0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

เครื่องวัด pH

  • การดูแลรักษาหัววัด pH / ORP

    PH / ORP Electrode : maintenance

    การดูแลรักษาหัววัด pH และ หัววัด ORP (pH and ORP Electrode)

    เครื่องวัดค่า pH

    การเก็บรักษา pH electrode

    .

  • การเลือกใช้เครื่องวัด PH ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้

    จะเลือกเครื่องวัด PH อย่างไรดี ???

    ในปัจจุบันการตรวจวัดค่า PH มีประโยชน์มากมายในด้านการสร้างและควบคุมผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น งานด้านอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง จนรวมไปถึงวงการทางแพทย์ การเกษตร  และมีความจำเป็นอย่างมากในงานด้านอุตสาหกรรม งานควบคุมคุณภาพ ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด... เครื่องวัด PH มีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นหลายยี่ห้อ มีให้เลือกทั้ง แบบปากกา แบบพกพา แบบตั้งโต๊ะ และแบบติดตั้ง... มีให้เลือกมากมายแล้วจะเลือกอย่างไรดี??? 

    การเลือกใช้เครื่องวัด PH สิ่งสำคัญที่ควรคำนึง คือ เลือกให้ตรงตามคุณสมบัติที่ใช้งาน และเหมาะสมกับงานที่ใช้

     

    เครื่องวัด PH แบบปากกา

     ปากกาวัด PH จะมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก เหมาะสำหรับพกพาไปนอกสถานที่ และเหมาะใช้งานกับการเก็บตัวอย่างมาวัด

    เครื่องวัด PH แบบปากกา ปากกาวัด PH จะมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก เหมาะสำหรับพกพาไปนอกสถานที่ และเหมาะใช้งานกับการเก็บตัวอย่างมาวัด เช่น  วัดน้ำตัวอย่างที่อยู่ในบีกเกอร์  วัดในน้ำดื่ม วัดในสระว่ายน้ำ ซึ่งแบบปากกาจะมีราคาตั้งแต่หลักร้อย ถึงหลักพัน ความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของตัวเครื่อง และฟังชั่นการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นฟังชั่น ATC (Automatic Temperature Compensation) การชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ ที่ดูแลผลกระทบของอุณหภูมิในระบบ PH โดยอัตโนมัติ หรือจะเป็นการเปลี่ยนเซนเซอร์ได้ในกรณีที่หัววัดเสีย โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่

    เครื่องวัด PH แบบพกพา

    ประกอบไปด้วยสายโพรบวัด ซึ่ง 2 ส่วนนี้จะแยกกัน โดยแบบพกพาจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบปากกา แต่รูปแบบนี้ก็ยังคงเหมาะแก่การพกพา ให้ผลการวัดที่รวดเร็ว  มีความแม่นยำสูง

    เครื่องวัด PH แบบพกพา ตัวเครื่องจะประกอบไปด้วยสายโพรบวัด ซึ่ง 2 ส่วนนี้จะแยกกัน โดยแบบพกพาจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบปากกา แต่รูปแบบนี้ก็ยังคงเหมาะแก่การพกพา การใช้ในงาน outdoor ออกภาคสนาม ให้ผลการวัดที่รวดเร็ว  มีความแม่นยำสูง โดยลักษณะงานที่ใช้จะประกอบไปด้วย งานอุตสาหกรรมต่างๆ  วัดในบ่อเลี้ยงปลา วัดในการเกษตร และวัดในงานที่เราไม่สามารถเก็บตัวอย่างมาวัดได้ แบบพกพาจะสะดวกโดยการที่นำสายโพรบหย่อนวัด และอ่านค่าจากตัวเครื่องได้เลย 

    เครื่องวัด PH แบบตั้งโต๊ะ

    ตัวเครื่องที่เป็นแบบตั้งโต๊ะ ประเภทนี้จึงเหมาะใช้งานในห้องปฏิบัติการ หรือห้องทดลอง โดยตัวเครื่องจะมีฟังชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อเชื่อมต่อดูข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์

    เครื่องวัด PH แบบตั้งโต๊ะ ด้วยลักษณะของตัวเครื่องที่เป็นแบบตั้งโต๊ะ ประเภทนี้จึงเหมาะใช้งานในห้องปฏิบัติการ หรือห้องทดลอง โดยตัวเครื่องจะมีฟังชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อเชื่อมต่อดูข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์ ฟังชั่น ATC  ฟังชั่น hold เครื่องวัด PH แบบตั้งโต๊ะจะมีความแม่นยำสูง เพราะส่วนใหญ่จะใช้ในงานวิจัย งานควบคุมคุณภาพ  งานอุตสาหกรรมที่มีการเก็บตัวอย่างมาทดลองในห้อง lab 

     

