0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

Lux Meter

  • LED คืออะไร ?.....

    LED

    LED คืออะไร ?..... 

    LED ย่อมาจากภาษาอังกฤษคำว่า Light Emitting Diode หรือ ถ้าแบบไทยๆ คืออุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงสว่างได้

      Light Emitting Diode

    LED ถ้าคุยกันในภาษาอิเล็กทรอนิกส์เราเรียกว่าไดโอดเปล่งแสง ขนาด 1 รอยต่อ PN เมื่อเราให้ไฟบวกด้าน P และไฟลบด้าน N อิเล็กตรอนและโฮลจะไหลมารวมกัน อิเล็กตรอนจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic) ถ้าการปลดปล่อยพลังงานนี้ อยู่ในช่วงคลื่นที่เราสามารถมองเห็นได้ เราก็สามารถมองเห็นแสงที่ออกมาจากตัวไดโอดชนิดนี้ได้

    สารกึ่งตัวนำที่ใช้เป็นส่วนผสมหลัก จะเป็นสารผลึกแก้วฮีเลียม(Ga) โดยที่สีต่างๆ เช่นสีแดง ,สีเขียว ,สีส้ม จะเกิดขึ้นจากสารที่ใส่เจือปนเข้าไปบนผลึกแก้วฮีเลียม LED ในอดีตส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้งานLight Emitting Diode1เป็นส่วนแสดงผลการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นการแสดงการเปิดปิดของอุปกรณ์ไฟฟ้า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ตัวหลอด LED เองเมื่อทำให้เกิดแสงขึ้นจะกินกระแสน้อยมากประมาณ 1-20mA มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทนทานต่อสภาวะอากา การสั่นสะเทือน และมีหลากหลายสีใช้เลือกใช้

         

     

     

     

     

     

    LED ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านสีของแสงที่เปล่งออกมา ไม่ว่าจะเป็นสีแดง ,สีเขียว ,สีส้ม หรือที่ผลิตได้ท้ายสุด และทำให้วงการแอลอีดีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วคือสีน้ำเงิน ซึ่งการเกิดขึ้นของแอลอีดีสีน้ำเงินนี้ ทำให้ครบแม่สี 3 สี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน และเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของจอแอลอีดี และแอลอีดีในงานไฟประดับต่างๆ

    LED2

      ความยาวคลื่นของแอลอีดีสีต่างๆ

     

    แอลอีดีแบ่งได้ 2 ส่วน  คือ   ส่วนที่เป็นแหล่งกำหนดแสงที่มองไม่เห็น และเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มองเห็นได้ เรามาดูแอลอีดีที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มองไม่เห็น จะพบว่าเป็นแอลอีดีที่กำเนิดแสงใต้แดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแสงอินฟาเรด (INFRARED) เราสามารถพบเห็นแอลอีดีประเภทนี้ได้ทั่วๆไปจากรีโมทเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ 

    Infrared LED Arrayแสง LED INFRARED ที่ไม่สามารถมองเห็นได้

    ส่วนแอลอีดี ที่ให้แหล่งกำเนิดแสงที่มองเห็น จะให้แสงสีต่างๆ กัน ซึ่งความแตกต่างนี้จะขึ้นอยู่กับสารเจือปนที่ใส่ลงไปในผลึก Ga จากการที่เรามองเห็นแสงจากแอลอีดี สีต่างๆกัน เช่น สีแดง ส้ม เหลือง ฯลฯ ก็เพราะว่าเกิดความแตกต่างกันของความยาวคลื่นแสง เช่นแสงสีแดงความยาวคลื่นประมาณ 0.7um แสงสีน้ำเงินประมาณ 0.48um

    Blue or White LEDแสง LED ที่สามารถมองเห็นได้

     

     

     

  • Light Meters

    Light Meter

     

    How Light Meters Work

    Most meters consist of a body. a photo cell has energy. This energy is transferred by the photo cell into electric current; the amount of current generated depends on the amount of light striking the cell. The meter then reads the electrical current and calculates the appropriate value of either Lux or foot-candles.

