0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

Heat Stress Meter

  • ความหมายของค่า WBGT

    ความหมายของค่า WBGT

    ความหมายของค่า WBGT

              ค่า WBGT (Wet Bulb Globe Temperature) เป็นค่าดัชนีของอุณหภูมิหลายตัวประกอบกันขึ้นจากอุณหภูมิ ความชื้นและการแผ่รังสีความร้อนสู่ร่างกายมนุษย์ ค่าดัชนี ใช้โดยนักอาชีวอนามัย นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักวิจัยทางการทหาร เพื่อประเมินอันตรายจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงของผู้ปฏิบัติงาน

              ความชื้นสัมพัทธ์ Relative Humidity (%) ค่าดัชนีหมายถึงอัตราส่วนของปริมาณไอน้ำในอากาศที่วัดได้ ณ อุณหภูมิอากาศ เทียบกับค่าสูงสุดที่อากาศสามารถอุ้มไอน้ำไว้ได้โดยไม่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ณ อุณหภูมิเดียวกัน (ค่าดัชนีท่ากับ 100%) เซนเซอร์ที่นิยมใช้วัดความชื้นกันมักเป็นตัวต้านทานไฟฟ้าหรือไม่ก็ตัวเก็บประจุ สำหรับ Metrel ใช้เซนเซอร์แบบตัวเก็บประจุที่เปลี่ยนค่าไปตามความชื้นเพื่อผลการวัดที่แม่นยำเครื่องวัดจะป้อนสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับค่าต่างๆ ผ่านเซนเซอร์ที่เปิดออกสัมผัสอากาศ ค่าของตัวเก็บประจุที่ขึ้นกับความชื้นอากาศจะทำให้สัญญาณไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง และเครื่องวัดแสดงค่าผลการวัดออกมาได

              อุณหภูมิไอน้ำกลั่นตัว Dew Point (°C) หมายถึงค่าอุณหภูมิอากาศที่ทำให้เกิดการอิ่มตัวไม่สามารถอุ้มไอน้ำไว้ได้อีกเมื่อคงที่ค่าความดันและความชื้นไว้ หากเราเก็บตัวอย่างอากาศไว้ในภาชนะปิด ซึ่งอากาศนั้นมีส่วนประกอบหนึ่งเป็นไอน้ำ แล้วทำการลดอุณหภูมิของอากาศในภาชนะนั้นลงเรื่อยๆ โดยคงที่ค่าความดันไว้ เมื่อถึงอุณหภูมิหนึ่งที่เริ่มเห็นฝ้า (หรือไอน้ำในอากาศกลั่นตัว) อุณหภูมิค่านั้นก็คือ dew point temperature ในส่วนของเทคนิคเครื่องวัดแล้ว ค่านี้เป็นผลของการคำนวณจากค่า Air Temperature และ %RH ดังนั้น เพื่อให้ค่า dew point มีความแม่นยำควรให้เครื่องวัดใช้เวลาในการวัด Air Temperature และ %RH ให้นานสักหน่อย

              อุณหภูมิกระเปาะเปียก Natural Wet Bulb Temp. (°C) หมายถึงค่าอุณหภูมิที่เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทแก้วที่ถูกพันกระเปาะปรอทไว้ด้วยผ้าหรือสำลีชุบน ผ้า ซึ่งอุณหภูมินี้โดยทั่วไปจะต้องต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศเสมอ ยกเว้นกรณีเดียวคืออากาศนั้นมีความชื้นสูงจนอิ่มตัว (100% RH) ค่าอุณหภูมิทั้งสองนี้จึงจะเท่ากัน เนื่องจากน้ำที่ผ้าหรือสำลีไม่สามารถระเหยออกไปได้ในสถานการณ์ปกติที่อากาศมีปริมาณความชื้นไม่อิ่มตัวนั้น สำลีหรือผ้าชุ่มน้ำจะเย็นลงเนื่องจากการระเหยออกไปของน้ำ ยิ่งอากาศแห้งมากการระเหยก็รุนแรงมาก อุณหภูมิของกระเปาะก็เย็นลงได้มากเช่นกัน

