WBGT

อุณหภูมิเวตบัลโกลบ 

 

 (Wet Bulb Globe Temperature : WBGT)

          ซึ่งการวัดอุณหภูมิแบบเวตบัลโกลบหรือ WBGT  ซึ่งเป็นการวัดดัชนีความร้อน วัดสภาพความร้อน ของสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อม

ในการทํางาน (จะมีหน่วยวัดเปนองศาเซลเซียส หรือ องศาฟาเรนไฮท์) จะนําเอาผลกระทบต่อความร้อนที่สะสมในร่างกายมาพิจารณา คือ

ความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกายขณะทํางาน และความร้อนจากสิ่งแวดล้อมในการทํางาน ในส่วนของความร้อนจากสิ่งแวดล้อมในการทํางานจะ

ถูกถ่ายเทมายังร่างกาย ได้หลักๆ อยู่ 3 วิธีคือ การนํา การพา และการแผรังสีความร้อน หรือบางครั้งอาจจะมาจากการทำงานหรือปริมาณงาน

ที่เยอะและความหนักเบาของงาน ในส่วนของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะสามารถใช้ชีวิตเมื่อความร้อนภายในร่างกายคงที่ในระดับที่เหมาะสม

ในส่วนของอุณหภูมิภายในร่างกายของมนุษย์อาจเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่มีผลกระทบต่อการทํางานของรางกาย นั่นคือ ประมาณ

37 ± 1°C   ดังนั้นร่างกาย จึงจะพยายามควบคุมอุณหภูมิใหคงที่ ตลอดเวลาด้วยกลไกต่างๆ เช่น การหลั่งเหงื่อ การทำให้รู้สึกกระหายน้ำ

การทำให้เลือดไหลเวียนมาที่ผิวเพื่อคายความรอน ส่วนใหญ่แหล่ง ความรอนที่มีอิทธิพลต่อความร้อนในร่างกายมนุษย์ก็จะมาจากความร้อนที่

เกิดขึ้นภายในร่างกายจากการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้สร้างพลังงาน และความร้อนจากสิ่งแวดลอมภายนอก ซึ่งความร้อนจากทั้งสองแหล่งนี้

สามารถถ่ายเทระหว่างกันได้ จากแหล่งที่มีระดับความร้อนสูงกว่าไปยังแหล่งที่มีความร้อนต่ำกว่า โดยการนํา การพา และการแผ่รังสีความร้อน

ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับความรอนภายในร่างกายให้คงที่ ที่ 37 ± 1°C

อันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพ

          ลมแดด (Heat Stroke) และการเปนลม (Heat Syncope) เกิดขึ้นในภาวะที่ร่างกายต้องเผชิญกับ อากาศร้อนเป็นเวลานานจะทําให้อุณหภูมิใน

ร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 41 – 42°C  จะมีอาการของลมแดด และอาจเกิดภาวะช็อค (Shock) ได้

          การอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion) เกิดขึ้นจากระบบหมุนเวียนของเลือดไป  เลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ 

          การขาดน้ำ (Dehydration) การสูญเสียเหงื่อย เป็นการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายไปเป็นจำนวนมากจะทำให้ รู้สึกกระหายน้ำ  

ผิวหนังแห้ และรูสึกไม่สบาย