    A key thing to remember about light is that it is usually made up of many different types (colors) of light at diffrent wavelengths. The reading, therefore, is a result of the combined effects of all the wavelengths. A standard color can be referred to as color temperature and is expressed in degress Kelvin. The standard color temperature for calibration of most light meters is 2856 degrees Kelvin which is more yellow than pure white.

    Different types of buids burn at different color temperatures. Sper Scientific meter readings will, therefore, vary with different light sources of the same intensity. This is why some lights seem "harsher" than others. See the chart to the left for suggested lighting levels for various applications.

    Light Meter Units of Measure

    Light can be quantified in many ways, i.e., Lux, Lumens, foot-candles,candle power, candelas, and so on. The two most popular scales are Lux, which is the European measure,and foot-candles, which is the U.S. scale. Lux is a unit of illumination of one square meter which is one meter away from a uniform light source. 1 candela = 1 Lux. Foot candles are a unit of illumination of one square foot which is one foot away from a uniform light source. 

    Light Measurement Conversion Factor

    Abbreviations:
    FC-Footcandle, Lux-Lux, Lumen-Lumen

    Since: 1 Lumen/sq ft, and 1 Lux=1 Lumen/sq meter
    and: 1 square ft=0.0929 sq meter
    then: 1 Lux=0.0929 FC, and 1 FC=10.76 Lux

    All models have a fast and accurate response, and are CE approved. The sensors are cosine and color corrected and hermetically sealed to ensure long term stabillty. These meters come ready to use with probes, 9V battery, carrying case, instructions, and a 5-year warranty.

    Convenient Lighting Levels for Varying Applications

    Offices

    100 to 300

    Lux

    General workrooms, corridors, stairs and restrooms

    300 to 750

    Lux

    Conference and computer rooms

    750 to 1500

    Lux

    Technical offices, rooms for drawing and calculating

    Factories

    300 to 750

    Lux

    Winding, steel work and welding

    750 to 1500

    Lux

    Inspection, welding, heavy machinery operation

    1500 to 3000

    Lux

    Inspection and testing operations, selection areas, machine tool areas

    Schools

    75 to 300

    Lux

    Lecture rooms, assembly halls, corridors, stairs and toilets

    200 to 750

    Lux

    Classrooms, demonstration rooms, gymnastics

    300 to 1500

    Lux

    Precision drawing rooms, experimental laboratories, libraries and reading rooms

    Shops

    120 to 500

    Lux

    Stairs, elevators, toilets and corridors

    500 to 1000

    Lux

    Display windows and sales areas

    4000 to 8000

    Lux

    Jewelers and goldsmiths

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    Sper Scientific light meters have been checked and calebrated using NIST traceable light sources and standards. The light source is a color correct buid that burns at 2856 degrees Kilvin. The meters have a 5-year warranty. they are used in many applications, from testing the reflectance of porcelain pigments in a QC lab to pharmaceutical degradation studies.

    To convert from

    into

    multiply by

    Lux

    Candela steradian

    1.0

    Lumens

    Candle power (spherical)

    0.07958

    Lumens

    Watts

    0.0015

    Lumens per square centimeter

    Lamberts

    1.0

    Lumens per square centimeter

    Lux

    10000

    Lumens per square centimeter

    Phots

    1.0

    Lumens per square foot

    Foot candles

    1.0

    Lumens per square foot

    Foot lamberts

    1.0

    Lumens per square foot

    Lumens /Square meter

    10.76391

    Lumens per square foot

    Lux

    10.76396

    Lumens per square meter

    Foot candles

    0.0929

    Lumens per square meter

    Lumens/Square foot

    0.0929

    Lumens per square meter

    Phots

    0.0001

    Lumens per square meter

    Lux

    1.0

    Lux

    Foot Candles

    0.0929

    Lux

    Lumens/square meter

    1.0

    Lux

    Phots

    0.0001

     

     

    .

