0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม

  • การเลือกใช้เครื่องมือวัด

    คู่มือเลือกใช้เครื่องมือวัด (ฉบับกระเป๋า)

    ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามี เครื่องมือวัด สำหรับการทำงานประเภทต่างๆมากมาย และแน่นอนว่าเครื่องมือวัดเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้ใช้ในการทำงานที่หลากหลาย การเลือกเครื่องมือวัดให้เหมาะสมกับการใช้งานถือเป็นสิ่งที่จำเป็น และในบทความนี้เราจะมาชี้ให้เห็นว่า มีอะไรบ้างที่เราควรจะนำมาเป็นส่วนพิจารณาในการเลือกเครื่องมือวัด เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การเลือกเครื่องมือวัดตามประเภทของงาน

    อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า การเลือกเครื่องมือวัดให้เหมาะสมกับประเภทของงานเป็นเรื่องที่จำเป็น และควรที่จะนำมาพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ เพราะคงไม่ดีแน่ หากเราเลือกใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้กับงานประเภทนั้นๆโดยตรง นอกจากจะทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาไม่แม่นยำแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาวอีกด้วย

    การเลือกเครื่องมือวัดตามขนาด

    คงจะไม่ดีนักหากนำเอาเครื่องมือวัดที่มีขนาด และช่วงของการวัดน้อยๆ มาใช้งานในโรงงานขนาดใหญ่ อันที่จริง เครื่องมือ เหล่านี้สามารถใช้งานได้เช่นกัน แต่คุณจะต้องเสียเวลามากขึ้นในการหาค่าของสิ่งที่ต้องการ และคงไม่เข้าท่าเช่นกัน หากเลือกเครื่องมือวัดที่มีขนาดใหญ่ มีความละเอียดน้อยมาใช้วัดสิ่งของที่มีขนาดเล็ก และต้องการผลลัพธ์ที่ละเอียด

    การเลือกเครื่องมือวัดตามคุณภาพ

    นอกจากราคาแล้วคุณภาพของเครื่องมือวัดเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง เพราะจริงอยู่ว่าเครื่องวัดที่มีคุณภาพไม่ดีเท่าไหร่นัก อาจจะสามารถใช้งานได้ไม่ต่างกัน แถมประหยัดกว่ามาก แต่หากมองในระยะยาวเราจะพบว่า ค่าเสื่อมสภาพ และค่าซ่อมบำรุงที่เราต้องจ่าย เพื่อการดูแลรักษาเครื่องมือเหล่านี้นั้นไม่น้อยเลย

    ที่สำคัญของการเลือกซื้อเครื่องมือวัดคือ การเลือกเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพมาใช้จะช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมของคุณดูเป็นโรงงานที่ได้มาตรฐาน ช่วยให้ภาพลักษณ์ของโรงงานดูดีขึ้นมาก อีกทั้งยังมั่นใจได้มากกว่าว่า การเลือก เครื่องมือวัด ที่ได้มาตรฐานจากร้านที่มีคุณภาพ คุณจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีเมื่อมีปัญหาในการใช้งานเครื่องมือวัดเหล่านี้

     

  • การใช้งานเครื่องผลิตน้ำ DI (Deionized Water)

    Master-Q15

    การเลือกใช้งาน เครื่องผลิตน้ำ DI (Deionized Water)


        Deionized Water System เครื่องผลิตน้ำปราศจากไอออน น้ำกลั่น น้ำดีไอ (DI) 

    การปฏิบัติการทางห้องแลป มีความจำเป็นในการใช้งานน้ำ DI และน้ำกลั่น เพื่อใช้ในขบวนการไตรเตรทหรือการผสมสารเคมี เพราะโมเลกุลของน้ำมีความบริสุทธิ์ ไม่มีสารใดๆหลงเหลืออยู่ในน้ำอีก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า น้ำ ดีมีน  ไม่เหมาะสำหรับการดื่ม แต่มีประโยชน์อย่างมากในการทำยา เภสัชกรรม เครื่องสำอาง กระบวนการผลิตอาหาร อุตสาหกรรม เป็นต้น

    กระบวนการทำนํ้า DI (Deionized Water)

    เครื่องผลิตน้ำDI

     ระบบน้ำ DI คืออะไร (Deionized Water)
        ในการผลิตเริ่มต้น  ต้นน้ำเข้าจะเป็นน้ำที่ผ่านมาจากเครื่องกรองน้ำเข้าสู่ไส้กรอง PP(1) เพื่อดักตะกอนหรือฝุ่นผงที่มากับน้ำแต่ยังไม่สามารถกำจัดแร่ธาตุในน้ำและเกลือได้ต้องไปสู่กรองคาร์บอน(2) เพื่อกำจัดแบคทีเรียและสีของน้ำนำไปสู่ขั้นตอนกรองเรซิ่น เพื่อกำจัดสารแขวนลอยในน้ำได้ 95 %  ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำน้ำ RO  ที่เป็นแผ่นเยื่อ Reverse Osmosis  กำจัดแร่ธาตุโลหะหนัก  (TDS) ในน้ำและเดรนทิ้ง  ก่อนส่วนที่กำจัดแล้วจะเข้าถังเก็บน้ำ ในส่วนนี้น้ำจะยังไม่บริสุทธิ์ 100%  จะต้องผ่าน POST CARBON เพื่อกำจัดไอออนในน้ำที่ประจุ +/- ในน้ำและกลิ่นจนได้น้ำ DI  ใช้งาน ค่า conductivity ของน้ำ DI 
    ประมาณ 1.0 μS/cm และมีค่าความต้านทานไฟฟ้า Resistivity ประมาณ 1.0 ΜΩ

    การติดตั้งระบบน้ำDI(Deionized Water)