              Black Globe Radiant Temperature (°C) คือค่าความร้อนที่ร่างกายรับมาจากการแผ่รังสีความร้อนของแสงแดดหรือวัตถุร้อนที่อยู่ใกล้เคียง ยกตัวอย่างเช่น ขณะดวงอาทิตย์ตกดินฟ้าเริ่มมืด มนุษย์จะรู้สึกว่าเย็นลงแม้ว่าอุณหภูมิอากาศจะไม่เปลี่ยนก็ตาม

    การคำนวณค่า WBGT

    WBGT คือค่าที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดเพื่อเป็นดัชนีความเครียดจากความร้อน (heat stress) และใช้ในมาตรฐานนานาชาติ ISO 7243 เครื่องวัด IEQ ของ Metrel สามารถให้ค่า indoor WBGT โดยคำนวณตามสมการ

    WBGT (indoor) = 0.7 * TWB + 0.3 * TG TWB – Natural wet bulb temperature; TG – Black globe temperature.

     

  • อุณหภูมิเวตบัลโกลบ

    WBGT

    อุณหภูมิเวตบัลโกลบ 

     

     (Wet Bulb Globe Temperature : WBGT)

              ซึ่งการวัดอุณหภูมิแบบเวตบัลโกลบหรือ WBGT  ซึ่งเป็นการวัดดัชนีความร้อน วัดสภาพความร้อน ของสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อม

    ในการทํางาน (จะมีหน่วยวัดเปนองศาเซลเซียส หรือ องศาฟาเรนไฮท์) จะนําเอาผลกระทบต่อความร้อนที่สะสมในร่างกายมาพิจารณา คือ

    ความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกายขณะทํางาน และความร้อนจากสิ่งแวดล้อมในการทํางาน ในส่วนของความร้อนจากสิ่งแวดล้อมในการทํางานจะ

    ถูกถ่ายเทมายังร่างกาย ได้หลักๆ อยู่ 3 วิธีคือ การนํา การพา และการแผรังสีความร้อน หรือบางครั้งอาจจะมาจากการทำงานหรือปริมาณงาน

    ที่เยอะและความหนักเบาของงาน ในส่วนของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะสามารถใช้ชีวิตเมื่อความร้อนภายในร่างกายคงที่ในระดับที่เหมาะสม

    ในส่วนของอุณหภูมิภายในร่างกายของมนุษย์อาจเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่มีผลกระทบต่อการทํางานของรางกาย นั่นคือ ประมาณ

    37 ± 1°C   ดังนั้นร่างกาย จึงจะพยายามควบคุมอุณหภูมิใหคงที่ ตลอดเวลาด้วยกลไกต่างๆ เช่น การหลั่งเหงื่อ การทำให้รู้สึกกระหายน้ำ

    การทำให้เลือดไหลเวียนมาที่ผิวเพื่อคายความรอน ส่วนใหญ่แหล่ง ความรอนที่มีอิทธิพลต่อความร้อนในร่างกายมนุษย์ก็จะมาจากความร้อนที่

    เกิดขึ้นภายในร่างกายจากการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้สร้างพลังงาน และความร้อนจากสิ่งแวดลอมภายนอก ซึ่งความร้อนจากทั้งสองแหล่งนี้

    สามารถถ่ายเทระหว่างกันได้ จากแหล่งที่มีระดับความร้อนสูงกว่าไปยังแหล่งที่มีความร้อนต่ำกว่า โดยการนํา การพา และการแผ่รังสีความร้อน

    ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับความรอนภายในร่างกายให้คงที่ ที่ 37 ± 1°C

    อันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพ

              ลมแดด (Heat Stroke) และการเปนลม (Heat Syncope) เกิดขึ้นในภาวะที่ร่างกายต้องเผชิญกับ อากาศร้อนเป็นเวลานานจะทําให้อุณหภูมิใน

    ร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 41 – 42°C  จะมีอาการของลมแดด และอาจเกิดภาวะช็อค (Shock) ได้

              การอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion) เกิดขึ้นจากระบบหมุนเวียนของเลือดไป  เลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ 

              การขาดน้ำ (Dehydration) การสูญเสียเหงื่อย เป็นการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายไปเป็นจำนวนมากจะทำให้ รู้สึกกระหายน้ำ  

    ผิวหนังแห้ และรูสึกไม่สบาย 

     

Contact Us