  • Training เครื่องวัดแสง รุ่น 407026 @Rangsit City Municipality

    Project:  Training เครื่องวัดแสง Lux Meter รุ่น 407026

    สถานที่: เทศบาลนครรังสิต, จังหวัดปทุมธานี

    วันที่: 25 สิงหาคม 2560

    Training 407026@Rangsit City Municipality

     

    • S__8052753
    • S__8052754

     

     

  • ความหลากหลายของเครื่องวัดความเข้มแสงกับการเลือกใช้งาน

    ความหลากหลายของเครื่องวัดความเข้มแสงกับการเลือกใช้งาน

    เครื่องวัดความเข้มแสง คือเครื่องมือที่ใช้วัดค่าปริมาณของแสงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือแสงที่เราสามารถมองเห็นและแสงที่เกิดจากการประดิษฐ์ขึ้น มีหน่วยวัดค่าเป็น ลักซ์ (LUX) และ ฟุตแคลเดิล (Foot Candle) โดยเครื่องวัดค่าความเข้มแสงในปัจจุบันถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย มีความรวดเร็วในการวัด สามารถพกพาได้สะดวกและมีความแม่นยำสูง ซึ่งเหมาะกับการวัดใน โกดัง, โรงงานอุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, ร้านอาหาร, โรงเรียน, ห้องสมุด, โรงพยาบาล, การถ่ายภาพ, วิดีโอ, โรงจอดรถ, พิพิธภัณฑ์หอศิลป์, สนามกีฬา, การรักษาความปลอดภัยอาคาร เป็นต้น

    เครื่องวัดความเข้มแสง ยังสามารถเลือกใช้งานให้ตรงกับชนิดของแสงที่ต้องการวัดได้อีกด้วย โดยเครื่องวัดค่าความเข้ม แสง ที่สามารถเลือกชนิดแสงได้ ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมีดังนี้

    1.เครื่องวัดความเข้มแสง LED เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาให้วัดความเข้ม แสง LED โดยตรง ซึ่งสามารถเลือกชนิดของสี LED ได้

     

     

     

    2.เครื่องวัดความเข้มแสงทั่วไป เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาให้วัดความเข้ม แสง ทั่วไปตามสำนักงาน , ห้องเรียนและโรงงาน

     

     

  • คู่มือการใช้งาน เครื่องวัดแสง LED รุ่น LT45

    คู่มือการใช้งาน เครื่องวัดแสง LED รุ่น LT45

    เครื่องวัดแสง LED รุ่น LT45

    1.หน้าจอแสดงผลแบบ LCD

    2.ปุ่มเลือกหน่วยในการวัด LUX /Fc/CD

    3.ปุ่มบันทึกข้อมูล/ปุ่มเรียกดูข้อมูลที่บันทึก (บันทึกข้อมูลได้ 99 ข้อมูล)

    4.ปุ่มแสดงค่า สูงสุด/ต่ำสุด/ค่าเฉลี่ย

    5.ปุ่มกดสำหรับเปิดและปิดเครื่อง

    6.ปุ่มสำหรับปรับเทียบค่าให้เป็นศูนย์

    7.ปุ่มสำหรับค้างข้อมูลและเลือกชนิดของLED

    8.ปุ่มปรับค่า ลง

    9.สายเซ็นเซอร์

    10.เซ็นเซอร์ในการตรวจ วัดแสง

    ขั้นตอนในการวัด

    1. กดปุ่มเปิดเครื่อง

    2. ถอดฝาครอบที่ปิดเซ็นเซอร์ออกจากนั้นสังเกตสถานะแบตเตอรี่ที่หน้าจอ ถ้าแบตเตอรี่อ่อนควรเปลี่ยนทันที 

    3. ความเข้มของแสง ในหน่วย fc (1 fc = 10.76 LUX)  

    4. ใช้ปุ่ม LUX / FC / CD เพื่อเลือกหน่วยในการวัด

    5. ตำแหน่งของเซนเซอร์ ควรวางให้ตั้งฉากกับแหล่งกำเนิดแสง  

    6. จอแสดงผลสามารถแสดงค่าได้ถึง 3999 ในตัวเลขที่มีขนาดใหญ่และเมื่อตัวเลขเพิ่มขึ้นก็จะแสดงตัวเลขที่มีขนาดเลขเพิ่มเติม (ขนาดเล็ก) ตัวเลขจะปรากฏทางด้านขวาของตัวเลขที่มีขนาดใหญ่เช่น 399,900 