    เครื่องวัด PH แบบติดตั้ง

    จะแตกต่างกับ PH METER ตัวอื่น นอกจากจะเน้นวัดและแสดงผลแล้ว ตัวเครื่องยังสามารถตั้งค่าระดับสูง-ต่ำ และมี Output แจ้งเตือนเพื่อส่งสัญญาณและสั่งการทำงานปั๊มให้ดูดจ่ายของเหลวหรือเคมีเพื่อควบคุมระดับค่า PH 

    PH Controller หรือ เครื่องวัด PH แบบติดตั้ง จะแตกต่างกับ PH METER ตัวอื่น นอกจากจะเน้นวัดและแสดงผลแล้ว ตัวเครื่องยังสามารถตั้งค่าระดับสูง-ต่ำ และมี Output แจ้งเตือนเพื่อส่งสัญญาณและสั่งการทำงานปั๊มให้ดูดจ่ายของเหลวหรือเคมีเพื่อควบคุมระดับค่า PH ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ซึ่งจะเหมาะใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสีย โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆที่ต้องการควบคุมค่า PH  รวมไปถึงงานทางด้านการเกษตรไม่ว่าจะเป็น ใช้งานในฟาร์ม แหล่งเพาะพันธ์ปลา หรืออื่น ๆ

     

     ***การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration) ***

      เพื่อให้การวัดมีความแม่นยำจะต้องทำการปรับเทียบค่า pH ก่อนใช้งานตัวเครื่อง โดยจะใช้สารละลายบัฟเฟอร์ที่แตกต่างกันด้วยค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในการปรับเทียบเครื่อง ประกอบไปด้วย pH 7.00 pH 4.01 pH 10.00

              ***การดูแลรักษาเครื่องวัด PH***

      หลังจากใช้งานเสร็จควรแกว่งล้างด้วยน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด หลังจากนั้นควรเก็บปลายอิเล็คโทรดโดยการเติมสารละลาย KCL ลงในฝาก่อนปิด และการเก็บอิเล็คโทรดห้ามเก็บแห้ง เพื่อยืดอายุการใช้งาน

  • การใช้ pH meter วัดค่า pH ของดิน

    MW101 Milwaukee

     

    การใช้ pH meter วัดค่า pH ของดิน

     

    การใช้เครื่องมือวัดค่า pH แบบพกพารุ่น MW101 pH  กับ MA918B / 1 Electrode วัดค่า pH ในดิน

    ค่าความเป็นกรดเป็นตัวชี้วัดการทำงานของไฮโดรเจนไอออน (H +)  ในการแก้ปัญหาเรื่องดิน ถ้าความเข้มข้นของ H + สูงดินจะมีความเป็นด่างถ้ามันอยู่ในระดับต่ำก็จะมีความเป็นกรด ดินที่ทำเกษตรที่พบจะอยู่ระหว่างช่วงของ 4-10 (เมื่อวัดในน้ำ) เพื่อวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติ ดินจะเป็นกลางเมื่อค่า pH คือ ระหว่างวันที่ 6 ถึง 8  ขึ้นอยู่กับความต้องการของพืชและมันมีสภาพเป็นกรดเมื่อค่า pH น้อยกว่า 6 และมันจะเป็นด่างเมื่อมีค่ามากกว่า 8

     วัดค่า pH ดิน

    1.การเก็บตัวอย่างของดินใช้ตัวอย่างจากพื้นที่ที่เป็นเนื้อเดียวกันต่อ1000m2 ในสถานเดียว ขอแนะนำให้ใช้อย่างน้อยสองตัวอย่าง  อย่าเอาตัวอย่างจากดินที่เห็นได้ชัดว่ามีความผิดปกติ ควรให้ปริมาณของดินทั้งสองตัวอย่างเท่ากันจุดของการสุ่มตัวอย่าง:ทั่วไป: ใช้บนพื้น 5 ซม พืช: จากความลึก 20-40 ซม ผลไม้: จากความลึก 20-60 ซม ตากหรืออบให้แห้งที่อุณหภูมิประมาณ 40°C

     

     

     

     

    2. การคัดกรองตัวอย่างควรเลือกตัวอย่างที่เป็นเนื้อเดียวกัน ห้ามมีหินหรือซากสัตว์ปนอยู่ ตัวอย่างจากส่วน นี้จะใช้ในการวัด

     

     

     

      3.ร่อนดินผ่านตะแกรงร่อน 2 มิลลิเมตร 

     

               

     

    Soil pH meter

     

     4.น้ำหนักของดิน 1 หน่วย (100 กรัม)และใส่น้ำ 2 หน่วย (200 กรัม 2 DL) 

     

     

     

     

    5.กวนให้เข้ากัน 30 วินาที จากนั้นรอประมาณ 5นาที

     

     

     

     

    6.จากนั้นทำการวัดค่า pH เพื่อแก้ปัญหาค่าความเป็นกรด-ด่าง

        

  • โปรโมชั่น Thermometer, pH/EC Meter ราคาพิเศษ!!!

    JEDTO 501

     

    กล้องถ่ายภาพความร้อน

Contact Us