0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

เครื่องวัดออกซิเจน

  • COD และ BOD

    COD และ BOD

     

    COD และ BOD คือ ?

              น้ำจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำ การที่มีสารต่างๆ ละลายปะปนอยู่ในน้ำซึ่งส่วนใหญ่คุณสมบัติหลักๆของน้ำก็จะมีคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำก็หลักๆ จะประกอบไปด้วยลักษณะทางภายนอกที่แตกต่างกัน เช่น ความใส ความขุ่น กลิ่น สี อุณหภูมิ การนำไฟฟ้า ของน้ำและอาจจะรวมไปถึงคุณสมบัติทางเคมีของน้ำ เช่น ความเป็นกรดและความเป็นด่างของน้ำ

              ในส่วนของค่า COD และ BOD ในน้ำนั้นก็สำคัญเช่นกัน ค่า COD  หรือ Chemical Oxegen Demand  หรือเรียกย่อๆ ว่า COD  (ซี โอ ดี)  คือค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ แสดงความสกปรกของน้ำเสียจากบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม  คือ ปริมาณ O2 ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้และย่อยสลายไม่ได้จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน วิธีซีโอดี ใช้สารเคมีซึ่งเป็นออกซิไดซ์ที่สามารถออกซิไดซ์สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำ แล้ววัดปริมาณออกซิเจน ที่ใช้เพื่อการออกซิไดซ์สารอินทรีย์นั้น ให้เป็น คาร์บอนไดออกไซด์  และน้ำ ในสภาวะที่เป็นกรดเข้มข้น และที่มีอุณหภูมิสูง น้ำที่มี ค่าซีโอดี  สูงแสดงว่ามีการปนเปื้อนด้วยสารอินทรีย์สูง หรือมีความสกปรกมาก  การวิเคราะห์ซีโอดีจะใช้เวลาสั้นประมาณ 3 ชั่วโมง จึงเหมาะสม ที่จะใช้ในการควบคุมดูแลระบบ บำบัดน้ำเสีย  เนื่องจากสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ 

              ค่า BOD หรือ Bilogical Oxygen Demand หรือที่เรียกย่อๆว่า BOD (บี โอ ดี ) คือ ค่า ปริมาณออกซิเจน ที่ต้องการเพื่อใช้ไปในกระบวนการต่างๆของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ค่า BOD สูง หมายถึงในน้ำมีการใช้ ออกซิเจน มาก โดยสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีเชือจุลลินทร์อยู่มาก ค่า BOD ต่ำนั้นหมายถึงระดับการใช้ ออกซิเจน ของสิ่งมีชีวิตในน้ำนั้นต่ำ จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ในน้ำนั้นมีสารอินทรีย์มากน้อยหรือไม่ (จุลลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็มีเหมือนกัน) การหาค่า BOD ทำได้โดยการหาความแตกต่างของ ปริมาณออกซิเจนละลา  หรือค่า DO (Dissolved Oxygen) ก่อนและหลังการบ่มในภาชนะปิด ซึ่งการหาค่า BOD โดยปกติแล้วจะใช้เวลาบ่ม 5 วัน ส่วนภาชนะที่ใช้บ่มคือขวด BOD 

     

  • การเลือกเครื่องมือวัดค่าออกซิเจนในน้ำให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน

    การเลือกเครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน

              การควบคุมและดูแล คุณภาพของน้ำ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตทั้งคนและสัตว์ หรือการใช้ในงานอุตสาหกรรมและการเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การเลี้ยงปลาและการเลี้ยงกุ้งหรือการทำระบบบำบัดน้ำ มีความจำเป็นที่จะต้องวัด ค่าปริมาณออกซิเจนในน้ำ ก่อนที่จะนำไปใช้งานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

              ปัจจุบันการตรวจวัดค่าออกซิเจนในน้ำสามารถทำได้ง่ายเพราะได้มีการออกแบบตัวเครื่องมือที่สามารถวัด ค่าออกซิเจน ในน้ำได้อย่ารวดเร็ว,สะดวก,อ่านค่าได้ง่ายเพราะเป็นแบบดิจิตอลและมีความถูกต้องแม่นยำสูงและยังออกแบบมาให้ลักษณะตัวเครื่องมีความหลากหลาย เช่น

    1. เครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ แบบปากกาเครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ

    เหมาะกับงานตรวจวัดค่าออกซิเจนบริเวณผิวน้ำ

    และต้องการความรวดเร็ว

     