    หน่วย LUX/FC/CD   

    ในการเปลี่ยนหน่วยในการวัดให้กดปุ่ม LUX / FC/CD และเลือกหน่วยที่ต้องการวัด

    ปิดเครื่องอัตโนมัติ

    หลังจากไม่มีการใช้งาน 5นาทีตัวเครื่องจะปิดเองอัตโนมัติเพื่อเป็นการช่วยประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่

    การเปิด/ปิดการใช้งานฟังก์ชั่นปิดเครื่องอัตโนมัติ

    เมื่อกดเปิดเครื่องขึ้นมาจะเห็นสัญญาลักษณ์  แสดงว่าตัวเครื่องอยู่ในฟังก์ชั่นปิดเครื่องอัตโนมัติถ้าต้องการปิดฟังก์ชันการปิดเครื่องอัตโนมัติให้กดปุ่มปิดเครื่องค้างไว้สัญญาลักษณ์ จะหายไป

    การปรับเทียบค่าให้เป็นศูนย์

    1. ตรวจสอบว่าฝาครอบป้องกันเซ็นเซอร์วัดแสงว่าปิดที่เซนเซอร์หรือไม่

    2. เมื่อปิดอยู่หน้าจอแสดงผล LCD จะแสดง '0'

    3. กดปุ่ม zero และหน้าจอจะแสดง ADJ  เมื่อปรับเทียบเสร็จแล้วหน้าจอจะกับมาสู่โหมดการวัดปกติ

    4. หากฝาครอบ ไม่ได้ครอบกับเซ็นเซอร์ไม่แนะนำให้กด  ZERO  

    แสดงค่าสูงสุด/ต่ำสุด/และค่าเฉลี่ย

    สามารถกดปุ่ม  ลูกศรขึ้น เพื่อดูค่า สูงสุด/ต่ำสุดและค่าเฉลี่ยได้ ถ้ากดจะมี ไอคอน MAX,MIN และAVG แสดงบนหน้าจอแสดงผมทางด้านขวา ถ้าจะออกจากฟังก์ชั่น MAX,MIN และAVG ให้กดปุ่ม ลูกศรขึ้น ค้างไว้สังเกตว่าสถานะ MAX,MIN และAVG จะหายไป

     

    การบันทึกข้อมูลและการเรียกดูข้อมูล

    1.ตัวเครื่องสามารถบันทึกข้อมูลได้โดยการกดปุ่ม MEM/READ ตัวเครื่องสามารถบันทึกได้ทั้งหมด 99 ข้อมูล ในการกดบันทึกข้อมูลสถานการณ์บันทึกจะโชว์ที่หน้าจอทางด้านซ้าย  

    2.ในการเรียกดูข้อมูลที่บันทึกไว้ให้กดปุ่ม MEM/READ ค้างไว้สองวินาที  จะสังเกตเห็นสถานะ M จะเปลี่ยนเป็น R และจะมีค่าที่บันทึกไว้ทั้งหมดว่าบันทึกไปแล้วกี่ข้อมูล ให้กดปุ่มลูกศรเลื่อนขึ้นเลื่อนและเลื่อนลงในการเลือกดูข้อมูลที่บันทึกไว้

    3.ในการลบข้อมูลที่บันทึกไว้ทังหมด ให้ปิดเครื่องก่อน และ จากนั้น กดปุ่ม MEM/READ ค้างไว้ แล้วกดปุ่มเปิดเครื่อง ค้างไว้จนกว่า สถานะ Clr จะโชว์ขึ้นมา เมื่อสถานะClr โชว์ขึ้นมาให้ปล่อยมือออก

    ฟังก์ชั่นการค้างข้อมูล

    ถ้าจะหยุดค่าหรือค้างข้อมูลไว้ให้กดปุ่ม HOLD สัญญาลักษณ์ HOLD จะโชว์ขึ้นมาบนหน้าจะ ถ้าจะกับไปวัดค่าปกติอีกครั้งให้กดปุ่ม HOLD อีกครั้ง

