0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

เครื่องวัดอุณหภูมิ

  • ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมในการวัดความสั่นสะเทือนที่อาจเกิดขึ้น

     

    ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมในการวัดความสั่นสะเทือนที่อาจเกิดขึ้น

     

                       ในการ วัดความสั่นสะเทือน บางครั้งในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานแต่ละแห่งก็จะมีสิ่งแวดล้อมต่างกันออกไปซึ่งสิ่งแวดล้อมอาจจะส่งผลกระทบต่อการวัดได้

         ดังนั้นควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ เช่น

      1. ความโค้งของผิวสัมผัส ก่อนที่เราจะวัดเราควรสำรวจจุดที่เราจะวัดว่ามีความโค้ง หรือ ไม่ถ้าไปวัดจุดที่มีความโค้งของผิวสัมผัสจะทำให้หน้าสัมผัสของหัววัดนั้น

        สัมผัสกับจุดวัดไม่เต็ม และ จะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงผิวสัมผัสที่มีความโค้ง และ ไม่เรียบ

      2. ความเปียกชื้น ควรหลีกเลี่ยงจุดที่เปียกซึ่งความชื้นหรือ น้ำจะเข้าไปรบกวนหัววัดช่วงข้อต่อ ระหว่างสายเคเบิล กับ หัววัด

      3. เครื่องวัดอุณหภูมิ โดยทั่วไปเครื่องจักรมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ซึ่งอุณหภูมิจะมีผลต่อการขยายตัวของผลึก Piezoelectric ที่อยู่ภายในหัววัด

      ดังนั้น การเลือกใช้หัววัดแต่ละชนิดต้องคำนึงถึงขอบเขตของอุณหภูมิด้วย

     4. สายเคเบิล ในการใช้งานแต่ละครั้งสายเคเบิลหรือสายนำสัญญาณควรจัดให้เป็นระเบียบไม่ควรปล่อยให้สายแกว่งไปแกว่งมา และ อย่านำสิ่งของใดๆๆมากดทับสาย

     5. การดูแลรักษา หัววัด การสั่นสะเทือน นั้นจำเป็นจะต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน และ ควรมีการเก็บรักษาไว้อย่างดี ห้ามใช้งานในบริเวณที่มีความร้อนสูง

    ในขณะที่กำลังวัดจะต้องไม่ตกหล่น ไม่ควรเคาะหรือกระแทก เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้          

     

     

  • พิเศษ!!! สุดคุ้มโปรโมชั่น Buy 1 Gey 1 Free

    ** DT-8806H ปิดโปรแล้วนะคะ สินค้าหมด ตามจำนวนจำกัดของโปร นี้แล้วคะ **

    Buy 1 Get 1 Free

     

  • มันคืออะไร มันเป็นยังไง... แจกฟรี!!! Thermometer ไว้ Check In หน้าหนาว

    มันคืออะไร มันเป็นยังไง... แจกฟรี!!! Thermometer ไว้ Check In หน้าหนาว 

    ประกาศรายชื่อผู้โชคดี ขอบพระคุณลูกค้าที่ร่วมกิจกรรมค่ะ


    ขั้นตอนการร่วมกิจกรรม

    - เพียงถ่ายรูปกับสินค้าแล้วโพสลง Facebook หรือ Line (Public) พร้อม Hashtag #PONPE  ( ตั้ง public )

    - Capture หน้าจอ ส่งมาให้เรา ที่ไลน์ @ponpe   https://line.me/R/ti/p/%40tfo6559j

    ** ผู้ส่งมาถูกกติกา 100 ท่านแรก รับทันที Thermo-hygrometer รุ่น PONPE 490 จัดส่งให้ฟรี !!!

    เงื่อนไขตามบริษัทกำหนด

     

     

     

  • ลดกระหน่ำ "9.9 Super Mega Sale" 

    ลดกระหน่ำ "9.9 Super Mega Sale" 



    เริ่มตั้งแต่ 9 -30 กันยายน 2023

    *เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทกำหนดฯ

     

     

  • ลูกค้าฉันต้องได้ Thermometer ไว้ Check In ฟรีฟรี

    ลูกค้าฉันต้องได้ Thermometer ไว้ Check In หน้าหนาว

     

    1. - ถ่ายรูปกับสินค้า แล้ว โพสลง Facebook หรือ Line (Public) พร้อม Hashtag #PONPE  ( ตั้ง public )