     

     

    2.เครื่องวัด DO แบบพกพาหรือแบบภาคสนามเครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ

    เหมาะกับการวัดในบ่อลึกเพราะสายโพรบมีความยาว

    และสามารถหย่อนลงน้ำได้

     

     

     

    3. DO Meter แบบตั้งโต๊ะเครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ

    เหมาะกับการวัดตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ

     

     

     

     

    จากลักษณะของเครื่องวัด ค่าออกซิเจน ในน้ำที่กล่าวมา ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้ตรงตามลักษณะงานที่ต้องการได้ อย่างไรก็ดีการเลือกใช้ เครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ  รุ่นใด ยี่ห้อใด นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับ และบริการหลังการขายด้วย

     

  • ค่าแอมโมเนีย ไนไตรทและไนเตรด

     ค่าแอมโมเนีย ไนไตรทและไนเตรด

     

     ค่าแอมโมเนีย ไนไตรทและไนเตรด

     

              โดยธรรมชาติจะมีวัฎจักรไนโตรเจนเป็นขบวนการที่เป็นการย่อยสลายแอมโมเนียเป็นไนไตรทและไนเตรด โดยแบคทีเรียที่ชื่อ Nitrosomonas เปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนไตรทและไนเตรด โดยย่อยสลายโดยแบคทีเรียชื่อ Nitrobacter เปลี่ยนเป็น ไนเตรด ในสภาวะที่มีออกซิเจน แอมโมเนียหมายถึง ก๊าชไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของ ionized form (NH4+) หรือในรูป unionized form (NH3) แอมโมเนียรูป NH3  จะเป็นพิษต่อสัตว์ มากกว่า NH4 แอมโมเนียทั้งสองรูปน้ำจะเป็นตัวไหนขึ้นอยู่กับค่า ph คือถ้าน้ำมี ph สูง แอมโมเนียจะเป็น NH3 เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ ถ้าน้ำมีค่า ph ต่ำ แอมโมเนียจะอยู่ในรูป NH4 ซึ่งจะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำต่ำ โดย NH3 จะทำลายการทำงานของเหงือกปลา โดยแอมโมเนียจะซึมผ่านผนังอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮีโมโกลบินของเลือดไม่สามารถรวมกับออกซิเจนที่ละลายในน้ำได้ พิษของแอมโมเนียจะรุนแรงยิ่งขึ้นถ้าอยู่ในสภาวะออกซิเจนต่ำ อุณหภูมิสูง ph สูงและความเค็มของน้ำสูงขึ้น แอมโมเนียในน้ำเกิดจากสิ่งขับถ่ายจากสัตว์น้ำ การย่อยสลายอินทรียวัตถุของแบคทีเรีย ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำไม่ควรเกิน 0.02 ppm ถ้าปริมาณแอมโมเนียในน้ำสูงถึง 1 ppm ปลาจะแสดงอาการโดยขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำ บริเวณลำตัวหรือ ครีบจะเป็นรอยแดงเหงือกเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำและอาจจะมีเลือดออก โดยปลาอาจจะนอนบริเวณพื้นตู้และครีบจะลู่ลงการลดความเป็นพิษของแอมโนเมียสามารถทำได้โดยการลด ph ในน้ำ เปลี่ยนถ่ายน้ำและลดการให้อาหาร

              ไนเตรดซึ่งเป็นผลจากการย่อยสลายแอมโมเนียโดยแบคทีเรียมีความเป็นพิษต่อปลาโดยทั่วไปเมื่อปริมาณแอมโมเนียเพิ่มขึ้นในที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ปริมาณไนเตรดจะเพิ่มขึ้นด้วย และปริมาณไนไตรดในน้ำสูงถึง 1 ppm จะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ  คือ ทำให้เกิดโรค Brown Blood Disease (เลือด สีน้ำตาล) ซึ่งเกิดจากไนไตรดทำให้เกิดสารชนิดที่ไม่จับออกซิเจน (feeric) ในเลือด ทำให้เลือดนำออกซิเจนไปใช้ไม่ได้และทำให้ระบบหายใจผิดปกติ ปลาจะแสดงอาการผิดปกติโดยการขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำ ขยับเหงือกอย่างรวดเร็ว และเหงือกจะเปลี่ยนสีจากปกติเป็น สีน้ำตาลดำ ปลาที่สัมผัสกับไนเตรดระดับต่ำในระยะเวลานานๆ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลงและทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้เช่น โรคอิค โรคครีบเน่าและการติดเชื้อแบคทีเรีย  และถ้าระดับสารเฟอร์ริค(ferric เป็นสารที่ไม่จับออกซิเจน) ในเลือดสูงขึ้นจะส่งผลต่อตับ เหงือกและ เซลส์เลือด ถ้าไม่มีการแก้ไขโดยลดละดับไนไตรดปลาจะตายเพราะขาดออกซิเจน

