0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

หัววัด

  • ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมในการวัดความสั่นสะเทือนที่อาจเกิดขึ้น

     

    ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมในการวัดความสั่นสะเทือนที่อาจเกิดขึ้น

     

                       ในการ วัดความสั่นสะเทือน บางครั้งในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานแต่ละแห่งก็จะมีสิ่งแวดล้อมต่างกันออกไปซึ่งสิ่งแวดล้อมอาจจะส่งผลกระทบต่อการวัดได้

         ดังนั้นควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ เช่น

      1. ความโค้งของผิวสัมผัส ก่อนที่เราจะวัดเราควรสำรวจจุดที่เราจะวัดว่ามีความโค้ง หรือ ไม่ถ้าไปวัดจุดที่มีความโค้งของผิวสัมผัสจะทำให้หน้าสัมผัสของหัววัดนั้น

        สัมผัสกับจุดวัดไม่เต็ม และ จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงผิวสัมผัสที่มีความโค้ง และ ไม่เรียบ

      2. ความเปียกชื้น ควรหลีกเลี่ยงจุดที่เปียกซึ่งความชื้นหรือ น้ำจะเข้าไปรบกวนหัววัดช่วงข้อต่อ ระหว่างสายเคเบิล กับ หัววัด

      3. เครื่องวัดอุณหภูมิ โดยทั่วไปเครื่องจักรมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ซึ่งอุณหภูมิจะมีผลต่อการขยายตัวของผลึก Piezoelectric ที่อยู่ภายในหัววัด

      ดังนั้น การเลือกใช้หัววัดแต่ละชนิดต้องคำนึงถึงขอบเขตของอุณหภูมิด้วย

     4. สายเคเบิล ในการใช้งานแต่ละครั้งสายเคเบิลหรือสายนำสัญญาณควรจัดให้เป็นระเบียบไม่ควรปล่อยให้สายแกว่งไปแกว่งมา และ อย่านำสิ่งของใดๆๆมากดทับสาย

     5. การดูแลรักษา หัววัด การสั่นสะเทือน นั้นจำเป็นจะต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน และ ควรมีการเก็บรักษาไว้อย่างดี ห้ามใช้งานในบริเวณที่มีความร้อนสูง

    ในขณะที่กำลังวัดจะต้องไม่ตกหล่น ไม่ควรเคาะหรือกระแทก เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้          

     

     

  • พีเอชอิเล็คโทรดกับการจัดเก็บและการบำรุงรักษา

     pH-electrode

    พีเอชอิเล็คโทรดกับการจัดเก็บและการบำรุงรักษา

    เพื่อทำให้แน่ใจว่า โพรบ มีการตอบสนองที่รวดเร็วและของเหลวที่อยู่ในตัวโพรบซึ่งเป็นองค์ประกอบในการวัดค่าพีเอชไม่เกิดการแห้ง คำแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้โพรบพีเอช อิเล็คโทรด มีการวัดค่าและการตอบสนองที่รวดเร็วและยังช่วยให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

     

    MA901

     

    การจัดเก็บพีเอช อิเล็คโทรด ในการใช้งานประจำ

    หัววัดหรือ อิเล็คโทรด เมื่อใช้งานเรียบร้อยแล้วควรถูกเก็บไว้โดยการแช่ในน้ำยาการจัดเก็บหรือ น้ำยารักษาหัววัด (MA9015) ถ้าไม่มีน้ำยารักษาหัววัดสำหรับใช้งาน สามารถใช้ น้ำยามาตรฐาน ค่า pH 4 หรือ pH7.01 ก็ได้ ในการจัดเก็บหัววัดห้ามให้น้ำยาการจัดเก็บหรือ น้ำยารักษาหัววัด (MA9015) ละเหยหรือหมดไปเด็ดขาด

     

     

     

     

    pH-electrode

     

    การบำรุงรักษาพีเอช อิเล็คโทรด

    ทำความสะอาดพีเอช อิเล็คโทรด หลังจากการใช้งานจะช่วยยืดอายุการใช้งานของ อิเล็คโทรด เพื่อลดต้นทุนในการซื้อใหม่

     

     

     

     

     

    MA9015

     

    การทำความสะอาดพีเอช อิเล็คโทรด เป็นประจำ

    ในการทำความสะอาด อิเล็คโทรด ควรแช่หัวพีเอช อิเล็คโทรด ในน้ำยาทำความสะอาด MA9016 ประมาณครึ่งชั่วโมง ตามด้วยการแช่ไว้ในน้ำยาการจัดเก็บหรือน้ำยารักษาหัววัด (MA9015) อย่างน้อยสองชั่วโมง

     

  • วิธีทำความสะอาดหัววัด ph controller

    วิธีทำความสะอาดหัววัด ph controller

     

    วิธีทำความสะอาดหัววัด ph controller

     

    ลักษณะหัววัดที่ไม่ได้ทำความสะอาด

     

    หัววัดที่ไม่ได้ทำความสะอาด

     

    วิธีการบำรุงรักษาหัววัดควรทำเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งานของหัววัด การทำความสะอาดทำได้โดยการนำหัววัดมาล้างด้วย

    น้ำสะอาด หรือถ้าหัววัดมีความสกปรกมากให้ใช้น้ำยาล้างจานเจือจางกับน้ำสะอาด โดยทำการแกว่งหัววัดในน้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างจานที่เจือจางแล้ว

     

    ลักษณะวิธีการแกว่งหัววัดในน้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างจานที่เจือจาง

     

    วิธีการแกว่งหัววัดในน้ำสะอาด

     

    ควรตรวจเช็คหัวโพรบ PH อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 

    ในส่วนของการปรับเทียบกับค่า PH มาตารฐานควรทำท 1-2 ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นการตรวจเช็คหัววัด ว่ายังสามารถใช้ได้อยู่หรือไม่ แล้วยังช่วยเช็คค่า