      Deionized Water



    เครื่องผลิตน้ำ DI รุ่น MASTER-Q15/30  
    ขนาดกำลังผลิตน้ำ DI  Q15 15ลิตร/ชั่วโมง  - Q30 30ลิตร/ชั่วโมง  

    Master-Q30

  • ความหมายและคำจำกัดความของเครื่องมือวัด

    ความหมายและคำจำกัดความของเครื่องมือวัด

    ในการเลือกใช้เครื่องเครื่องมือวัดแต่ละชนิดเรามักจะเจอกับคำจำกัดความสำหรับเรียกใช้งานซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะทาง เช่น การดูสเปคของตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ใช้คู่กับตัวเครื่อง

    -Measuring Range หรือ ช่วงการวัด คือ ค่าที่บอกถึงความสามารถของเซนเซอร์และสถานะของตัวเครื่องว่าสามารถวัดได้หรืออ่านค่าได้เท่าไร  เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ ช่วงการวัดอยู่ที่ -10 ถึง 250 º C  

    -Resolution หรือ ค่าความละเอียด คือ เครื่องมือวัดแต่ละเครื่องจะระบุค่าความละเอียดของตัวเครื่องว่าเท่าไร  เช่น 0.1 º C   

    -Accuracy หรือ ค่าความถูกต้อง คือ ค่าที่บอกความสามารถของตัวเครื่องและเซนเซอร์ว่าสามารถอ่านค่าที่ได้เบี่ยงเบนไปจากค่าที่แท้จริงมากหรือน้อย เช่น ± 5% of Reading 

    - Response Time (ความไวต่อการตอบสนอง) คือ ช่วงเวลาที่เซนเซอร์ใช้ในการตอบสนองในการวัด ซึ่งจะมีหน่วยเป็น วินาที 

    - Sensors (เซนเซอร์) คือ อุปกรณ์ที่ใช้วัดตรวจจับสัญญาณ เช่น ความชื้น อุณหภูมิ แสงและ เสียง  

    ในส่วนที่ยกตัวอย่างมาเป็นการยกตัวอย่างเบื้องต้นสำหรับคำศัพท์ที่พบบ่อยในการเลือกซื้อเครื่องมือวัด

     

  • หลักของการเลือกซื้อเครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรม

    หลักของการเลือกซื้อเครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรม

    โดยทั่วไปในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือการตรวจสอบชิ้นงานในกระบวนการผลิตตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีคุณภาพ
    เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อช่วยในการตรวจสอบคุณภาพของงานนั้นๆไม่ให้เกิดการความผิดพลาดจนทำให้เกิดเกิดความเสียหายต่อองค์กรได้  
    ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลักหลักของการเลือกซื้อเครื่องมือวัด สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
      มีดังนี้

    1.ลักษณะของงานที่ต้องการวัด คือ การระบุเฉพาะตัวงานที่ต้องการนำเครื่องมือวัดไปใช้งาน เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการและค่าที่ต้องการเพื่อนำค่าที่ได้จากการตรวจสอบงานนั้นๆมาวิเคราะห์และปรับปรุงหรือรักษาคุณภาพของงานไม่ให้เกิดความเสียหาย 

    2.ความสะดวกในการใช้งาน คือ เครื่องมือวัดที่ดีควรที่จะสามารถใช้งานได้ในลักษณะที่หลากหลายกล่าว คือ ต้องสามารถพกพาได้สะดวกเมื่อต้องการในตัวเครื่องออกไปวัดในภาคสนาม หรือมีฟังก์ชั่นที่สามารถรองรับการวัดค่าได้หลายพารามิเตอร์ที่สำคัญควรเป็นเครื่องมือที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมเช่น ทนต่อการกระแทกในระดับหนึ่งหรือทนต่อละอองน้ำหรือใช้งานในที่ที่มีความชื้นได้

    3.ช่วงการวัด ความละเอียดและค่าความแม่นยำในการวัด คือ ควรเลือกช่วงของการวัดให้สามารถครอบคลุมเกี่ยวกับงานที่ต้องการวัดและเลือกความละเอียดให้เหมาะสมในการอ่านค่าที่สำคัญที่สุดคือความแม่นยำในการวัดเพราะจะเป็นตัวบอกถึงความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับค่าที่วัดได้จากตัวเครื่องมือวัด ซึ่งผู้ใช้ควรจะนำมาพิจารณาในการใช้งานด้วยเพื่อให้ได้ค่าในการวัดที่ใกล้เคียงกับค่าจริงมากที่สุด เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป

    4.มาตรฐานการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยและราคาตัวเครื่อง คือ มาตรฐานที่รับรองคุณภาพจากประเทศต่างๆ ก็มีความหมายถึงการผ่านการทดสอบในเครื่องวัดที่เป็นที่ยอมรับของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในคุณภาพของเครื่องมือวัดมากยิ่งขึ้นและปัจจัยอีกอย่างที่ควรนำมาพิจารณา คือ เรื่องของราคาตัวเครื่องกล่าว คือ ไม่ควรซื้อเครื่องที่มีราคาแพงเกินความจำเป็นเพราะส่วนใหญ่แล้วเครื่องที่มีราคาสูงมักจะมีฟังก์ชั่นเสริมมากมาย ควรเลือกตัวเครื่องที่มีฟังก์ชั่นพอดีและให้ครอบคลุมกับงานเรามากกว่า

     

    อย่างไรก็ดีการเลือกใช้ เครื่องมือวัด รุ่นใด ยี่ห้อใด นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับ และบริการหลังการขายด้วย

     

     

  • เครื่องมือวัด ลด 50% จำนวนจำกัด ถึง 31 สิงหาคม นี้เท่านั้น

     

     

Contact Us