0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

เครื่องวัดความเค็ม

  • "Super  Sale"

    "Super  Sale"

    *สินค้ามีจำนวนจำกัด
    *เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทกำหนดฯ 

     

     

  • Training ส่งสินค้า ดูแลลูกค้านอกสถานที่ PONPE 719VC,PAL-1,TESTO 106-T3,SB-1500PRO

    Training ส่งสินค้า ดูแลลูกค้านอกสถานที่ PONPE 719VC,PAL-1,TESTO 106-T3,SB-1500PRO

    สถานที่จัดส่ง บริษัท แวลู ซอร์สซิ่ง จำกัด
    วันที่ 21 ตุลาคม 2565

    👉PONPE 719VC เครื่องวัดความหนืด DIGITAL VISCOMETER https://bit.ly/3CJtWZG
    👉PAL-1 เครื่องวัดความหวาน Brix Refractometer https://bit.ly/2JNoAUp
    👉TESTO 106-T3 เครื่องวัดอุณหภูมิ Thermometer https://bit.ly/3TJOJDn
    👉SB-1500PRO เครื่องวัดความเค็ม Digital Salt Check Meter https://bit.ly/3Dgimqg

    ponpe719vc

     

    เครื่องวัดความหนืด

     

    เครื่องวัดความหนืด

     

    เครื่องวัดความหนืด

     

      

     

  • การ Reset เครื่อง EC500 กรณีเปิดเครื่องแล้วค่าไม่เริ่มที่ 0 uS

    การ Reset เครื่อง EC500 กรณีเปิดเครื่องแล้วค่าไม่เริ่มที่ 0 uS เบื้องต้น

     

    การ Reset เครื่อง EXTECH EC500 กรณีเปิดเครื่องแล้วค่าไม่เริ่มที่ 0 uS เบื้องต้น

     

    1.ปิดเครื่อง EC500 แล้วทำการกดปุ่มทั้ง 3 ปุ่มพร้อมกันEC500

     

    2.เมื่อกดทั้ง 3 ปุ่มแล้วหน้าจอจะขึ้น dFLE รอสักครู่ 

     

    3.รอจนกว่าจะเสร็จ

     

     

    EC500 / EXTECH เครื่องวัดความนำไฟฟ้า, TDS, ความเค็ม, PH และอุณหภูมิ

    วัดได้ 5 แบบในหัววัดเดียวกัน คือ วัดค่า ความนำไฟฟ้า, TDS, ความเค็ม, pH และ อุณหภูมิ ได้

    Conductivity, TDS, Salinity, pH , and Temperature

     

     

     

  • การวัดความเค็มของน้ำ (Measuring Salinity of Water)

    การวัดความเค็มของน้ำ (Measuring Salinity of Water)
    การวัดความเค็มหรือปริมาณเกลือละลายในน้ำมีความสำคัญเนื่องจากสิ่งมีชีวิตในน้ำ ปศุสัตว์ และพืชเจริญเติบโตในระดับความเค็มที่แตกต่างกัน น้ำจืดมีค่าความเค็มน้อยกว่า 0.5 ppt ในขณะที่น้ำทะเลมีค่าความเค็มเฉลี่ย   35 ppt
    ความเค็มคือการวัดปริมาณเกลือที่ละลายในน้ำ โดยปกติจะแสดงเป็นส่วนต่อพัน (ppt) หรือเปอร์เซ็นต์ (%)  
    วิธีวัดความเค็ม
    การวัดความเค็มของดินและน้ำสามารถทำได้โดยการส่งกระแสไฟฟ้าระหว่างอิเล็กโทรดทั้งสองของเครื่องวัด ค่า EC ของตัวอย่างดินหรือน้ำสูงขึ้นเมื่อมีความเข้มข้นและองค์ประกอบของเกลือที่ละลายอยู่ ตารางค่าความเค็มแสดงหน่วยต่างๆ ที่ใช้ในการวัดความเค็มและความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต่างๆ


    title
     

     

    การวัดค่าความเค็มมักใช้ตัวย่อเพื่อระบุตัวอย่างที่ทดสอบและวิธีการวัด วิธีการที่ใช้จะส่งผลต่อความถูกต้องและความมั่นใจในการตีความของผลลัพธ์