    การวัดความเข้มส่องสว่าง (CD)  

    1.เปิดเครื่องขึ้นมา

    2.กดปุ่ม LUX/FC/CD ค้างไว้  หน้าจอจะแสดงหน่วย CD ขึ้นมา

    3.ผู้ใช้สามารถเลือกหน่วย ft และ m โดยการกดปุ่มลูกศรขึ้นและลูกศรลงเพื่อเลือกหน่วย ในการกำหนดระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสงและเซนเซอร์

    4.เมื่อเลือกหน่วยแล้ว กดปุ่ม LUX/FC/CD อีกครั้ง จะสังเกตเห็นตัวเลขกระพริบขึ้นมาทางด้านมุมล่างด้านขาวและสามารถใช้ปุ่มลุกสรเลื่อนขึ้นและเลื่อนลงในการปรับระยะห่างของแสงและตัวเซนเซอร์

    5.เมื่อปรับระยะห่างเสร็จแล้วให้กดปุ่ม LUX/FC/CD อีกครั้ง เพื่อยืนยันการปรับค่า จากนั้นตัวเครื่องก็จะกับมาสู่โหมดการวัด

    6.ถ้าจะออกจากโหมด CD .ให้กดปุ่ม LX/FC/CD  ค้างไว้ 2วิ

    • Luminous Intensity = illumination (Lx) x distance (ft2 or m2) 

    • The programmable distance range is 0.01 ~ 30.47 m (0.01 ~ 99.99 ft.)

    การเลือกแหล่งกำเนิดแสงหรือ (L.S.)

    เครื่อง LT45 ได้กำหนด light source มาให้ L0-L9 ซึ่ง L0-L6 ไม่สามารถที่จะปรับค่าได้แต่ทางด้านผู้ผลิตได้กำหนดให้ผู้ใช้สามารถปรับค่า light source ที่ L7-L9 ถ้าผู้ใช้มี light source ที่ใช้งานอยู่แล้วก็สามารถปรับให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้

    1.ในการเลือก light source ให้กดปุ่ม HOLD/L.S.  ค้างไว้ จากนั้นให้สังเกต สัญญาลักษณ์ L.S. ตัวเลขจะกระพริบจากนั้นให้ใช้ปุ่มลูกศรเลือนขึ้นและเลื่อนลง ในการเลือก light source เมื่อได้ light sourceที่ต้องการแล้วให้กดปุ่ม HOLD/L.S. ค้างไว้ 2 วินาที ตัวเลขจะหยุดกระพริบ และจะแสดง light source ที่เราเลือกไว้

    2.ในการปรับค่า light source ด้วยตัวเอง ให้ปรับไปที่ L7-L9 ให้กดปุ่ม HOLD/L.S.  ค้างไว้ จากนั้นให้สังเกต สัญญา-ลักษณ์ L.S. ตัวเลขจะกระพริบจากนั้นให้ใช้ปุ่มลูกศรเลือนขึ้นและเลื่อนลง ไปที่ L7,L8,L9 จากนั้นกดปุ่ม HOLD/L.S.อีกครั้ง ตัวเลขทางด้านขวามือก็จะกระพริบ จากนั้นใช้ปุ่มลูกศรขึ้นลูกศรลงในการปรับค่า เมื่อปรับค่าได้ตามที่ต้องการแล้ว กดปุ่ม HOLD/L.S.  ค้างไว้ 2วินาที จะกับมาสู่โหมดการวัดปกติ

     Light Source

     L0: Standard incandescent light source 

    L1: LED white daylight 

    L2: LED AMBER (YELLOW) light

     L3: LED GREEN light

     L4: LED RED light 

    L5: LED BLUE light 

    L6: Not used 

    L7~L9: Programmable User Custom Locations (preset to 1.00)

     

  • หลักการและคำศัพท์ของแสง

    หลักการและคำศัพท์ของแสง

    ในการเลือกหลอดไฟประหยัดพลังงานที่ดีที่สุดสำหรับบ้านของคุณ คุณควรเข้าใจหลักการพื้นฐานของ แสง เสียก่อน อย่างเช่น คุณภาพแสง การบริโภคพลังงาน ปริมาณแสง หลักการของแสงเบื้องต้น อย่างเช่น

