0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

เครื่องวัดความสั่น

  • จุดการวัดความสั่นสะเทือนที่ถูกต้อง

     

    จุดการวัดความสั่นสะเทือนที่ถูกต้อง

    โดยทั่วไปการที่จะใช้ เครื่องวัดความสั่นสะเทือน ต้องพิจารณาจุดการ วัดความสั่นสะเทือน ด้วยอันดับต่อไปเลยเราต้องดูก็คือลักษณะโครงสร้างของเครื่องจักร

    ตำแหน่งที่จะวัดนั้นต้องมีความสะดวกในการวัดและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ จุดการ วัดความสั่นสะเทือน vibration meter 

    ควรจะวัดใกล้กับจุดที่สั่นสะเทือนมากที่สุด เช่น แบริ่ง ตลับลูกปืน จุดสัมผัสระหว่างชิ้นส่วน จุดหมุนของชิ้นส่วน แต่ควรหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่เป็นช่องว่าง โพรงอากาศ และ ฝาครอบ

            การที่จะใช้ เครื่องวัดความสั่นสะเทือน  virbration pen นส่วนของทิศทางการวัดจะต้องวัดทั้งหมด 3 ทิศทาง ก็จะมี แนวดิ่งหรือแนว V(Vertical),แนวราบหรือแนว H (Horizontal)

    และแนวแกนเพลาหรือแนวA(Axialเครื่องวัดการสั่นสะเทือนAR63C  แต่ละทิศทางก็จะสามารถบอกปัญหาหรือการสั่นสะเทือนที่รุ่นแรงได้ว่าปัญหาเกิดจากอะไรและจะทำให้แก้ปัญหา

    หรือ แก้ไขได้อย่างตรงจุด

     

     

  • ทิศทางการวัดความสั่่นสะเทือนที่ถูกต้อง

    Vibration

     

    ทิศทางการวัดความสั่่นสะเทือนที่ถูกต้อง

     

    ในการ วัดความสั่นสะเทือน ที่ถูกต้องควรวัดทั้งหมดสามทิศทางคือ

    1.แนวดิ่ง หรือแนว V (Vertical)

    2.แนวราบ หรือแนว H (Horizontal)

    3.แนวแกนเพลา หรือแนว A (Axial) 

     

    ทิศทางการวัดความสั่่นสะเทือน
    ความสั่นสะเทือน

    ทิศทางการวัด ความสั่่นสะเทือน

     

    จุด วัดความสั่นสะเทือน ที่เหมาะสม

    1.จุดที่ใกล้ลูกปืนมากที่สุด

    2.จุดที่ตรงเข้าสู่ศูนย์กลางลูกปืน

    3.จุดที่รับภาระ(Load)มากที่สุด

    4.จุดที่เป็นเนื้อเดียวกันกับ Bearing Housing ถ้ามีฝาครอบ Bearing ควรเจาะเข้าไปวัดให้ใกล้ Bearing ที่สุด

     

    การ วัดความสั่นสะเทือน และวิเคราะห์ตามแนวแกนจะบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

     

    แนวดิ่ง หรือแนว V (Vertical) จะบอกถึงปัญหา

    -การหลุด,หลวม

    -แบริ่ง สึกหรอชำรุด

    -แท่นฐานไม่แข็งแรง

    -ยึดสกรูไม่แน่น

     

    แนวราบ หรือแนว H (Horizontal)

    -Unbalance หรือไม่สมดุล

    -การแกว่งของเพลา

     

    แนวแกนเพลา หรือแนว A (Axial)

    -เพลาไม่ตรงแนวศูนย์

    -เพลาคดงอ

     

  • มาตรฐานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดความสั่นสะเทือน

     

    vibration

     มาตรฐานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดความสั่นสะเทือน

     

              โดยทั่วไปมาตรฐานที่นิยมใช้กันในการ วัดความสั่นสะเทือน ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และใช้เป็นตารางสำหรับการอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบสำหรับ

    การออกแบบและผลิตเครื่องจักร โดยจะใช้การ วัดค่าการสั่นสะเทือน แบบโดยรวม ระหว่าง 10-1000 Hz คือมาตรฐาน ISO 2372-1974 E

     

    vibration-limits-chart

     

    ซึ่งจะแบ่งความรุนแรง(ความสั่นสะเทือน)เป็นสี่ระดับและแบ่งประเภทเครื่องจักรเป็นสี่ประเภทตามขนาดของเครื่องจักร

    ประเภทที่1 หรือ Class I คือเครื่องจักรขนาดเล็ก ขนาด 20 แรงม้า หรือ 15 kW

    ประเภทที่2 หรือ Class II  คือเครื่องจักรขนาดกลาง ขนาด 20-100 แรงม้า หรือ 15-75 kW

    ประเภทที่3 หรือ Class III  คือเครื่องจักรที่ติดตั้งบนแท่นที่รองรับที่ยืดหยุ่นได้ ขนาด 100-400 แรงม้า หรือ 5-300 kW ขึ้นไป

    ประเภทที่4 หรือ Class IIII คือเครื่องจักรขนาดใหญ่มากที่ติดตั้งบนแท่นที่รองรับที่ยืดหยุ่นได้ ขนาด 400 แรงม้า หรือ 300 kW ขึ้นไป

     

Contact Us