    ECw คือความเค็มของน้ำ สามารถวัดได้ในสนามหรือห้องปฏิบัติการ

    EC1:5 เป็นขั้นตอนแรกจากสามขั้นตอนในการประมาณความเค็มของดิน (ECe) กำหนดโดยการผสมดิน 1 ส่วนกับน้ำกลั่นหรือน้ำปราศจากไอออน 5 ส่วน

    ECeคือปริมาณเกลือโดยประมาณในดิน ประมาณโดยการคูณค่า EC1:5 ด้วยปัจจัยที่เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อดินของตัวอย่าง ซึ่งสามารถระบุได้ในภาคสนามหรือในห้องปฏิบัติการ

    ECse คือค่าการนำไฟฟ้าของสารสกัดจากดินอิ่มตัวซึ่งควรดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก National Association of Testing Authorities, Australia (NATA)

    ECa คือค่าการนำไฟฟ้าที่ชัดเจน เป็นการวัดค่าการนำไฟฟ้าจำนวนมากของดินที่ไม่ถูกรบกวนในสนาม วัดด้วยเครื่องมือแม่เหล็กไฟฟ้า (EM38 และ EM31) ในการสำรวจดิน

    เครื่องวัดความเค็มในน้ำทะเล (น้ำกร่อย)
    เครื่องวัดความเค็ม AZ8371 (หรือ Salt Meter) ใช้วัดค่าความเค็มในน้ำทะเล น้ำเลี้ยงปลา น้ำกร่อย เพื่อใช้ในการเพาะปลูกต่างๆ โดยสามารถวัดค่าความเค็มสูงสุดได้ถึง 70 ppt (7%)

     

    title

     

  • การวัดค่าความเค็มในชีส

    title

    การวัดค่าความเค็มในชีส

    โซเดียมเกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหารหลายชนิดและนอกจากนี้ยังมีการเพิ่มในรูปแบบของเกลือ โซเดียมในอาหารเพื่อสุขภาพอีกด้วย  โซเดียมเป็นสารอาหารและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแร่ธาตุอาหาร สำคัญในการดำรงชีวิตซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตเองได้  จึงจะต้องมีการให้บริโภคเกลือโซเดียม  ความต้องการทางสรีรวิทยาของโซเดียมของร่างกายมนุษย์ค่อนข้างต่ำ(ประมาณเท่ากับ 1 ถึง 2 กรัมของเกลือต่อวัน) และมีการพบโดยการรับประทานอาหาร

    MA886เนยแข็งสด มีโซเดียมน้อยมาก (30-60 มก. / 100 กรัม)  ส่วนชีสแข็ง จะมีส่วนผสมของเกลือเพิ่ม มีระดับที่สูงมากของโซเดียม (200-1,600 มิลลิกรัม / 100 กรัม) ค่าโซเดียมจะขึ้นอยู่กับแบรนด์และผู้ผลิตชีส

     

    ขั้นตอนการวัดค่าความเค็ม

     

    step1

    1.บดชีสให้พร้อมละลายในน้ำ 2.เจือจางตัวอย่างด้วยน้ำร้อน 10%อัตราส่วนหลังจากที่ละลายตัวอย่างไขมันจะลอยไปด้านบน  3.ดูดเอาตัวอย่างด้วยหลอดจากชั้นใต้ไขมัน

    step2

    4.ใช้หลอดหยดตัวอย่างลงบนพื้นผิวปริซึมให้เต็ม   5. กดปุ่ม READ เพื่อทำการวัดค่าจากนั้นอ่านค่าที่วัดได้ในจอแสดงผล

     

  • ค่าแอมโมเนีย ไนไตรทและไนเตรด

     ค่าแอมโมเนีย ไนไตรทและไนเตรด

     

     ค่าแอมโมเนีย ไนไตรทและไนเตรด

     