              การลดความเป็นพิษไนไตรด อาจทำได้โดยการเปลี่ยนน้ำ ใส่เกลือลงในน้ำ ลดการให้อาหารและการเพิ่มอากาศลงไปในน้ำ  ไนเตรดเป็นผลจากการย่อยสลายไนไตรดโดยแบคทีเรีย โดยปกติไนเตรดไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำแต่ถ้าปลาต้องอยู่ในสภาพที่ปริมาณไนเตรดสูงกว่า 50 ppm ในเวลานานๆ จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลให้ปลาบางชนิดเกิดอาการเครียดได้ ซึ่งผลของความเครียดส่งผลให้ปลาเกิดโรคต่างๆ ได้  และทำให้ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง ปริมาณไนเตรดที่สูงจะมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของลูกปลา นอกจากไนเตรดจะมีผลต่อปลาที่เลี้ยงแล้วยังมีผลต่อการเกิดแพลงตอนพืชและตะไคร่น้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำได้ โดยปริมาณไนเตรดเพียง 10 ppm จะมีผลต่อการเกิดแพลงตอนพืชและตะไคร่น้ำ ในธรรมชาติปริมาณในเตรดจะค่อนข้างต่ำคือ ต่ำกว่า 5 ppm ในตู้เลี้ยงปลาน้ำจืดนั้นควรควบคุมไว้ไม่ให้เกิน 25 ppm แต่ถ้าจะใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาควรควบคุมไนเตรดไม่ให้เกิน 10 ppm การที่จะลดปริมาณไนเตรดโดยการย่อยสลายโดยแบคทีเรียเพื่อเปลี่ยนเป็นก๊าชไนโตรเจนนั้น ไม่เหมือนกับการย่อยสลายแอมโมเนียและไนไตรดโดยแบคทีเรียเนื่องจากแบคทีเรียที่จะย่อยสลายไนเตรดเป็นก๊าซไนโตรเจนนั้นเป็นแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนและในสภาพตู้ปลานั้นจะอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนซึ่งไม่สามารถที่จะให้แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนอาศัยอยู่ได้

     

     

     

  • วิธี set ค่า Oxygen เบื้องต้น เครื่อง Multi Gas detector

    วิธี set ค่า Oxygen เครื่อง Multi-Gas detector

     

    วิธี set ค่า Oxygen เบื้องต้นของตัวเครื่อง Multi-Gas detector

     

    โดยทั่วไป Oxygen Detector เครื่องวัดออกซิเจนในอากาศ จะมีระดับความเข้มข้นในอากาศที่ 20.9%

    แต่บางครั้งเมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมาค่า Oxygen จะแสดงที่ 19.0% หรือ 18.9%

    แสดงค่า Oxygen

     

    วิธี set ค่า Oxygen เบื้องต้นเราก็สามารถทำได้

    1.เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วไปที่ เมนู Calibration 

    เมนู Calibration

     

    2.จากนั้นใช้ปุ่มลูกศรขึ้นหรือลูกศรลง ปรับมาที่ค่า Oxygen (O2)

    จากนั้นกดปุ่ม OK ค้างไว้ จนกว่าสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

    ค่า O2

     

    ปรับค่า O2

    3.เมื่อเปลี่ยนเป็นสีแดงแล้วให้นำตัวเครื่องออกไปที่มีอากาศถ่ายเทไม่ควรอยู่ในห้องหรือห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ จากนั้นกดปุ่มลูกศรขึ้น หรือลูกศรลงไปที่ค่า 20.9% 

    ปรับไปที่ค่า 20.9%

    4.เมื่อปรับค่าเสร็จแล้วจากนั้นกดปุ่ม OK ค้างไว้ จากหน้าจอสีแดงจะเป็นสีเขียว 

    กดปุ่ม OK ค้างไว้

    5.จากนั้นกดปุ่ม ปิด/เปิดเครื่อง เพื่อออกจากฟังก์ชั่น

    กดปุ่ม ปิด/เปิดเครื่อง

    6.เมื่อเราปรับค่าเสร็จแล้วจะสังเกตเห็นค่า Oxygen อยู่ที่ 20.9%

       แต่ถ้าเราปรับค่าแล้ว ค่า Oxygen ยังไม่ได้หรือยิ่งปรับยิ่งลงต่ำ หรือสูงเกินสันนิษฐานได้ว่า sensor Oxygen น่าจะมีปัญหา