    2. - Capture หน้าจอ ส่งมาให้เรา ที่ไลน์ @ponpe   https://line.me/R/ti/p/%40tfo6559j

    3. - ปิดรับรูปร่วมกิจกรรม วันที่ 15 ธันวาคม 2563

    4. - ประกาศผลหน้า Facebook ปนเป วันที่ 18 ธันวาคม 2563 **ลูกค้าที่ได้รับรางวัล ติดต่อส่งชื่อที่อยู่เพื่อรับรางวัล ภายใน 21 ธันวาคม 2563 *หากไม่ติดต่อภายในกำหนดถือว่าสละสิทธิ์

    ** ผู้ส่งมาถูกกติกา 100 ท่านแรก รับทันที thermo-hygrometer รุ่น PONPE 490 จัดส่งให้ฟรี 

     

     

     

  • วิธีแก้ไขปัญหาการกดปุ่ม STOP บนตัวเครื่อง RC-5 ไม่ได้

    STOP-RC-5

     

    วิธีแก้ปัญหาปัญหาเครื่องวัดและบันทึกอุณหภูมิ รุ่น RC-5 ไม่สามารถกดปุ่ม STOP จากตัวเครื่องได้

     

              เครื่องบันทึกข้อมูล รุ่น RC-5 นี้ ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการบันทึกอุณหภูมิระหว่างการจัดเก็บและขนส่งอาหาร ยา เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ 

    ปัญหาที่พบสำหรับตัวเครื่อง RC-5 คือ ตัวเครื่องไม่สามารถกดปุ่ม STOP จากตัวเครื่องได้

     

    วิธีแก้ปัญหา

     

    1.เปิดโปรแกรมของเครื่องวัดและบันทึกอุณหภูมิ รุ่น RC-5 ขึ้นมาแล้วทำการกด connection เพื่อให้ตัวเครื่องเชื่อมต่อกับ software 

       จากนั้นกด Parameter Set ตามรูปด้านล่าง

     

    RC-5

     

    2.จากนั้นมาที่การตั้งค่า เลือก Stop by button_press ตามรูปด้านล่าง

     

    RC-5

     

    3.จากน้ันเลือกคำสั่งจาก Prohibit ให้เปลี่ยนเป็น Permit ตามรูปภาพด้านล่าง

     

    RC-5

     

    4.เมื่อเปลี่ยนเป็น Permit จากนั้น แล้วกด save Parameter ตามรูปภาพด้านล่าง

     

    RC-5

     

    5.จากนั้นลองกดปุ่ม STOP จากตัวเครื่องวัดและบันทึกอุณหภูมิ รุ่น RC-5

    -เมื่อเราเปลี่ยนการตั้งค่าจากโปรแกรมแล้ว เราสามารถกดปุ่ม STOP ได้ สังเกตุได้จากจะมีสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมแสดงบนหน้าจอ ดังรูปภาพด้านล่าง

     

    RC-5

     

  • วิธีแก้ไขเครื่อง DT172 และ DT172TK เมื่อลง software แล้วเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้

    วิธีแก้ไขเครื่อง DT172 และ DT172TK เมื่อลง software แล้วเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้

     

    วิธีแก้ไขเครื่อง DT172 และ DT172TK

    เมื่อลง software แล้วเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้

     

    1.ใส่แผ่น soft ware ที่คอมพิวเตอร์

    2.คลิ๊กขวาที่ my computer เลือก management > device manager 

    3.จะมี Port (com&LPT) ขึ้นให้คลิ๊กแล้วด้านล่างจะมี silicon labs cp210x usb to uart bridge ขึ้นให้คลิกขวาเลือก update device software

     

    silicon labs cp210x usb to uart bridge

     

    4.เมื่อเลือก update device software แล้วให้คลิ๊กที่ browse my computer for device software

     

    browse my computer for device software

     

    5.กดเลือก browse แล้วเข้าไปที่ไดร์ E ที่เราใส่แผ่น software เลือก USB driver แล้วกค OK จากนั้นกดเลือก Next 

     

    เลือก USB driver แล้วกค OK

     

    6.รอจนกว่าจะเสร็จ

     

    เครื่องวัดและบันทึกอุณหภูมิ-ความชื้น

  • อุณหภูมิเวตบัลโกลบ

    WBGT

    อุณหภูมิเวตบัลโกลบ 

     

     (Wet Bulb Globe Temperature : WBGT)