              โดยธรรมชาติจะมีวัฎจักรไนโตรเจนเป็นขบวนการที่เป็นการย่อยสลายแอมโมเนียเป็นไนไตรทและไนเตรด โดยแบคทีเรียที่ชื่อ Nitrosomonas เปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนไตรทและไนเตรด โดยย่อยสลายโดยแบคทีเรียชื่อ Nitrobacter เปลี่ยนเป็น ไนเตรด ในสภาวะที่มีออกซิเจน แอมโมเนียหมายถึง ก๊าชไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของ ionized form (NH4+) หรือในรูป unionized form (NH3) แอมโมเนียรูป NH3  จะเป็นพิษต่อสัตว์ มากกว่า NH4 แอมโมเนียทั้งสองรูปน้ำจะเป็นตัวไหนขึ้นอยู่กับค่า ph คือถ้าน้ำมี ph สูง แอมโมเนียจะเป็น NH3 เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ ถ้าน้ำมีค่า ph ต่ำ แอมโมเนียจะอยู่ในรูป NH4 ซึ่งจะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำต่ำ โดย NH3 จะทำลายการทำงานของเหงือกปลา โดยแอมโมเนียจะซึมผ่านผนังอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮีโมโกลบินของเลือดไม่สามารถรวมกับออกซิเจนที่ละลายในน้ำได้ พิษของแอมโมเนียจะรุนแรงยิ่งขึ้นถ้าอยู่ในสภาวะออกซิเจนต่ำ อุณหภูมิสูง ph สูงและความเค็มของน้ำสูงขึ้น แอมโมเนียในน้ำเกิดจากสิ่งขับถ่ายจากสัตว์น้ำ การย่อยสลายอินทรียวัตถุของแบคทีเรีย ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำไม่ควรเกิน 0.02 ppm ถ้าปริมาณแอมโมเนียในน้ำสูงถึง 1 ppm ปลาจะแสดงอาการโดยขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำ บริเวณลำตัวหรือ ครีบจะเป็นรอยแดงเหงือกเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำและอาจจะมีเลือดออก โดยปลาอาจจะนอนบริเวณพื้นตู้และครีบจะลู่ลงการลดความเป็นพิษของแอมโนเมียสามารถทำได้โดยการลด ph ในน้ำ เปลี่ยนถ่ายน้ำและลดการให้อาหาร

              ไนเตรดซึ่งเป็นผลจากการย่อยสลายแอมโมเนียโดยแบคทีเรียมีความเป็นพิษต่อปลาโดยทั่วไปเมื่อปริมาณแอมโมเนียเพิ่มขึ้นในที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ปริมาณไนเตรดจะเพิ่มขึ้นด้วย และปริมาณไนไตรดในน้ำสูงถึง 1 ppm จะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ  คือ ทำให้เกิดโรค Brown Blood Disease (เลือด สีน้ำตาล) ซึ่งเกิดจากไนไตรดทำให้เกิดสารชนิดที่ไม่จับออกซิเจน (feeric) ในเลือด ทำให้เลือดนำออกซิเจนไปใช้ไม่ได้และทำให้ระบบหายใจผิดปกติ ปลาจะแสดงอาการผิดปกติโดยการขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำ ขยับเหงือกอย่างรวดเร็ว และเหงือกจะเปลี่ยนสีจากปกติเป็น สีน้ำตาลดำ ปลาที่สัมผัสกับไนเตรดระดับต่ำในระยะเวลานานๆ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลงและทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้เช่น โรคอิค โรคครีบเน่าและการติดเชื้อแบคทีเรีย  และถ้าระดับสารเฟอร์ริค(ferric เป็นสารที่ไม่จับออกซิเจน) ในเลือดสูงขึ้นจะส่งผลต่อตับ เหงือกและ เซลส์เลือด ถ้าไม่มีการแก้ไขโดยลดละดับไนไตรดปลาจะตายเพราะขาดออกซิเจน