    ค่า Oxygen อยู่ที่ 20.9%
  • อันตรายจากสารไวไฟ

    Flammable

    อันตรายจากสารไวไฟ

                สารเคมีที่ติดไฟได้อาจอยู่ในรูปของ ของแข็ง ของเหลว ไอ หรือ ก๊าซ ก็ได้ โดยทั่วไปจะมีสมบัติที่ติดไฟได้อย่างรวดเร็วและเกิดการเผาไหม้ได้ในอากาศ อันตรายที่

    เกิดบ่อยครั้งมากที่สุดมักเกิดจากการติดไฟเนื่องจากไอของของเหลวที่ระเหยได้ดี อันตรายจากการติดไฟ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องคือทำให้เกิดการระเบิดของ

    สารเคมีที่จัดเก็บไว้ในบริเวณใกล้เคียงได้

              การเกิดไฟไหม้ขึ้นได้จะต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนร่วมกัน องค์ประกอบแรกคือ ออกซิเจน หรือ อากาศ หรือสารเคมี ที่สามารถทำปฏิกิริยาให้ ออกซิเจน ออก

    มาได้ องค์ประกอบที่สองคือ เชื้อเพลิง ซึ่งรวมทั้งสารไวไฟ และ องค์ประกอบสุดท้ายคือ แหล่งจุดติดไฟ ได้แก่ ความร้อนหรือประกายไฟ การป้องกันไฟไหม้จะทำได้โดยการ

    แยกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกไป ไฟก็ไม่สามารถจะลุกติดขึ้นได้ แต่จะเห็นได้ว่าในสภาพแวดล้อมของบรรยากาศในการทำงานโดยทั่วไป การแยกเอาองค์ประกอบ

    ที่หนึ่งคืออากาศออกไปจะทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นในการป้องกันไฟไหม้จึงมักจะเน้นที่การแยกแหล่งจุดติดไฟคือ ประกายไฟหรือความร้อนให้ห่างออกไปจากแหล่งเชื้อเพลิง

    หรือ สารไวไฟ

     

    ในส่วนของความสามารถในการติดไฟได้ของสารไวไฟนั้น ควรคำนึงถึงสมบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของสารเคมี คือ

    1. จุดวาบไฟ

    จุดวาบไฟ หมายถึงอุณหภูมิต่ำสุดที่จะทำให้ของเหลวหรือสารเคมีเกิดการระเหยเป็นไอที่มีความเข้มข้นในอากาศเพียงพอที่จะเกิดการลุกติดไฟได้เมื่อมีเปลวไฟจ่ออยู่ที่

    ผิวหน้าของของเหลวนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเคมีอินทรีย์ มีจุดวาบไฟที่ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง  เช่น แอซีโทน ( -18 องศาเซลเซียส)

    เบนซีน (-11.1 องศาเซลเซียส) หรือ เมทานอล (11.1 องศาเซลเซียส) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหากแอซีโทน (Acetone)  เกิดรั่วไหล  หรือหกเลอะ ก็จะมีโอกาสที่ทำให้เกิด

    การลุกไหม้ได้โดยง่ายเมื่อมีแหล่งประกายไฟหรือความร้อนเพียงเล็กน้อยอยู่ในบริเวณนั้น

    2. อุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เอง

    อุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เอง หมายถึงอุณหภูมิต่ำสุด ที่ทำให้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว ไอ หรือ ก๊าซ  เกิดการติดไฟขึ้นได้เองในอากาศโดยไม่ไม่จำเป็นต้องมี

    แหล่งจุดติดไฟ ดังนั้นสารเคมีที่มีอุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เองต่ำ   จะมีความเสี่ยงในการลุกติดไฟเองได้มาก ตัวอย่างเช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์  (Carbon disulfide) มีอุณหภูมิ

    ที่จุดติดไฟได้เองที่ 90 องศาเซลเซียส จะสามารถลุกไหม้ได้เองโดยความร้อนจากหลอดไฟ แสงสว่างไดเอทิลอีเทอร์ (Diethyl ether) มีอุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เองที่ 160