              ซึ่งการวัดอุณหภูมิแบบเวตบัลโกลบหรือ WBGT  ซึ่งเป็นการวัดดัชนีความร้อน วัดสภาพความร้อน ของสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อม

    ในการทํางาน (จะมีหน่วยวัดเปนองศาเซลเซียส หรือ องศาฟาเรนไฮท์) จะนําเอาผลกระทบต่อความร้อนที่สะสมในร่างกายมาพิจารณา คือ

    ความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกายขณะทํางาน และความร้อนจากสิ่งแวดล้อมในการทํางาน ในส่วนของความร้อนจากสิ่งแวดล้อมในการทํางานจะ

    ถูกถ่ายเทมายังร่างกาย ได้หลักๆ อยู่ 3 วิธีคือ การนํา การพา และการแผรังสีความร้อน หรือบางครั้งอาจจะมาจากการทำงานหรือปริมาณงาน

    ที่เยอะและความหนักเบาของงาน ในส่วนของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะสามารถใช้ชีวิตเมื่อความร้อนภายในร่างกายคงที่ในระดับที่เหมาะสม

    ในส่วนของอุณหภูมิภายในร่างกายของมนุษย์อาจเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่มีผลกระทบต่อการทํางานของรางกาย นั่นคือ ประมาณ

    37 ± 1°C   ดังนั้นร่างกาย จึงจะพยายามควบคุมอุณหภูมิใหคงที่ ตลอดเวลาด้วยกลไกต่างๆ เช่น การหลั่งเหงื่อ การทำให้รู้สึกกระหายน้ำ

    การทำให้เลือดไหลเวียนมาที่ผิวเพื่อคายความรอน ส่วนใหญ่แหล่ง ความรอนที่มีอิทธิพลต่อความร้อนในร่างกายมนุษย์ก็จะมาจากความร้อนที่

    เกิดขึ้นภายในร่างกายจากการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้สร้างพลังงาน และความร้อนจากสิ่งแวดลอมภายนอก ซึ่งความร้อนจากทั้งสองแหล่งนี้

    สามารถถ่ายเทระหว่างกันได้ จากแหล่งที่มีระดับความร้อนสูงกว่าไปยังแหล่งที่มีความร้อนต่ำกว่า โดยการนํา การพา และการแผ่รังสีความร้อน

    ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับความรอนภายในร่างกายให้คงที่ ที่ 37 ± 1°C

    อันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพ

              ลมแดด (Heat Stroke) และการเปนลม (Heat Syncope) เกิดขึ้นในภาวะที่ร่างกายต้องเผชิญกับ อากาศร้อนเป็นเวลานานจะทําให้อุณหภูมิใน

    ร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 41 – 42°C  จะมีอาการของลมแดด และอาจเกิดภาวะช็อค (Shock) ได้

              การอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion) เกิดขึ้นจากระบบหมุนเวียนของเลือดไป  เลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ 

              การขาดน้ำ (Dehydration) การสูญเสียเหงื่อย เป็นการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายไปเป็นจำนวนมากจะทำให้ รู้สึกกระหายน้ำ  

    ผิวหนังแห้ และรูสึกไม่สบาย 

     

  • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด


    เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด

    เครื่องวัดอุณหภูมิ ในปัจจุบันนี้มีหลายแบบและหลายประเภทในส่วนนี้จะกล่าวถึงเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรทซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายเพราะการใช้งานค่อนข้างง่ายและมีความแม่นยำสูงสำหรับการวัด สะดวกสำหรับการพกพา เหมาะสำหรับใช้งานภาคสนาม ทั้งสามารถวัดความร้อนที่แผ่โดยตรงจากวัตถุที่ต้องการวัดได้  ในอันดับแรกเลยที่จะต้องคำนึงถึงก่อนที่จะเลือกซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ อินฟราเรด คือ ต้องเลือกช่วงการวัด(Range) ให้เหมาะกับงานที่ใช้ ในส่วนตัวเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรทนั้นเราสามารถเลือกค่า Emissivity หรือค่าของการแผ่รังสีอินฟราเรทของวัตถุ ซึ่งวัตถุแต่ละชนิดมีค่าการแผ่รังสีไม่เท่ากันหากตั้งค่า Emissivity ในเครื่องไม่ตรงกับค่าของวัตถุก็จะทำให้ผลการวัดคลาดเคลื่อนได้  

     เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด


     

  • เซนเซอร์วัดค่าความชื้น

    เซนเซอร์วัดค่าความชื้น (Humidity Sensor)

     

    เซนเซอร์วัดค่าความชื้น (Humidity Sensor)

     

                   เซนเซอร์วัดค่าความชื้น ที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ Capacitive, Thermal Conductivity และ Resistive เมื่อเราจะเลือกนำไปใช้งานต่าง ๆ กัน การมาเริ่มทำความรู้จักถึงข้อดี และข้อด้อยของเซนเซอร์แต่ละชนิดจึงน่าจะมีประโยชน์ต่อข้อมูลการวัดที่จะได้รับมากที่สุด ผู้เขียนจะขอเริ่มจากสรุปข้อกำหนดที่เราควรจะจดจำไว้ เมื่อต้องเลือกใช้เซนเซอร์วัดค่าความชื้น ซึ่งได้แก่

    1) ความแม่นยำ (Accuracy)

    2) ความสามารถในการวัดซ้ำ (Repeatability)

    3) เสถียรภาพในช่วงเวลายาว ๆ (Stability)

    4) ความสามารถในการชดเชย (Condensation) 

    5) ความทนทานต่อสารเคมี

    6) ขนาด และรูปตัวถังของเซนเซอร์ (Size & Package)

    7) ความคุ้มทุน (Cost)

     

    เซนเซอร์วัดความชื้นแบบคาปาซิตีฟ (Capacitive Humidity Sensor)

    Humidity Sensor

                   เซนเซอร์วัดค่าความชื้นแบบนี้วัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity)มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ งานวิจัยหรือทดลองทางฟิสิกส์ เซนเซอร์แบบนี้มีโครงสร้างที่

     

                   ประกอบไปด้วยชั้นฐานแผ่นฟิล์มบางที่ทำจากโพลีเมอร์ หรือเมทัลออกไซด์ (Metal Oxide) ถูกวางอยู่ระหว่างอิเล็กโตรดทั้งสอง โดยพื้นผิวของฟิล์มบางดังกล่าวถูกเคลือบด้วยอิเล็กโตรดโลหะแบบมีรูพรุนเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและปัญหาจากแสงแดด

     

                   เซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟสามารถตรวจจับความชื้นสัมพัทธ์ในสภาพแวดล้อมได้เกือบจะเป็นเชิงเส้น หรือมีการตอบสนองได้อย่างเป็นสัดส่วนที่ดีนั้นเอง โดยเมื่อค่าความชื้นสัมพัทธ์เปลี่ยนไป 1 เปอร์เซ็นต์ ค่าความจุไฟฟ้า (Capacitive) ก็จะเปลี่ยนไป 0.2 ถึง 0.5 pF

     

                   เซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟถูกกำหนดให้มีคุณลักษณะเฉพาะคือค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำจึงทำให้ทำงานได้ดี แม้อุณหภูมิสูงถึง 200๐C การกลับสู่สภาวะเดิมจากสภาวะการควบแน่น และยังทนต่อไอระเหยของสารเคมีอีกด้วย ในขณะที่ช่วงเวลาการตอบสนองของเซนเซอร์คือ 30 ถึง 60 วินาที สำหรับการเปลี่ยนแปลงความชื้นในช่วง 63 เปอร์เซ็นต์

                   สำหรับข้อด้อยของเซนเซอร์แบบคาปาซิตีฟ ซึ่งเริ่มจากความผิดพลาดเท่ากับ 2%RH ในช่วงการเปลี่ยนแปลงค่าความชื้น 5% ถึง 95%RH นอกจากนี้เซนเซอร์ยังถูกจำกัดความสามารถด้วยระยะระหว่างชิ้นส่วนตรวจจับความชื้นกับวงจรแปลงสัญญาณ เพราะหากไกลกันมากจะทำให้เกิดผลกระทบของค่าความจุไฟฟ้า และในทางปฏิบัติจะต้องน้อยกว่า 10 ฟุต

                   คุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของเซนเซอร์แบบค่าความจุก็คือ Dew Point เนื่องจากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสัญญาณสอดคล้องกับค่าความชื้นที่เปลี่ยนไป แม้จะเปลี่ยนแปลงไปน้อย ๆ ก็ตาม และค่า Drift ต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี แต่ถ้าค่าความชื้นที่เปลี่ยนไปต่ำกว่าในระดับที่กำหนดแล้ว เซนเซอร์ก็เริ่มที่จะทำงานไม่เป็นเชิงเส้น