              การลดความเป็นพิษไนไตรด อาจทำได้โดยการเปลี่ยนน้ำ ใส่เกลือลงในน้ำ ลดการให้อาหารและการเพิ่มอากาศลงไปในน้ำ  ไนเตรดเป็นผลจากการย่อยสลายไนไตรดโดยแบคทีเรีย โดยปกติไนเตรดไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำแต่ถ้าปลาต้องอยู่ในสภาพที่ปริมาณไนเตรดสูงกว่า 50 ppm ในเวลานานๆ จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลให้ปลาบางชนิดเกิดอาการเครียดได้ ซึ่งผลของความเครียดส่งผลให้ปลาเกิดโรคต่างๆ ได้  และทำให้ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง ปริมาณไนเตรดที่สูงจะมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของลูกปลา นอกจากไนเตรดจะมีผลต่อปลาที่เลี้ยงแล้วยังมีผลต่อการเกิดแพลงตอนพืชและตะไคร่น้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำได้ โดยปริมาณไนเตรดเพียง 10 ppm จะมีผลต่อการเกิดแพลงตอนพืชและตะไคร่น้ำ ในธรรมชาติปริมาณในเตรดจะค่อนข้างต่ำคือ ต่ำกว่า 5 ppm ในตู้เลี้ยงปลาน้ำจืดนั้นควรควบคุมไว้ไม่ให้เกิน 25 ppm แต่ถ้าจะใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาควรควบคุมไนเตรดไม่ให้เกิน 10 ppm การที่จะลดปริมาณไนเตรดโดยการย่อยสลายโดยแบคทีเรียเพื่อเปลี่ยนเป็นก๊าชไนโตรเจนนั้น ไม่เหมือนกับการย่อยสลายแอมโมเนียและไนไตรดโดยแบคทีเรียเนื่องจากแบคทีเรียที่จะย่อยสลายไนเตรดเป็นก๊าซไนโตรเจนนั้นเป็นแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนและในสภาพตู้ปลานั้นจะอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนซึ่งไม่สามารถที่จะให้แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนอาศัยอยู่ได้

     

     

     

  • คุณภาพของน้ำกับการปลูกพืช

    คุณภาพของน้ำกับการปลูกพืช

     

    คุณภาพของน้ำกับการปลูกพืช

    น้ำจากแหล่งต่างๆ มีคุณภาพแตกต่างกันไป  นํ้าที่มีคุณภาพดีสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้มาก แตบางพื้นที่ที่หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะตองนํานํ้าคุณภาพตํ่ามาใช้ในการชลประทาน จึงจําเป็นต้องมีการจัดการ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับดินและพืชที่ปลูก ปัจจัยที่เกี่ยวขข้องกับคุณภาพนํ้ามีผลต่อการเกษตร คือ ความเค็ม อัตราการซาบซึมของนํ้า (water infiltration rate) และความเป็นพิษของธาตุบางชนิด (specific ion toxicity)

    ในปัจจุบันได้มีการออกแบบและผลิตเครื่องมือที่สามารถหาค่าหรือวัดค่าความเค็มได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังมีความสะดวกรวดเร็วในการวัดและมีความแม่นยำสุง ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้งานในการทำการเกษตร เช่น การตรวจสอบค่าความเค็มของน้ำก่อนนำไปใช้รดพืชผักหรืองานสวนผลไม้

     อย่างไรก็ดีการเลือกใช้ เครื่องมือวัดค่าความเค็ม(Salinity Meter) รุ่นใด ยี่ห้อใด นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับ และบริการหลังการขายด้วย

     

    8371 เครื่องวัดความเค็ม

  • ลดกระหน่ำ "9.9 Super Mega Sale" 

    ลดกระหน่ำ "9.9 Super Mega Sale" 



    เริ่มตั้งแต่ 9 -30 กันยายน 2023

    *เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทกำหนดฯ

     

     

  • เครื่องมือวัดค่าความเค็ม ( SALINITY REFRACTOMETER)

    เครื่องมือวัดค่าความเค็ม (SALINITY REFRACTOMETER)

    เครื่องวัดความเค็ม (Salinity Refractometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายหรือใช้ตรวจสอบปริมาณเกลือในของเหลวโดยอาศัยหลักการหักเหของแสง มีหน่วยวัดเป็น % และ ppt ซึ่งเครื่องวัดความเค็มส่วนใหญ่จะใช้ในงานอุตสาหกรรมด้านอาหาร เช่น การผลิตน้ำผลไม้ , อาหารสำเร็จรูป , และเครื่องดื่มต่างๆ

    การเลือกใช้เครื่องวัดความเค็ม

    เครื่องวัดความเค็มในปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถแสดงค่าความเค็มแบบติจิตอลได้ มีความสะดวก รวดเร็วและความถูกต้องในการวัดมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานเครื่องวัดความเค็มให้ตรงกับงานที่ทำได้ โดยเครื่องวัดความเค็มที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลักๆอยู่  3 แบบคือ

    1.เครื่องวัดความเค็ม แบบกล้องส่อง เครื่องวัดความเค็มแบบนี้จะอาศัยแสงจากภายนอกในการวัด โดยการส่องดูและอานค่าตามสเกล

     

     