    ปริมาณแสง

    ความสว่าง (Illumination)

    แสง ที่กระจายออกไปยังพื้นผิวระนาบ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจุดไฟคือการสร้างแสงสว่าง

    Lumens

    ลูเมน (Lumen)

    ลูเมนคือหน่วยวัดการแผ่กระจายแสงของหลอดไฟ ตัวอย่างเช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ จะแพร่กระจาย แสง 1600 ลูเมน

    Footcandle

    ฟุตเทียน (Footcandle)

    ฟุตเทียน  คือหน่วยวัดของความหนาแน่นของแสงสว่าง 1 ฟุตเทียน คือแสงสว่างที่ถูกผลิตขึ้นมา 1 ลูเมน กระจายแสงได้พื้นที่ 1 ตารางฟุต บ้านรวมถึงสำนักงานส่วนใหญ่ก็จะใช้หลอดไส้ร้อนที่มี 30–50 ฟุตเทียน ซึ่งก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับการใช้งานอย่างอื่นที่ต้องการรายละเอียด ความสว่าง 200 ฟุตเทียน ถึงจะเหมาะสมและไม่ปวดตา ส่วนหลอดไฟที่เปิดตามทางเดินตอนกลางคือเพียง 5-20 ฟุตเทียน ก็เพียงพอ

    การบริโภคพลังงาน

    ประสิทธิภาพ

    หมายถึงอัตราในการผลิต แสงสว่าง ต่อการบริโภคพลังงาน ซึ่งจะวัดตัวเลขของการสร้างลูเมนต่อการบริโภคพลังงานไฟฟ้า หรือ ลูเมนต่อวัตต์

    คุณภาพของแสง

    อุณหภูมิสีของแสง

    อุณหภูมิสีของแสง

    สีมาจากแหล่งกำเนิดแสง อย่างสีเหลืองแดงคล้ายกับเปลวไฟก็ให้รู้สึกว่าอบอุ่น และสีฟ้าเขียวเหมือนแสงจากท้องฟ้าให้ความรู้สึกเย็น ซึ่งหน่วยวัด อุณหภูมิ เป็น Kelvin (K) ซึ่งถ้าสูงกว่า (3600–5500 K) เรียกว่าเย็น และอุณหภูมิสีต่ำกว่า (2700–3000 K) จะร้อน แสงเย็นนั้นใช้ในพื้นที่ทำงาน ส่วนแสงสีเหลืองอบอุ่นนั้นใช้ในพื้นที่อยู่อาศัย เนื่องจากเข้ากับสีผิวและเสื้อผ้าได้ดี อุณหภูมิสี 2700–3600 K นั้นถูกใช้ในอาคารทั่วไป

    Color Rendition

    ความถูกต้องของสี (Color Rendition)

    สีนั้นขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งนับว่าเป็นคุณภาพของแสงที่สำคัญมากกว่า อุณหภูมิ สี โดยวัตถุส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีเพียงสีเดียว แต่มีหลายสีผสมกันอยู่ ซึ่งแหล่งที่มาของแสงนี้เองก็มีความบกพร่องที่อาจจะส่งผลถึงการให้สีของแสงหลัก

    Color Rendition Index (CRI) หรือความถูกต้องของ สี ที่ 1 - 100 สเกล ที่ใช้วัดความสามารถในการให้สีที่ถูกต้องของแหล่งกำเนิดแสงอันเป็นวิธีเดียวกับที่แสงอาทิตย์ทำ ค่าสูงสุดของสเกล CRI คือ 100 เบสจากความสว่างของหลอดไฟ 100 วัตต์ และหลอดไฟที่มี CRI เท่ากับ 80 หรือมากกว่า มักจะถูกใช้ในอาคารทั่วไป

    .