     

     

    เซนเซอร์ความชื้นแบบรีซีสตีฟ (Resistive Humidity Sensor)

                   เซนเซอร์ความชื้นที่จะวัดการเปลี่ยนแปลงอิมพีแดนซ์ไฟฟ้าของตัวกลางดูดความชื้น (Hygroscopic Medium) อย่างเช่น โพลิเมอร์ เกลือหรือสารสังเคราะห์ทั้งนี้อิมพีแดนซ์ที่เปลี่ยนจะแปรผันกับค่าความความชื้นในลักษณะของกราฟเอกซ์โปเนนเชียลกลับด้าน โครงสร้างของเซนเซอร์ Resistive ประกอบด้วยอิเล็กโตรดโลหะ 2 ส่วนวางอยู่บนฐานด้วยเทคนิคการวางแบบโฟโตรีซีส (Photo resist) อิเล็กโตรดอาจมีขดลวดพันรอบ Wire-wound Electrodes ใช้แกนเป็นพลาสติกหรือแท่งแก้วทรงกระบอกในส่วนของฐานนั้นถูกเคลือบด้วยเกลือ (Salt) หรือโพลีเมอร์ (Conductive Polymer) การทำงานของเซนเซอร์ก็คือดูดซับไอน้ำและไอออนที่แตกตัว เป็นผลให้ค่าความนำไฟฟ้าของตัวกลางเพิ่มขึ้น โดยช่วงเวลาการตอบสนองของเซนเซอร์อยู่ในช่วง 10 ถึง 30 วินาทีสำหรับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 63% โดยย่านของอิมพีแดนซ์ที่เปลี่ยนแปลงของเซนเซอร์แปรเปลี่ยน 1 kW ถึง 100 mW

     

                   เซนเซอร์แบบ Resistive จะใช้วงจรวัดแบบสมมาตร (Symmetrical) ซึ่งใช้แปล่งกำเนิดกระแสสลับกระตุ้นอย่างเช่นวงจรบริดจ์ (Bridge) และสาเหตุที่ให้ใช้กระแสตรงก็เพื่อป้องกันการเกิดขั้วศักย์ไฟฟ้าขึ้นนั่นเอง

                   เมื่อความต้านทานเปลี่ยนตามการเปลี่ยนของความชื้นเป็นผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรวัด กระแสไฟนี้จะถูกแปลงเป็นสัญญาณแรงดันกระแสตรงเพื่อการส่งผ่านไปยังวงจรขยายย่านวัด วงจรขยายแรงดัน วงจรปรับเชิงเส้นและวงจรแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลต่อไป ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้วจะทำให้เซนเซอร์และ Resistive มีการตอบสนองต่ออุณหภูมิได้ดีมาก

                   ข้อดีของเซนเซอร์แบบ Resistive ก็คือการสับเปลี่ยนได้ (Interchangeability) หมายถึงหากตัวใดเสียก็สามารถนำอีกตัวหนึ่งมาแทนได้ โดยผ่านการสอบเทียบด้วยการปรับค่าความต้านทาน ซึ่งก็ทำให้ค่าความชื้นเปลี่ยนแปลงไปไม่เกิน ±2%RH อย่างไรก็ตามหากต้องการสอบเทียบเซนเซอร์ Resistive ได้อย่างแม่นยำ ก็สามารถทำได้โดยใช้ RH Calibration Chamber หรือสอบเทียบด้วยระบบ DA ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย ข้อควรจำอย่างหนึ่งของการใช้เซนเซอร์แบบ Resistive คืออ่านอุณหภูมิใช้งาน อยู่ในช่วง -40๐C ถึง 100๐C

                   แม้ว่าอายุการใช้งานของเซนเซอร์อยู่ในช่วง 5 ปี แต่การใช้งานในสภาพแวดล้อมของไอระเหยของสารเคมีหรือน้ำมันก็อาจทำให้อายุการใช้งานของเซนเซอร์สั้นลงกว่านี้ ข้อบกพร่องหรือข้อด้อยอีกอย่างของเซนเซอร์ Resistive ก็คือ การเกิดค่าเบี่ยงเบนเมื่อเกิดสภาวะควบแน่นหากใช้สารเคลือบที่ละลายน้ำได้

