0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

โพรบ

  • Training และ ตรวจเช็ค pH Controller PONPE 590

    Project: เข้าไปดูตัวเครื่อง pH controller PONPE 590 ที่มีปัญหา และตรวจเช็คโพรบ

    สถานที่: 75/16 หมู่ 5 ซ.วัดโสภณาราม  ถ.เอกชัย ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

    วันที่: 1 พฤศจิกายน 2561

     PONPE 590

    • 1
    • 2
    • 3
  • การทำความสะอาดโพรบ PH-1110A

    PH-1110A

    วิธีการทำความสะอาดโพรบ PH-1110A 

    การใช้งานตัวเครื่อง pH controller เป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการดูแลรักษา ส่วนมากจะพบปัญหาที่หัววัดหรือโพรบวัดเพราะเป็นส่วนที่อยู่กับน้ำตลอดเวลา

    วิธีการตรวจเช็คเบื้องต้น และวิธีสังเกตว่าโพรบที่ใช้อยู่นั้นมีปัญหาหรือไม่

    1.ให้เราตรวจเช็คโดยการไปปรับเทียบหรือ Cal กับน้ำยามาตราฐาน ที่ 4, 7, 10pH 
    2.ถ้านำโพรบไปจุ่มกับน้ำยามาตรฐาน 7 แล้วตัวเครื่องอ่านได้ 4 หรือเอาไปจุ่มที่ 4 แล้วตัวเครื่องอ่านได้ 2 แสดงว่าตัวโพรบนั้นมีปัญหา 

    ในส่วนของการใช้งานเราควรนำโพรบมาทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 

    1.ลักษณะโพรบที่ไม่มีการถอดออกมาทำความสะอาด และใช้งานกับน้ำเสียที่มีความสกปรกมากจึงทำให้ โพรบ ไม่สามารถวัดค่าได้

    PH-1110A

    2.แกะโพรบออกมาทำความสะอาดถ้าโพรบมีส่วนที่ปิดกระเปาะแก้ว ให้เรานั้นหมุนที่ครอบออกให้หมุนออกทางซ้าย

    PH-1110A

    3.เมื่อหมุนออกมาแล้วให้สังเกตุที่ตัวกระเปาะแก้วว่ามีคราบสกปรกเกาะอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้ล้างทำความสะอาดโดยใช้แปรงที่มีลักษณะอ่อนและนุ่มค่อยๆ ทำความสะอาด หรือถ้ามีคราบมันเกาะให้ใช้น้ำสะอาดผสมกับน้ำยาล้างจาน แล้วใช้ทำความสะอาดเบาๆ 

    PH-1110A

    4.เมื่อทำความสะอาจเสร็จแล้วให้ลองนำไปปรับเทียบกับ น้ำยามาตราฐาน ค่า 4, 7, 10pH

    5.ถ้าตัวโพรบไม่มีการใช้งาน แนะนำให้เก็บในฝาที่ครอบปลายโพรบมา โดยในฝาจะมีฟองน้ำให้เติมน้ำยารักษาหัววัดลงไป เพื่อเป็นการเก็บรักษาไม่แนะนำให้ใช้น้ำกลั่น 

    PH-1110A

  • การใช้กระดาษทรายละเอียดทำความสะอาดโพรบ DO ของเครื่อง DO900 และ DO700

    การใช้กระดาษทรายละเอียดทำความสะอาดโพรบ DO ของเครื่อง DO900 และ DO700

     

    การใช้กระดาษทรายละเอียดทำความสะอาดโพรบ DO ของเครื่อง DO900 และ DO700

     

    การใช้กระดาษทรายละเอียดทำความสะอาดโพรบ DO ของเครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ รุ่น DO900 และเครื่องวัดกรดด่าง รุ่น DO700

    กระดาษที่ใช้ทำความสะอาดจะมีมาให้อยู่ด้านบนของตัวเครื่อง

    กระดาษที่ใช้ทำความสะอาด

    ลักษณะโพรบที่ไม่ได้ทำความสะอาด

    โพรบที่ไม่ได้ทำความสะอาด

    นำกระดาษที่ให้มาขัดรอบๆ รวมถึงบริเวณปลายโพรบด้วย

    นำกระดาษมาขัดโพรบ

    นำกระดาษมาขัดโพรบ

    ลักษณะโพรบที่ทำความสะอาดแล้ว

    โพรบที่ทำความสะอาดแล้ว

     

     

  • วิถีถอด connector เครื่อง DT-620,AN200,AN100 ที่ถูกต้อง

    วิถีการถอด connector

     