    ความถูกต้องและความแม่นยำในการวัดอีกด้วย ควรใช้น้ำยา PH มาตารฐานที่ค่า 4,7,10 ในการปรับเทียบ

     

  • วิธีเปลี่ยนหัว เมมเบรน และเติมสารละลาย อิเล็คโตไลด์ ของตัวเครื่อง DO600

    วิธีการเปลี่ยน หัวเมมเบรนของเครื่อง DO600  EXTECH  ถ้าทำการเปลี่ยนแบบผิดวิธีก็จะทำให้ หัววัด DO นั้นหักและเสียหายได้

    ขั้นตอนการเปลี่ยนหัวเมมเบรน

    1.ทำการจับ หัววัด ด้านบนให้แน่นและทำการจับปลายหัวเมมเบรน จากนั้นทำการหมุนไปทางซ้ายมือ 

    ควรค่อยๆหมุน 

    2.เมื่อเราหมุนออกมาแล้วให้ทำการเติมสารละลาย DO 600 EL หรือ DO อิเล็คโตไลด์ ลงไป 

    3.เมื่อเติมสารละลาย DO600 EL จากนั้น ทำการใส่ เมมเบรน กับไปเหมือนเดิม 

    วิธีการใส่ให้ หมุนไปทางขวามือ โดยการหมุนสังเกตว่าอย่าให้เกียวนั้นปีนกัน และ ก็หมุนให้แน่น

     

  • วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Testo 925 ไม่สามารถเสียบ Probe ได้

    วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Testo 925 ไม่สามารถเสียบ Probe แบบ Type K ได้

     

    วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Testo 925 ไม่สามารถเสียบ Probe แบบ Type K ได้

     

    -ในกรณีที่ไม่สามารถเสียบ Probe แบบ Type K เครื่อง Testo 925 ได้ ให้เราสังเกตว่าเสียบถูกขั่วหรือไม่

    ขั่วลบจะมีขนาดใหญ่ กว่าขั่วบวก 

    -ในกรณีที่เราซื้อ Probe แบบ Type K ไปแล้วเห็นว่า Probe อันเก่าเรานั้นมีลอยหยัก ตรงขั่วลบ แต่ซื้ออันใหม่มากับไม่มีลอยหยักตรงขั่วลบ

    สังเกตว่าเสียบถูกขั่วหรือไม่

    -ในกรณีที่ซื้อ Probe แบบ Type K มาแล้ว Probe ของใหม่นั้นไม่สามารถใส่กับตัวเครื่องได้ (ดังแสดงในรูปด้านล่าง)..ถ้าในกรณีนี้ ให้เราดูขั่วให้ตรง แล้วดันลงไปให้สุด 

    -เพราะว่า Probe Type K อาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบในการผลิต 

    -ถ้าสังเกตเห็นว่า Probe Type K อันเก่ามีลอยหยัก ตรงขาลบแต่อันใหม่ไม่มี ดังนั้นเราไม่ต้องไปคำนึงถึงลอยหยัก ให้เราดูขั่วให้ตรงกันและสังเกตุสัญญาลักษณ์ Type K ที่ โพรบ

    -หรือถ้าไม่มั่นใจ ก็ติดต่อสอบถามทางตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ผลิต

    ดูขั่วให้ตรง แล้วดันลงไปให้สุด

    -เมื่อดันเขาไปจนสุดแล้วโพรบสามารถใช้งานได้

    ดันเขาไปจนสุด

    -สังเกตสัญญาลักษณ์ของ Probe Type K บนตัว Probeก็ได้

    สังเกตสัญญาลักษณ์บนตัว Probe
  • วิธีแก้ไขในกรณีที่ Probe DO ไม่สามารถวัดค่าได้

    จุดที่ต้องทำความสะอาด Probe DO ในกรณีที่ไม่สามารถวัดค่าได้

     

    จุดที่ต้องทำความสะอาด Probe DO ในกรณีที่ไม่สามารถวัดค่าได้

     

    วิธีแก้ไขเบื้องต้นในกรณีที่ไม่สามารถวัดค่า Do ได้

    อันดับแรกให้ตรวจเช็คที่ Probe ก่อน สาเหตุอาจมาจาก

    1.Probe Do มีความสกปรก

    2.น้ำยา electrolyte แห้ง

    3.หัว Membrane ขาด

     

    ในกรณีที่โพรบสกปรก เราสามารถทำความสะอาด Probe ได้ โดยจุดที่ต้องทำความสะอาดจะมีสองจุด

    เราจะต้องใช้กระดาษทรายในการขัดทำความสะอาด (กระดาษทรายจะแถมมาให้ในชุด)

    1.จุดที่เป็นเหมือนสะปริง เพราะถ้าใช้ไปนานๆจะทำให้เกิดคราบสกปรกเกาะบริเวณ สะปริงได้ถ้ามีคราบสกปรกให้ใช้กระดาษทรายขัดออก 

     

    จุดที่เป็นเหมือนสะปริง

     

    2.จุดที่สองสังเกตุตรงที่หัวเป็นทองแดง ว่ามีความสกปรกหรือไม่ ถ้ามีให้ทำความสะอาดหรือใช้กระดาษทรายขัดเบาๆระวังอย่าให้ทองแดงหลุด  

     

    หัวที่เป็นทองแดง

     

    เมื่อทำความสะอาดทั้งสองจุดนี้แล้วจากนั้นก็ทำการ คาริเบทเฟสแอร์ หลังจากคาริเบทเฟสแอร์แล้วค่าจะอยู่ประมาณ 6-9 mg/l

     

    คาริเบทเฟสแอร์

     

Contact Us