                   เซนเซอร์แบบ Resistive จะทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการผันแปรของอุณหภูมิไม่เกิน 10๐F หากเกินนี้ อุณหภูมิก็จะเริ่มส่งผลให้อ่านค่าความชื้นได้เพี้ยนไป อย่างไรก็ตามด้วยสาเหตุนี้เองจึงมีการเพิ่มระบบชดเชยอุณหภูมิเข้าไปด้วยเพื่อให้ความแม่นยำสูงขึ้น จากที่กล่าวมานี้คุณลักษณะที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถสับเปลี่ยนกันได้ และเสถียรภาพในช่วงเวลานาน จึงทำให้เหมาะใช้ในงานควบคุม อุปกรณ์แสดงผลในอุตสาหกรรม และใช้ในเครื่องใช้ต่าง ๆ ตามบ้าน

     

    เซนเซอร์ความชื้นแบบ Thermal Conductivity

                   เซนเซอร์แบบนี้เป็นชนิดเดียวที่วัดค่าความชื้นสมบูรณ์ โดยอาศัยการคำนวณความแตกต่างระหว่างค่าการนำความร้อนของอากาศแห้ง (Thermal Conductivity) กับการนำความร้อนของอากาศที่มีไอน้ำอยู่ โดยเมื่ออากาศหรือก๊าซแห้ง มันจะมีความสามารถที่จะรับความจุความร้อนสูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น สภาวะอากาศในทะเลทราย ซึ่งจะร้อนจัดในเวลากลางวัน แต่พอตกกลางคืนอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากสภาวะบรรยากาศแห้ง เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว อากาศที่มีความชื้นจะไม่เย็นลงอย่างรวดเร็วในตอนกลางคืนเพราะความร้อนยังแฝงอยู่ในไอน้ำของชั้นบรรยากาศ

                   เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity หรือเราอาจะเรียกเซนเซอร์ความชื้นสมบูรณ์ (Absolute Humidity Sensor) ประกอบด้วยเทอร์มิสเตอร์ 2 ตัว ต่ออยู่ในวงจรบริดจ์โดยเทอร์มิสเตอร์ตัวหนึ่งบรรจุอยู่ในแคปซูลที่มีก๊าซไนโตรเจน และเทอร์มิสเตอร์อีกตัวหนึ่งถูกวางอยู่ในบรรยากาศ กระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านเทอร์มิสเตอร์ทั้งสอง ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นในตัวเทอร์มิสเตอร์มากกว่า 200๐C และความร้อนที่กระจายออกจากเทอร์มิสเตอร์ในแคปซูลจะมากกว่า เทอร์มิสเตอร์ที่อยู่ในบรรยากาศ ความแตกต่างของอุณหภูมิของเทอร์มิสเตอร์ทั้งสองนี้ เป็นความต่างของการนำความร้อนของไอน้ำเทียบเก็บไนไตรเจนแห้ง ความแตกต่างของค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์จึงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความชื้นสมบูรณ์

                   เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity มีความทนทานสูงและทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงถึง 300๐C และยังทนต่อไอระเหยสารเคมีได้เป็นอย่างดีจากคุณสมบัติที่ดีของวัสดุโครงสร้างเครื่องที่ไม่มีปฏิกิริยาทางสารเคมี เช่นแก้ว สารกึ่งตัวนำ ที่ใช้สร้างเทอร์มิสเตอร์พลาสติกทนอุณหภูมิสูงหรืออะลูมิเนียม

     

                   โดยทั่วไปแล้วจะมีการใช้เซนเซอร์แบบ Thermal Conductivity ในงานอุตสาหกรรมอบผ้าทั้งแบบที่ใช้ไมโครเวฟ หรือแบบที่ใช้ไอน้ำ รวมทั้งอุตสาหกรรมอบไม้ อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ และการผลิตสารเคมีต่าง ๆ ทั้งนี้เซนเซอร์แบบนี้มีความแยกแยะที่ดีกว่าเซนเซอร์แบบอื่น ที่ระดับอุณหภูมิสูงกว่า 200๐F นอกจากนี้ก็อาจมีการใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำระดับ +3g/m3 ซึ่งเมื่อแปลงไปเป็นค่าความชื้นจะได้เท่ากับ ±5%RH ที่ 40๐C และ ±0.5% RH ที่ 100๐C

     

Contact Us