    วิถีการถอด connector ของตัวเครื่อง DT-620 และ AN200 , AN100 ที่ถูกต้อง

     

              ในการถอดโพรบ เครื่องวัดความเร็วลม หรือ การถอด connector ของตัวเครื่อง DT-620 และ AN200 , AN100 ที่ถูกต้อง

    ควรจับบริเวณโคนของ connector เพราะว่าถ้าจับบริเวณสายของตัว โพรบ และทำการดึงโพรบออกจะทำให้สายขาดในได้

     

          การถอด connector ที่ถูกต้อง (ดังแสดงในรูปด้านล่าง)

     

    การถอด connector ที่ถูกต้อง
    การถอด connector ที่ถูกต้อง

     

         การถอด connector ที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรทำ (ดังแสดงในรูปด้านล่าง)

     

    การถอด connector ที่ไม่ถูกต้อง
    การถอด connector ที่ไม่ถูกต้อง

     

    ****ห้ามและไม่ควรถอดโดยวิธีนี้เด็ดขาด

  • วิธีการตรวจสอบและถอดโพรบเครื่อง MT200

    วิธีการตรวจสอบและถอดโพรบเครื่อง MT200 ว่าขาดตรง connector หรือไม่

     

    วิธีการตรวจสอบและถอดโพรบเครื่อง MT200 ว่าขาดตรง connector หรือไม่

     

    ในส่วนของตัวเครื่องวัดความหนาเหล็ก รุ่น MT200 ปัญหาที่พบบ่อยคือสายขาดด้านในฝั่ง connector

    ปัญหาเกิดจากผู้ใช้ทำการถอดโพรบไม่ถูกวิธี คือการดึงสายออกโดยตรง

     

    ลักษณะที่ถูกต้องในการถอดโพรบ คือควรจับที่ connector ไม่ควรจับที่สาย 

     

    จับที่ connector ไม่ควรจับที่สาย

     

    ถ้าสงสัยว่าสายขาดฝั่ง connector เราสามารถถอดโพรบออกมาเช็คได้และในส่วนของ connector สามารถหมุนออกได้

     

    หมุน connector ออก

     

    เมื่อหมุน connector ออกมาแล้ว

     

    ถอด connector ออกแล้ว

     

    จากนั้นให้สังเกตุว่าจุดที่บัดกรีนั้นขาดหรือไม่

     

    สังเกตุจุดบัดกรีว่าขาดหรือไม่

     

    ถ้าจุดนี้ขาดให้ใช้หัวแร้งบรัดกรีเข้าไปเหมือนเดิม จากนั้นก็ทำการประกอบเข้าเหมือนเดิม

     

  • วิธีการเก็บรักษา โพรบวัดค่า pH

    1.สำหรับโพรบวัด pH Electrodeนั่นต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากถ้าทำการดูแลรักษาดี การใช้งานถูกวิธี

       ก็จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของโพรบ วัด pH ได้ยาวขึ้น

       -หลังจากเลิกใช้งานทุกครั้งควรล้างหัวโพรบด้วยน้ำกลั่นทุกครั้งก่อนการเก็บ

       -สังเกตุน้ำยารักษาหัววัดว่าแห้งหรือไม่ ถ้าแห้งควรเติมน้ำยารักษาหัววัดโดยเฉพาะลงไป

     

    -ถ้าเป็นเครื่องวัดแบบปากกาควรสังเกตฟองน้ำที่อยู่ในฝาว่าแห้งหรือไม่ถ้าแห้งก็ควรเติม น้ำยาทำความสะอาดหัววัด ลงไปในฝาเติมลงไปพอให้ฟองน้ำเปียกพอประมาณ   

     -ควรสังเกตุน้ำยารักษาหัววัดทุกครั้งว่าแห้งหรือไม่ และ สังเกตุว่า น้ำยารักษาหัววัด ที่ใช้อยู่นั้นสกปรกหรือไม่ถ้าสกปรกหรือหรือมีตะกอนควรเปลี่ยนทันที

     -ไม่ควรใช้น้ำกลั่นหรือน้ำประปาและน้ำDI ในการเก็บรักษาหัววัด

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                      

     

  • วิธีการเสียบโพรบ EC900 CON900 DO900 pH900 อย่างถูกต้อง

    วิธีการเสียบโพรบ EC900 CON900 DO900 pH900 อย่างถูกต้อง

     