    องศาเซลเซียส สามารถลุกติดไฟทันทีที่หกราดบนพื้นเตาไฟฟ้า โดยไม่ต้องมีประกายไฟ หรือเปลวไฟเลย

    3. ขอบเขตของการติดไฟ

    สารไวไฟ โดยทั่วไปจะมีขอบเขตที่จะติดไฟได้อยู่ระหว่างค่า 2 เรียกว่า ค่าต่ำสุดของการติดไฟหรือการระเบิด (Lower Explosive Limit หรือ LEL) และ ค่าสูงสุดของการติด

    ไฟหรือการระเบิด Upper Explosive Limit  หรือ  UEL ค่าต่ำสุดของการติดไฟ  (LEL) หมายถึงความเข้มข้นต่ำสุดของก๊าซ หรือ ไอของสารไวไฟในหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ

    ปริมาตรในอากาศ ที่จะทำให้เกิดการไหม้ลุกลามขึ้นได้เมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ ส่วนค่าสูงสุดของการติดไฟ (UEL) หมายถึง ความเข้มข้นสูงสุดของก๊าซ หรือ ไอของสารไวไฟ

    ในหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตรในอากาศ  ที่จะทำให้เกิดการไหม้ลุกลามขึ้นได้เมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ  หากค่าของความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศต่ำกว่าค่าต่ำสุด หรือ

    สูงกว่าค่าสูงสุดของการติดไฟ หรือการระเบิดแล้วจะไม่ทำให้เกิดการติดไฟ หรือการระเบิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีองค์ประกอบของการติดไฟครบทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ออกซิเจน

    ความร้อนหรือประกายไฟ และเชื้อเพลิง ดังนั้นช่วงของการติดไฟหรือการระเบิดได้ของสารเคมีก็คือช่วงที่ค่าความเข้มข้นไอของสารเคมีนั้นอยู่ระหว่าง LEL กับ UEL นั่นเอง

    ซึ่งค่า LEL และ UEL ของสารเคมีแต่ละชนิดจะต้องมีอุณหภูมิที่ทำการวัดกำกับไว้ด้วยเสมอ เพราะความเข้มข้นของสารเคมีจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง

  • เครื่องวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (DO Meter)

     

     

     

    DO Meter

     

    เครื่องวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (DO Meter)

    ออกซิเจนละลาย (DO) ตัวเครื่องมือวัดจะแสดงความเข้มข้นของออกซิเจนในของเหลวในหน่วยมิลลิกรัมต่อลิตร (mg / L) และ PPM  เครื่องวัดแบบ Heavy Duty DO Meter (407510) จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานการคาลิเบรด,การแสดงอุณหภูมิ (0-60 องศาเซลเซียส), อิเล็กโทรดเมมเบรน (มีสำรอง 5 ตัว) และมีน้ำยาโซลูชั่น KCL นอกจากนี้ยังมีการวัดค่าน้ำเกลืออีกด้วย

     

    การนำเครื่องวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำไปใช้งาน
    การใช้งานสามารถวัดปริมาณออกซิเจนในของเหลวที่มีผลกระทบที่สำคัญในกระบวนการผลิตหรือสภาพแวดล้อมอื่น ๆ การบำบัดน้ำเสีย,การประมง,การผลิตไวน์และคุณภาพของน้ำในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

    เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้าในน้ำ (Conductivity)
    ตัวเครื่องมือวัดค่าความนำไฟฟ้าในน้ำสามารถวัดค่าและแสดงในหน่วยของ ซีเมนต่อเซนติเมตร(Siemen / cm) เพื่อป้องกันวัสดุที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า (เช่น โลหะ, เกลือ ฯลฯ ) ในการแก้ปัญหาการนำไฟฟ้า

    DO900

    การนำเครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้าในน้ำไปใช้
    การวัดค่าความนำไฟฟ้าใช้สำหรับการวิเคราะห์น้ำบริสุทธิ์  การทดสอบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตรวจสอบคุณภาพของบ่อน้ำในหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกระบวนการผลิตหลายอย่างเช่นเป็นส่วนประกอบของการล้างบอร์ด PCB 

