0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

Thermal Imaging Camera

  • NEW PRODUCT Thermal Imaging Camera

    NEW PRODUCT Thermal Imaging Camera

    New Product


     


     

  • Training ส่งสินค้าพร้อมสอนการใช้งาน เครื่อง FLIR C3 กล้องถ่ายภาพความร้อน COMPACT THERMAL IMAGING CAMERA WITH WIFI

    Training ส่งสินค้าพร้อมสอนการใช้งาน เครื่อง  FLIR C3 กล้องถ่ายภาพความร้อน COMPACT THERMAL IMAGING CAMERA WITH WIFI

    สถานที่  อาคารพิพิธภัณฑ์แมลง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จตุจักร กรุงเทพ 10903

    วันที่ 14 สิงหาคม 2563

    FLIR C3

     

  • กล้องถ่ายภาพความร้อน thermal Camera ราคาพิเศษ

    กล้องถ่ายภาพความร้อน ราคาพิเศษ วันแม่ 

     

     

  • การประยุกต์ใช้อินฟราเรดในอุตสาหกรรม

    การประยุกต์ใช้อินฟราเรดในอุตสาหกรรม

     

    การประยุกต์ใช้อินฟราเรดในอุตสาหกรรม

     

            ก่อนที่จะนำอินฟราเรดมาทำการการประยุกต์ใช้นั้นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า อินฟราเรด หรือ คลื่นรังสีอินฟราเรดคืออะไร คลื่นรังสีอินฟราเรด

    (Infrared (IR) มีคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีใต้แดงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิดหนึ่งแผ่มาจากดวงอาทิตย์ ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ

    Sir William Herschel ในปี 1800 จากการทดลองวัดอุณหภูมิของแถบสีต่างๆ ที่เปล่งออกมาเป็นสีรุ้ง จากปริซึม และพบว่าอุณหภูมิความร้อนจะเพิ่มขึ้นตาม

    ลำดับ และสูงสุดที่แถบสีสีแดงการที่เขาเลื่อนเทอร์โมมิเตอร์จากแถบสีที่ไม่สว่างไปยังแถบสีสีแดง ซึ่งเป็นแถบสีที่สิ้นสุดของสเปกตรัมและอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น

    ลำดับ ซึ่งขอบเขตดังกล่าวนี้เรียกว่า "อินฟราเรด" (ของเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดง) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร – 1 มิลลิเมตร ถี่

    ในช่วง 1011–1014 เฮิร์ตซ์ มีคุณสมบัติไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ความถี่ยิ่งสูงมากขึ้นพลังงานก็สูงขึ้นตามไปด้วย เป็นคลื่นที่มีความถี่ถัดจากความถี่

    ของสีแดงลงมา มนุษย์จึงไม่สามารถมองเห็นรังสีอินฟราเรดได้ แต่สามารถรู้สึกถึงความร้อนได้ ในการการประยุกต์ใช้งานนั้น อินฟราเรดสามารถนำไปประยุกต์

    ใช้งานได้หลากหลายตัวอย่างที่จะพูดถึงนี้คือ กล้องอินฟราเรด โดยกล้องชนิดนี้จะมองไม่เห็นภาพจริง แต่มันจะจับพลังงานรังสีอินฟราเรด โดยพลังงานของ

    รังสีอินฟราเรด จะแผ่จากวัตถุส่งผ่านเลนส์ของกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Cameraและจะถูกโฟกัสโดยเลนส์ไปยังตัวตรวจจับ โดยที่  

    เซนเซอร์จะทำการแปลงรังสีอินฟราเรดให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า และหลังจากนั้นอิเลคทรอนิกส์เซนเซอร์จะทำการแปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับ จึงจะ

    แสดงผลบนจอภาพได้ ซึ่งวัตถุที่ร้อนกว่าจะแสดงสีสว่าง และวัตถุที่เย็นกว่าจะแสดงสีมืดกว่า เนื่องจากพลังงานความร้อนจะสะท้อน (Refected) พื้นผิวที่แวววาว

    จึงทำให้กล้องถ่ายภาพความร้อนเกิดข้อจำกัด ที่ไม่สามารถมองผ่านแก้วได้ การใช้กล้องอินฟราเรดตรวจสอบในงานอุตสาหกรรม กล้องอินฟราเรดถูกนำไป

    ประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการใช้ตรวจสอบในอุตสาหกรรม การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และการบำรุง

    รักษาเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า (Predictive Maintenance) เช่น ตรวจสอบว่าฉนวนถูกติดตั้ง ในสภาพที่ดี, หาตำแหน่งอากาศรั่วไหล, วงจรไฟฟ้าที่โอเวอร์โหลด,

    การตรวจสอบความร้อนที่สูญเสียในอาคาร, การหาตำแหน่งของสายไฟหรือท่อที่มีความร้อน, การตรวจสอบแบริ่ง, กล้องอินฟาเรดที่สามารถจับภาพได้แม้ใน

