ชั่นต่างๆ

    1.เซ็ตค่าเริ่มต้นการวัดที่ศูนย์(ZERO)  กดปุ่ม OK ค้างไว้ หน้าจอจะแสดงเมนูการตั้งค่า ให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลง ไปยังฟังก์ชั่น “ZERO” จากนั้นกดปุ่ม OK หน้าจอจะแสดงการวัดค่าแก๊สทั้ง 4 ค่า ให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลง เพื่อเลือกชนิดของแก๊สที่ต้องการเซ็ตค่าเริ่มต้นการวัดที่ศูนย์ โดยแก๊สที่สามารถทำได้คือ CH4 , CO , H2S เมื่อเลือกชนิดของแก๊สเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม OK ค้างไว้ จนกว่าหน้าจอจะแสดงสถานะของแก๊สที่เลือกไว้จากสีเขียวเป็นสีแดงจากนั้นปล่อยมือและรอประมาณ 20 วินาที แล้วกดปุ่ม OK ค้างไว้ จนกว่าหน้าจอจะแสดงไอคอน “Set OK” แล้วปล่อยมือเป็นการเสร็จการเซ็ตค่าเริ่มต้นการวัดที่ศูนย์และกดปุ่มเปิดเครื่องหนึ่งครั้งเพื่อกลับไปยังเมนู(ในการเซ็ตค่าเริ่มต้นการวัดที่ศูนย์ ควรทำการเซ็ตในที่โล่งและควรทำการเซ็ตทุกครั้งก่อนการใช้งาน)

    2.ฟังก์ชั่นเตือนเมื่อค่าแก๊สเกินกำหนด(Alarm)  กดปุ่ม OK ค้างไว้ หน้าจอจะแสดงเมนูการตั้งค่า ให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลง ไปยังฟังก์ชั่น “Alarm” จากนั้นกดปุ่ม OK หน้าจอจะแสดงการวัดค่าแก็สทั้ง 4 ค่า ให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลง เพื่อเลือกชนิดของแก๊สที่ต้องการตั้งค่าการเตือน โดยแก๊สที่สามารถตั้งค่าเตือนได้สองจุดทั้งค่าสูงและค่าต่ำคือ O2 ในส่วนของแก๊ส CH4 , CO , H2S เป็นการตั้งค่าเตือนได้จุดเดียว เมื่อเลือกชนิดของแก๊สเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม OK ค้างไว้ จนกว่าหน้าจอจะแสดงสถานะของแก๊สที่เลือกไว้จากสีเขียวเป็นสีแดงจากนั้นปล่อยมือและกดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลง เพื่อตั้งค่าการเตือนได้ตามที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม OK ค้างไว้ จนกว่าหน้าจอจะแสดงไอคอน “Set OK” แล้วปล่อยมือเป็นการเสร็จการเตือนเมื่อค่า แก๊ส เกินกำหนด(Alarm)  และกดปุ่มเปิดเครื่องหนึ่งครั้งเพื่อกลับไปยังเมนู

    3.การตั้งค่าวันที่และเวลา  กดปุ่ม OK ค้างไว้ หน้าจอจะแสดงเมนูการตั้งค่า ให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลง ไปยังฟังก์ชั่น “Time” จากนั้นกดปุ่ม OK หน้าจอจะแสดงวันที่และเวลา โดยเครื่องจะให้เริ่มตั้งค่าปีก่อนให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลงเพื่อเลือกปีปัจจุบันจากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อเลื่อนไปยังเดือนให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลงเพื่อเลือกเดือนปัจจุบันจากนั้นกดปุ่ม OK ทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นจนเสร็จการตั้งค่าวันที่และเวลา และกดปุ่มเปิดเครื่องหนึ่งครั้งเพื่อกลับไปยังเมนู

    4.ฟังก์ชั่นการสลับการแสดงผลของแก๊สระหว่าง CH4 และ LEL (Setting)   กดปุ่ม OK ค้างไว้ หน้าจอจะแสดงเมนูการตั้งค่า ให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลง ไปยังฟังก์ชั่น “Setting” จากนั้นกดปุ่ม OK หน้าจอจะแสดงแก๊สระหว่าง CH4 และ LEL ให้กดปุ่มเลื่อนขึ้น – ลงเพื่อเลือกแก๊สที่ต้องการแสดงบนจอแสดงผลหลัก จากนั้นกดปุ่ม OK ค้างไว้เพื่อยืนยันการตั้งค่าและกดปุ่มเปิดเครื่องหนึ่งครั้งเพื่อกลับไปยังเมนู

    ***การใช้งานฟังก์ชัน Calibration ต้องมีค่าแก๊สมาตรฐาน ไม่แนะนำให้ทำการปรับเปลี่ยน***

  • อันตราย จาก ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

     

    อันตราย จาก ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

    ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซพิษที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศหรือในชั้นบรรยากาศ ในแหล่งอุตสาหกรรม ก๊าซนี้เป็นอันตรายต่อสมองและระบบประสาทถ้าได้รับในปริมาณมากๆจนทำให้เสียชีวิตได้

    ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีมีกลิ่น มีน้ำหนักเบากว่าอากาศและเมื่อเผาไหม้จะให้เปลวไฟเป็นสีฟ้า  

    เมื่อก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจจะเป็นพิษต่อร่างกายเพราะว่าจะเข้ามาแทนที่ออกซิเจนในกระแสโลหิต ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ก๊าซออกซิเจนได้  จะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ หัวใจเต้นถี่ขึ้น และทำให้เป็นลมหมดสติ 

    ประโยชน์ของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ส่วนใหญ่จะใช้ในงานอุตสาหกรรมซึ่งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการแยกธาตุจากสินแร่ที่จะประกอบด้วย เหล็ก โค-บอลท์ และทองแดง 

     

  • แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แก๊สพิษอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

    แก๊ส H2S

    แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ H2S แก๊สพิษอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

     

            ในปัจจุบันนี้แก๊สที่ทุกคนไม่ค่อยรู้จักหรืออาจจะมองข้ามไปก็คือแก๊ส H2S หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือโดยทั่วไปอาจจะคุ้นหูว่าแก๊สไข่เน่า

    ทำไม่จึงเรียกว่าแก๊สไข่เน่า เพราะว่าจะมีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า ถ้าหากสูดดมเข้าไปในระดับแก๊สที่ต่ำแต่ได้รับในระยะเวลาที่นานก็อาจจะทำให้

    เกิดการระคายเคืองหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจติดขัดหรือหายใจไม่สะดวก หรือถ้าหากเราสัมผัสหรือสูดดมเข้าไปใน

    ปริมาณที่มากก็จะทำให้เราหมดสติหรือเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่แก๊ส H2S หรือ Hydrogen Sulfide จะมาจากสองแหล่งใหญ่ๆ คือ จากธรรมชาติ

    และจากโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงการสูดดมหรือสัมผัสโดยตรง และควรหลีกเลี่ยงการทำงานในพื้นที่อับอากาศ

             ในปัจจุบันก็จะมีอุปกรณ์ เช่น เครื่องวัดแก๊ส H2S โดยเฉพาะหรือเป็นแบบ Multi gas เข้ามาช่วยในการตรวจสอบว่าจุดที่ทำงานนั้น

    มีค่าของแก๊สเกินมาตราฐานที่กำหนดหรือไม่

     

    แก๊ส H2S

Contact Us