    2.เครื่องวัดความเค็ม แบบปากกา เครื่องวัดความเค็มแบบนี้สามารถวัด ความเค็ม ได้โดยการนำหัววัดไปจุ่มในตัวอย่างที่ต้องการวัดและอ่านค่าเป็นแบบดิจิตอล

     

     

    3.เครื่องวัดความเค็ม แบบดิจิตอล เครื่องวัดความเค็มแบบนี้มี แสง จากภายในในการวัด อ่านค่าได้สะดวกโดยแสดงเป็นตัวเลขแบบดิจิตอล

     

     

    อย่างไรก็ดีการเลือกใช้ เครื่องวัดค่าความเค็ม รุ่นใด ยี่ห้อใด นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับ และบริการหลังการขายด้วย

  • เครื่องวัดความเค็มที่มีดัชนีความหักเหของแสง รุ่น MA887

    เครื่องวัดความเค็ม ที่มีดัชนีความหักเหของแสง รุ่น MA887

    Digital Refractomometer for seawater MeasurementsMA887 Milwaukee

    MA887 เป็น เครื่องวัดความเค็ม ที่มีดัชนีการหักเหของ แสง  เพื่อตรวจสอบ ความเค็ม ของน้ำธรรมชาติและน้ำทะเลหรือน้ำกร่อย
    ตัวเครื่องมือวัดดิจิตอลนี้จะช่วยลดความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับการหักเหของแสง สามารถพกพาขึ้นเรือขึ้นฝั่งหรือใช้งานที่บ้าน
    ได้อย่างสะดวก

    ตัวเครื่อง MA887 เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว
    ที่สำคัญถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถทำการปรับเทียบกับน้ำหรือน้ำกลั่นเพื่อเป็นการเซ็ตค่า
    ตัวเครื่องให้เริ่มวัดค่าปริมาณของ ความเค็ม ที่ศูนย์เปอร์เซ็น โดยผู้ใช้งานสามารถทราบค่าได้อย่างชัดเจน
    ภายในไม่กี่วินาทีหน้าจอแสดงผล และแสดงค่าความเค็มในหน่วยของ PUS และ PPT

     

    MA887 Milwaukee

     

  • เครื่องวัดค่าความเค็ม ( SALINITY )

     เครื่องวัดค่าความเค็ม

     

    เครื่องมือวัดค่าความเค็ม ( SALINITY )

              เครื่องวัดความเค็ม  (Salinity Refractometer)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายหรือใช้ตรวจสอบปริมาณเกลือในของเหลว โดยอาศัยหลักการหักเหของแสง มีหน่วยวัดเป็น % และ ppt ซึ่งเครื่องวัดความเค็ม ส่วนใหญ่จะใช้ในงานอุตสาหกรรมด้านอาหาร เช่น การผลิตน้ำผลไม้ , อาหารสำเร็จรูป , และเครื่องดื่มต่างๆ

    การเลือกใช้เครื่องวัดความเค็ม

              เครื่องวัดความเค็ม ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถแสดงค่าความเค็มแบบติจิตอลได้ มีความสะดวก รวดเร็วและความถูกต้องในการวัดมากขึ้นทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งาน Salt Meter ให้ตรงกับงานที่ทำได้ โดยเครื่องวัดความเค็มที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลักๆอยู่  3 แบบ คือ

    1. เครื่องวัดความเค็มแบบกล้องส่อง เครื่องวัดความเค็ม แบบนี้จะอาศัยแสงจากภายนอกในการวัด โดยการส่องดูและอานค่าตามสเกล

    2. เครื่องวัดความเค็ม แบบปากกา เครื่องวัดความเค็มแบบนี้สามารถวัความเค็มได้โดยการนำหัววัดไปจุ่มในตัวอย่างที่ต้องการวัดและอ่านค่าเป็นแบบดิจิตอล

    3. เครื่องวัดความเค็มแบบดิจิตอล เครื่องวัดความเค็มแบบนี้มีแสงจากภายในในการวัด อ่านค่าได้สะดวกโดยแสดงเป็นตัวเลขแบบดิจิตอล

      

    อย่างไรก็ดีการเลือกใช้ เครื่องวัดความเค็ม รุ่นใด ยี่ห้อใด นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับ และบริการหลังการขายด้วย

     

     

     

Contact Us