    เวลากลางคืน, การตรวจสอบการรั่วของฉนวนในอุปกรณ์ทำความเย็น เป็นต้น และยังสามารถวัดอุณหภูมิจากระยะไกลโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด

    (Infrared Thermometer) ที่อ้างถึงอุณหภูมิจากส่วนหนึ่งของการแผ่รังสีความร้อน รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากวัตถุที่ถูกวัด เรียกว่า เครื่องวัด

    อุณหภูมิเลเซอร์ ถ้าเลเซอร์จะใช้เพื่อช่วยจุดมุ่งหมายที่วัดอุณหภูมิ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสหรือปืนอุณหภูมิที่สามารถวัดอุณหภูมิจากระยะไกล

    โดยจะทราบปริมาณของพลังงานอินฟราเรดที่ปล่อยออกมาจากวัตถุ เป็นต้น

     

  • การเลือกใช้งานกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera)

    การเลือกใช้งานกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera


        กล้องถ่ายภาพความร้อน(Thermal Imaging Camera) กำลังกลายเป็นเครื่องมือในการใช้ตรวจสอบในอุตสาหกรรม ตรวจสอบอาคาร ซึ่งถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบว่ามีประสิทธิภาพตรงกับสเปคหรือไม่ 
    ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในการใช้ตรวจวัดความร้อนในพื้นที่ที่ ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือในพื้นที่ที่มีอันตรายในการเข้าเพื่อตรวจวัด  มีทั้งแบบที่เหมาะกับงานในบ้าน ในอาคาร งานอุตสาหกรรม แสดงผลได้รวดเร็ว สามารถเก็บภาพได้  ใช้ในการตรวจสอบงานทางด้านต่างๆ เช่น ความร้อนสะสมในมอเตอร์ , หาตำแหน่งอากาศรั่วไหล, 
    ตรวจสอบการออกแบบโครงสร้างและหาตำแหน่งที่มีความชื้นซึมออกมา วงจรไฟฟ้าที่โอเวอร์โหลด 
    ยังมีการใช้งานนอกเหนือจากนี้อีกซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ของผู้ใช้ โดยทั่วไปในปัจจุบันได้นำมาใช้ในการเพื่อหาสภาพต่างๆ 
    เพื่อที่จะบันทึกรูปภาพหรือวีดีโอในการทำรีพอร์ทรายงานได้


       
    การเลือกใช้งาน 
    1.    ควรทราบอุณหภูมิ ณ ตำแหน่งที่ต้องการการใช้งานเพราะกล้องถ่ายภาพความร้อนจะมีช่วงการวัดที่แตกต่างกัน 2 ช่วงหลักๆ 
        เช่น ช่วง -20~300 °C (องศาเซลเซียส) / ช่วง -50~650 °C (องศาเซลเซียส) 
    2.    เฉดสีในการใช้งาน ที่เหมาะกับงาน  
        • สีรุ้ง   งานทางด้านไฟฟ้า ,  มอเตอร์
        • สีแดงเหล็ก งานทางด้านวัสดุพื้นผิวเช่นงานตรวจสอบบ้าน /  ผนัง / รั่วซึม / งานเหล็ก
        • สีเย็น  งานทางด้านความเย็น ช่องหรือท่อหลุมอากาศ
        • สีดำและสีขาว หรือสีขาวและสีดำ งานหาความแตกต่างของสีในกรณีที่สีมีความเท่าเทียมกัน
    3.    ความคมชัดของภาพกับการใช้งาน ถ้าเป็นงานทางด้านไฟฟ้าจะเน้นความละเอียด ตั้งแต่ 220x160 pixel ขึ้นไปเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆได้ตรงจุด 
    รวมถึงฟังก์ชั่นการใช้งานของ Spot จุดเล้งของภาพ  MAX / MIN ที่จะในการวิเคราะห์ภาพได้
    4.    ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานกล้องถ่ายภาพความร้อน(Thermal Imaging Camera
        • ระยะห่างระหว่างผู้ส่องกับอุปกรณ์
        • สภาพพื้นที่ที่ต้องเข้าตรวจสอบ
        • สภาพมลภาวะของพื้นที่
        • สภาพอากาศขณะตรวจสอบ
        • แสดงสว่างบริเวณที่ตรวสอบ

     



    ขอแนะนำกล้องถ่ายภาพความร้อน Thermal Imaging Camera
    Thermal cameraราคาถูก  มี Brand FLUKE , FLIR , CEM, PONPE 

     

                                             สินค้ารุ่น PONPE 190                                                                                                                                      สินค้ารุ่น PONPE 191

  • โปรโมชั่น Thermometer, pH/EC Meter ราคาพิเศษ!!!

    JEDTO 501

     

    กล้องถ่ายภาพความร้อน

  • โปรโมชั่นประจำเดือนกุมภาพันธ์

    Thermal Imaging Camera
         
    DT-9868
         
    FLIR TG165
         
    DT-980
         
    ปนเป Facebook   LINE ID
         
    www.ponpe.com   0-2531-6293
     

     

Contact Us