    วิธีการเสียบโพรบ ของตัวเครื่อง EC900 CON900 DO900 pH900 อย่างถูกต้อง

     

    ถ้าหากเสียบโพรบ ผิดวิธีอาจจะทำให้ Pin ของ connector ที่ตัวเครื่องและตัวโพรบหักได้

     

    EC900

                      รูปแสดง Pin ของ connector ที่หัก

     

    วิธีการเสียบ connector ของตัว โพรบและตัวเครื่อง EC900 CON900 DO900 pH900 จากรูปด้านล่าง

       ให้สังเกตุ หมายเลข 1 ให้ตรงกับ หมายเลข 1   หมายเลข 2 ให้ตรงกับหมายเลข 2 

       แล้วใส่ Probe เข้าไปตรงๆ ห้ามหมุนเด็ดขาด ถ้าหมุนจะทำให้ pin หักได้

     

     

  • วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเครื่อง DO900 ไม่สามารถวัดค่าออกซิเจนได้

    วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเครื่อง DO900 ไม่สามารถวัดค่าออกซิเจนได้

     

    1.เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาหน้าจอจะแสดงค่า 0.3 หรือ 0.00 m/L แสดงว่าตัวเครื่องไม่สามารถวัดค่าได้

       1.1 ถ้าทำการต่อโพรบและ เติมสารละลาย DO electrode inner (DO502) ตัวจะแสดงค่าที่

    6.5-9.0m/L หลังจากการ คาริเบท เฟรชแอร์

       1.2ปัญหาในส่วนนี้เกิดจาก สารละลาย DO electrodeinner แห้งหรือ ไม่ได้เติมใส่ลงไปในตัว

    เมมเบรน

    2.ให้ทำการถอดหัวเมมเบรนออก โดยการหมุนออกทางซ้ายมือ 

    3.จะสังเกตเห็นว่าสารละลาย DO electrode inner แห้งหรือไม่ได้เติมลงไป

    4.นำ DO electrode inner (DO502)

    5.เติมสารละลาย DO electrode inner (DO502)ลงไป2-3หยด โดยห้ามมีฟองอากาศ

    6.จากนั้นทำการใส่หัวเมมเบรน โดยการหมุนไปทางขวา

    7.และนำกระบอกสีขาวมาใส่ไว้กับโพรบ เหมือนเดิม

    8.จากนั้นทำการเปิดเครื่องโดยกดปุ่ม ON/OFF

    9.เมื่อเปิดเครื่องแล้วรอจนกว่าตัวเลขจะนิ่งแล้วกดปุ่ม CAL เมื่อกดปุ่ม CAL แล้วจะเห็นไอคอน CAL 

    กระพริบทางด้านบนขวามือ 

    10.จากนั้นกดปุ่ม CAL อีกครั้งนึง หน้าจอจะแสดงค่าที่ 100% 

    11.จากนั้นปล่อยมือ แล้วรอจนกว่าหน้าจอจะแสดงคำว่า End

     

    12.เมื่อไอคอน คำว่า End ขึ้นแล้วหน้าจอจะแสดงเข้าสู้โหมดการวัดปกติ โดยทั่วไปแล้วถ้าเราทำการ

    คาริเบทเฟรชแอร์แล้วค่าจะอยู่ที่6.5-9.0 โดยที่ไม่ได้ถอดกระบอกสีขาวออก

     

     

  • วิธีทำความสะอาดหัววัด ph controller

    วิธีทำความสะอาดหัววัด ph controller

     

    วิธีทำความสะอาดหัววัด ph controller

     

    ลักษณะหัววัดที่ไม่ได้ทำความสะอาด

     

    หัววัดที่ไม่ได้ทำความสะอาด

     

    วิธีการบำรุงรักษาหัววัดควรทำเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งานของหัววัด การทำความสะอาดทำได้โดยการนำหัววัดมาล้างด้วย

    น้ำสะอาด หรือถ้าหัววัดมีความสกปรกมากให้ใช้น้ำยาล้างจานเจือจางกับน้ำสะอาด โดยทำการแกว่งหัววัดในน้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างจานที่เจือจางแล้ว

     

    ลักษณะวิธีการแกว่งหัววัดในน้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างจานที่เจือจาง

     

    วิธีการแกว่งหัววัดในน้ำสะอาด

     

    ควรตรวจเช็คหัวโพรบ PH อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 

    ในส่วนของการปรับเทียบกับค่า PH มาตารฐานควรทำท 1-2 ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นการตรวจเช็คหัววัด ว่ายังสามารถใช้ได้อยู่หรือไม่ แล้วยังช่วยเช็คค่า