  • เครื่องวัดเสียง แสง ความเร็วลม วัดรอบ ราคาพิเศษ เริ่มต้น 450 บาท

    Benetech

  • เครื่องวัดแสง (Lux meter) หรือ (Light meter)

    Light meter

    เครื่องวัดแสง (Lux meter) หรือ (Light meter)

         เครื่องวัดแสง (Lux meter) หรือ (Light meter)  คือ เครื่องวัดที่ใช้วัดความสว่างของแสงในรูปของความเข้มการส่องสว่าง (Luminous intensity) หรือ กำลังส่องสว่าง (Candlepower) ของแสงที่ตกกระทบพื้นที่หนึ่งเพื่อให้ทราบว่าพื้นที่ที่ใช้งานอยู่นั้น  ค่ากำลังส่องสว่างของแสงเหมาะสมหรือไม่  ซึ่งมีหน่วยวัดค่าเป็น ลักซ์ (LUX) และ ฟุตแคลเดิล (Foot Candle)  ปัจจุบันถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย มีความรวดเร็วในการวัด สามารถพกพาได้สะดวก น้ำหนักเบาและมีความแม่นยำในการวัดสูง ซึ่งเหมาะในการวัดใน โรงงานอุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงพยาบาล, ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

    เครื่องวัดแสง มีกี่ประเภท

    เครื่องวัดแสงแบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.เครื่องวัดแสงประเภท Analog หน้าจอในการวัดเป็นเข็ม

    เครื่องวัดแสงหน้าจอเป็นเข็ม
                            สินค้ารุ่น LT300                                    สินค้ารุ่น PM6612L
     

                                               ตัวอย่างเครื่องวัดแสงแบบ Analog

     

    2.เครื่องมือวัดแสงประเภท Digital แสดงผลเป็นตัวเลขหน้าจอเป็น LED.

    เครื่องวัดแสงหน้าจอLED
                   สินค้ารุ่น GM1030                                                                              สินค้ารุ่น LX-90+

                                                              ตัวอย่างเครื่องวัดแสงแบบ Digital

    ส่วนประกอบของเครื่องวัดเเสง 

    ส่วนประกอบที่สำคัญมี 2 ส่วน คือ
    1. ส่วนรับแสง (Light Sensor) ใช้สำหรับรับค่าแสงตามจุดที่ต้องการวัด
    2. ส่วนประมวลผล หรือตัวเครื่อง คือส่วนที่แสดงผลลัพธ์ของค่าความสว่างที่ทำการวัด ซึ่งจะแสดงค่าเป็นตัวเลข 

    ส่วนประกอบเครื่องวัดแสง

    หลักการทำงานของ Lux meter (เครื่องวัดแสง) 

         ทำงานโดยใช้ Photo Electric cell หรือตัว Sensor ซึ่งถูกติดตั้ง ในโคมพลาสติกสีขาวขุ่น เมื่อจับแสงที่กระทบได้แล้ว จะส่งข้อมูลประมวลผล แปลงคลื่นแสงเป็นประจุไฟฟ้า คำนวณค่าเป็นหน่วย Lux แสดงผลออกมาที่หน้าจอDigital เพื่อสะดวกในการอ่านค่าที่วัดได้ให้ผู้ใช้งานทราบ

    เครื่องมือวัดแสงสำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

         แสงมีผลต่อการใช้ชีวิต และการทำงานของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และตามมาตรฐานที่กรมแรงงานได้มีกำหนดเอาไว้ ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการควบคุมปริมาณของแสงให้พอดี ไม่มาก หรือน้อยเกินไป การกำหนดความเหมาะสมของความเข้มแสงจึงเป็นส่วนสำคัญในป้องกันความเสี่ยงทางด้านสุขภาพกับผู้ปฏิบัติงาน โดยจะกำหนดความเข้มของแสงสว่างตามพื้นที่หรือลักษณะงาน เนื่องจากการรับรู้แสงของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการควบคุม แสง โดยใช้ความรู้สึกของมนุษย์ย่อมไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร การนำ เครื่องวัดแสง มาใช้จึงถูกบังคับเข้าไปในกฎหมายแรงงาน เพื่อป้องกันการได้รับแสงที่ไม่เหมาะสมของแรงงานให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้ที่ทำงาน เครื่องวัดแสงจึงได้เข้ามามีบทบาทในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น