    เครื่องวัดค่าพีเอชใน
    ค่าความเป็นกรดเป็นด่างจะใช้ในงานเกี่ยวกับไฮโดรเจนไอออนของระบบหรือจำพวกสารเคมี เครื่องมือวัดค่าพีเอชนี้ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบตัวอย่างเช่นความเป็นกรด (0-6 พีเอช) หรือด่าง (ค่า 8-14พีเอช) ในการแก้ปัญหา (ค่า พีเอช 7 เป็นกลาง) เครื่องมือวัดรุ่น 407227 ที่มีการวัดเป็นมาตรฐานค่า pH, mV และอุณหภูมิ จะรวมอยู่ใน probes เดียว จอแสดงจะแสดงค่า pH หรือ mV และอุณหภูมิบ่งชี้,การคาลิเบรชั่นและการชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติที่เป็นมาตรฐาน

    DO Probe

    การนำเครื่องวัดค่าพีเอชในน้ำไปใช้
    สำหรับกระบวนการทางเคมีที่มีค่าพีเอช จะเป็นการวัดที่พบมากที่สุด เช่นระบบบำบัดน้ำเสีย, การทดสอบยา, โรงงานกระดาษ, อาหารและเครื่องดื่มในการผลิตและการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม สิ่งบริโภคโดยสัตว์และในหน่วยงานที่มีการทดสอบเพื่อวัดค่าพีเอช

    pH Meter

     

  • เครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ (D.O.) แบบพกพา รุ่น Mi605

    เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ  แบบพกพา รุ่น Mi605

    เหมาะสำหรับการใช้งานภาคสนาม

    เครื่องมือวัดค่าออกซิเจนในน้ำ รุ่น Mi605 เป็นแบบพกพาเหมาะสำหรับการใช้งานภาคสนาม  เครื่องวัดค่าออกซิเจน สามารถปรับเทียบอุณหภูมิแบบอัตโนมัติและสามารถแสดงผลในหน่วย ppm หรือหนึ่งส่วนต่อล้านส่วน (ppm = mg / L) หรือในหน่วยของเปอร์เซน (%) ส่วนการแสดงผลของอุณหภูมิจะอยู่ที่ 0-50 องศาเซลเซียส ส่วนความละเอียดในการวัดจะอยู่ที่ 0.01 mg/L (ppm) และ 0.1%  ในส่วนของการปรับเทียบง่ายและรวดเร็วเพียงเปิดฝาที่ปรายของ โพรบ วัดค่าออกซิเจน (Ma840) ในสภาพอากาศที่ปกติและสามารถกดปุ่ม Cal ได้เลยCalibration Mi605

    ข้อดีของเครื่องมือวัดค่า ออกซิเจน ในน้ำรุ่น Mi605  ไม่ต้องใช้น้ำยามาตรฐานในการปรับเทียบ นอกจากนี้ปุ่ม HOLD จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถหยุดค่าไว้เพื่ออ่านค่าหรือจนบันทึกค่า ในส่วนของแบตเตอริ่ง่ายต่อการเปลี่ยนเพียงแค่ไขสะกรูตรงฝาครอบทางด้านหลังตัวเครื่อง Mi605 เป็นเครื่องมือที่มีขนาดกะทัดรัดและเหมาะสำหรับการใช้งานทั้งทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การตรวจสอบน้ำเสียและการศึกษา

    Mi65 Milwaukee

  • เครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ (D.O.) แบบพกพา รุ่น MW600

    MW600

    เครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ (D.O.) แบบพกพา รุ่น MW600

    เครื่องวัดค่าออกซิเจนในน้ำ รุ่น MW600 เป็นแบบพกพา เหมาะกับผู้ใช้ที่มีงบประมาณน้อยและได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ เหมาะกับการใช้งานภาคสนาม การใช้งานในสถานศึกษา การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ตัวเครื่องมีขนาดเล็กเหมาะสมกับการใช้งานพกพาง่ายสะดวกและมีน้ำหนักเบา หน้าจอ LCD มีขนาดใหญ่ง่ายต่อการอ่านค่า มาพร้อมกับโพรบวัด MA840 มีสายยาว 3 เมตร มีไขควงสำหรับใช้ในการปรับเทียบมีเมมเบรนสำหรับใช้เป็นอะไหล่ให้ 2 อันและจะมีน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ MA9071 ขนาด 30 mL.

    MW600

    สามารถปรับเทียบได้ 2 จุดโดยการใช้ไขควงปรับ คือที่ 100% กับสภาพอากาศอิ่มตัวและที่ 0% กับน้ำยามาตรฐาน  ZERO ออกซิเจน และมีการชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติและมีความแม่นยำสูง

    MW600

    หน้าจอ LCD แสดงผลขนาด ใหญ่ง่ายต่อการอ่านค่า

Contact Us