    ความถูกต้องและความแม่นยำในการวัดอีกด้วย ควรใช้น้ำยา PH มาตารฐานที่ค่า 4,7,10 ในการปรับเทียบ

     

  • วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Testo 925 ไม่สามารถเสียบ Probe ได้

    วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Testo 925 ไม่สามารถเสียบ Probe แบบ Type K ได้

     

    วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Testo 925 ไม่สามารถเสียบ Probe แบบ Type K ได้

     

    -ในกรณีที่ไม่สามารถเสียบ Probe แบบ Type K เครื่อง Testo 925 ได้ ให้เราสังเกตว่าเสียบถูกขั่วหรือไม่

    ขั่วลบจะมีขนาดใหญ่ กว่าขั่วบวก 

    -ในกรณีที่เราซื้อ Probe แบบ Type K ไปแล้วเห็นว่า Probe อันเก่าเรานั้นมีลอยหยัก ตรงขั่วลบ แต่ซื้ออันใหม่มากับไม่มีลอยหยักตรงขั่วลบ

    สังเกตว่าเสียบถูกขั่วหรือไม่

    -ในกรณีที่ซื้อ Probe แบบ Type K มาแล้ว Probe ของใหม่นั้นไม่สามารถใส่กับตัวเครื่องได้ (ดังแสดงในรูปด้านล่าง)..ถ้าในกรณีนี้ ให้เราดูขั่วให้ตรง แล้วดันลงไปให้สุด 

    -เพราะว่า Probe Type K อาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบในการผลิต 

    -ถ้าสังเกตเห็นว่า Probe Type K อันเก่ามีลอยหยัก ตรงขาลบแต่อันใหม่ไม่มี ดังนั้นเราไม่ต้องไปคำนึงถึงลอยหยัก ให้เราดูขั่วให้ตรงกันและสังเกตุสัญญาลักษณ์ Type K ที่ โพรบ

    -หรือถ้าไม่มั่นใจ ก็ติดต่อสอบถามทางตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ผลิต

    ดูขั่วให้ตรง แล้วดันลงไปให้สุด

    -เมื่อดันเขาไปจนสุดแล้วโพรบสามารถใช้งานได้

    ดันเขาไปจนสุด

    -สังเกตสัญญาลักษณ์ของ Probe Type K บนตัว Probeก็ได้

    สังเกตสัญญาลักษณ์บนตัว Probe
  • วิธีแก้ไขในกรณีที่ Probe DO ไม่สามารถวัดค่าได้

    จุดที่ต้องทำความสะอาด Probe DO ในกรณีที่ไม่สามารถวัดค่าได้

     

    จุดที่ต้องทำความสะอาด Probe DO ในกรณีที่ไม่สามารถวัดค่าได้

     

    วิธีแก้ไขเบื้องต้นในกรณีที่ไม่สามารถวัดค่า Do ได้

    อันดับแรกให้ตรวจเช็คที่ Probe ก่อน สาเหตุอาจมาจาก

    1.Probe Do มีความสกปรก

    2.น้ำยา electrolyte แห้ง

    3.หัว Membrane ขาด

     

    ในกรณีที่โพรบสกปรก เราสามารถทำความสะอาด Probe ได้ โดยจุดที่ต้องทำความสะอาดจะมีสองจุด

    เราจะต้องใช้กระดาษทรายในการขัดทำความสะอาด (กระดาษทรายจะแถมมาให้ในชุด)

    1.จุดที่เป็นเหมือนสะปริง เพราะถ้าใช้ไปนานๆจะทำให้เกิดคราบสกปรกเกาะบริเวณ สะปริงได้ถ้ามีคราบสกปรกให้ใช้กระดาษทรายขัดออก 

     

    จุดที่เป็นเหมือนสะปริง

     

    2.จุดที่สองสังเกตุตรงที่หัวเป็นทองแดง ว่ามีความสกปรกหรือไม่ ถ้ามีให้ทำความสะอาดหรือใช้กระดาษทรายขัดเบาๆระวังอย่าให้ทองแดงหลุด  

     

    หัวที่เป็นทองแดง

     

    เมื่อทำความสะอาดทั้งสองจุดนี้แล้วจากนั้นก็ทำการ คาริเบทเฟสแอร์ หลังจากคาริเบทเฟสแอร์แล้วค่าจะอยู่ประมาณ 6-9 mg/l

     

    คาริเบทเฟสแอร์

     

Contact Us