    เครื่องวัดแสงรุ่นแนะนำ

     

     

     เครื่องวัดแสงEA30

     EA30

     

     เครื่องวัดแสงGM1010GM1010

     

             เครื่องวัดแสงLX1010BSLX-1010BS

  • แสงในงานอุตสาหกรรม

    เครื่องมือวัดแสงอุปกรณ์สำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

    แสงมีผลต่อการใช้ชีวิต และการทำงานของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และตามมาตรฐานที่กรมแรงงานได้มีกำหนดเอาไว้ ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการควบคุมปริมาณของแสงให้พอดี ไม่มาก หรือน้อยเกินไป เครื่องวัดแสง จึงได้เข้ามามีบทบาทในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นเพราะเหตุใดเครื่องมือวัดแสงจึงมีความสำคัญ

    หากมีแสงน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอสำหรับการมองเห็น

    การมีปริมาณ แสง ที่น้อยเกินไปจะส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพจิตของพนักงานได้ และในขณะเดียวกัน หากมี แสง มากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ คือจะทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว เวียนศีรษะ และไม่มีสมาธิในการทำงานได้เครื่องมือวัดแสงสามารถเป็นตัวอ้างอิงมาตรฐานการจัดแสงในพื้นที่ได้

    ปริมาณของแสงที่เหมาะสมตามมาตรฐานอุตสาหกรรม

    มาตรฐานของปริมาณแสงไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัว แต่ต้องมีการนำเอาสภาพของการทำงานมาเป็นตัววัดด้วย สามารถวัดด้วย เครื่องมือวัดแสง เช่น ความสูงของเพดาน ถึงพื้น ซึ่งเป็นจุดที่แสงตกกระทบ วัสดุที่ สะท้อนแสง คือผนัง หรือแม้กระทั่งพื้นที่ หรืออุปกรณ์ในการทำงาน ซึ่งตามหลักการแล้ว ไม่ว่าแสงจะมาจากที่ใดก็ตาม แต่เมื่อตกกระทบกับชิ้นงาน หรือ พื้นที่ในการทำงานแล้ว ไม่ควรจะแตกต่างจากแสงในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ บริเวณทำงานเกิน 3 เท่า เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว จะก่อให้เกิดอาการที่เรียกว่า แสงแยงตา ทำให้เสียสมาธิในการทำงาน และอาจจะทำให้ผู้ที่ปฏิบัติงานเกิดอาการป่วยได้

    คนเรามีการรับรู้ปริมาณแสงที่แตกต่างกัน

    เนื่องจากการรับรู้แสงของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการควบคุม แสง โดยใช้ความรู้สึกของมนุษย์ย่อมไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร การนำ เครื่องวัดแสง มาใช้จึงถูกบังคับเข้าไปในกฎหมายแรงงาน เพื่อป้องกันการได้รับแสงที่ไม่เหมาะสมของแรงงานให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้ที่ทำงาน

    เครื่องมือวัดแสงจำเป็นต้องมีในทุกโรงงานอุตสาหกรรม

    โดยตามกฎหมายแล้ว ทุกโรงงานต้อง เครื่องมือวัดแสง จำเป็นต้องมีในทุกโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก และจะต้องมีการทำการวัดปริมาณของแสง เป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพของการทำงาน อย่างเช่น การทาสีผนังใหม่ การติดตั้งหลอดไฟเพิ่มในจุดต่างๆ เพราะการวัดปริมาณแสงตกกระทบให้สม่ำเสมอ โดยใช้เครื่องวัดแสงจะช่วยให้แรงงาน ได้รับแสงที่ไม่จ้าจนเกินไป ในจุดที่แตกต่างกัน ทำให้ไม

    รู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของแสงเกิดขึ้น

    ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่ เครื่องวัดแสง มีความจำเป็นและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นการเลือกใช้ซื้อ เครื่องวัดแสง เพื่อมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมย่อมมีความสำคัญ ต้องมีการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมและมีการ สอบเทียบ ให้ได้มาตรฐานทุกปี

     

Contact Us