Sound

 

เสียงและอันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากเสียง

 

          เสียง (Sound) คือ พลังงานรูปหนึ่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของโมเลกุลของอากาศ ทำให้เกิด การอัดและขยายสลับกันของโมเลกุลอากาศ ความดันบรรยากาศ

จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนที่ ของโมเลกุลอากาศ เรียกว่า คลื่นเสียง

          ความถี่ของเสียง (Frequency of Sound) หมายถึง จำนวนครั้งของการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศตามการอัดและขยายของโมเลกุลอากาศในหนึ่งวินาที

หน่วยวัด  คือ รอบต่อวินาที หรือ เฮิรตซ์ (Hertz ; Hz)

          เสียงดัง (Noise) หมายถึง เสียงซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของคนเพราะทำให้เกิดการ รบกวนการรับรู้เสียง ที่ต้องการหรือความเงียบ และเป็นเสียงที่เป็นอันตรายต่อการ

ได้ยิน ความดังเสียงขึ้นอยู่กับความสูงหรือ แอมปลิจูด (Amplitude) ของคลื่นเสียง ส่วนความทุ้มแหลมของเสียงขึ้นกับความถี่ของเสียง

เดซิเบลเอ ; dBA หรือ เดซิเบล (เอ) ; dB(A) เป็นหน่วยวัดความดังเสียงที่ใกล้เคียงกับการตอบสนอง ต่อเสียงของหูมนุษย์

TWA ; Time Weighted Average ค่าเฉลี่ยระดับความดังเสียงตลอดระยะเวลาการสัมผัสเสียง

 

อันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากเสียง

          การได้รับหรือสัมผัสเสียงดังในระยะเวลานาน ก่อให้เกิด การสูญเสียการได้ยิน หรือ ความสามารถในการได้ยินเสียงลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีการได้ยินปกติ

การสูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียงดังโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับปัจจัย สำคัญ คือ ระดับความดังเสียง ชนิดของเสียง ระยะเวลาที่ได้รับ เสียงต่อวันและตลอดอายุการทำงาน

นอกจากนี้ยังพบปัจจัยอื่นที่มีส่วนเกี่ยว ข้องทำให้เกิดเกิดการสูญเสีย การได้ยิน เช่น ความไวต่อเสียงในแต่ละบุคคล อายุ สภาพแวดล้อมของแหล่งเสียง ฯลฯ

          การสูญเสียการได้ยิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และการสูญเสีย การได้ยินแบบถาวร การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว จะเกิด

ขึ้นจากการสัมผัสเสียงดังเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เซลล์ขนกระทบกระเทือนไม่สามารถทำงานได้ชั่วคราวแต่เซลล์ขนจะกลับสู่สภาพเดิมได้หลังสิ้นสุดการ สัมผัสเสียงดัง

เป็นเวลาประมาณ 14 – 16 ชั่วโมง แต่การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร จะไม่สามารถทำการ รักษาให้การได้ยินกลับคืนสภาพเดิมได้

          มนุษย์จะได้ยินเสียงในช่วงความถี่ตั้งแต่ 20 – 20,000 เฮิรตซ์ ถ้าต่ำกว่า หรือสูงกว่านี้จะไม่สามารถ รับรู้ได้โดยทั่วไปการสูญเสียการได้ยินจะเริ่มที่ความถี่ 4,000

เฮิรตซ์เป็นลำดับแรก ในระยะเวลาต่อมา จึงจะสูญเสียการได้ยินที่ความถี่สูงกว่าหรือ ต่ำกว่า ที่ความถี่ 4,000 เฮิรตซ์ ส่วนความถี่ของการสนทนาซึ่งมี ความถี่ต่ำ คือ ที่ 500

ถึง 2,000 เฮิรตซ์ จะสูญเสียช้ากว่า ที่ความถี่สูง

          วิธีการสังเกตเบื้องต้นว่าสิ่งแวดล้อมการทำงานของเรา มีเสียงดังที่อาจเป็นอันตรายต่อการได้ยิน หรือไม่ ทดสอบได้โดยยืนห่างกัน 1 เมตร แล้วพูดคุยกันด้วยเสียง

ปกติ ถ้าไม่สามารถได้ยินและต้องพูดซ้ำๆ หรือตะโกนคุยกัน แสดงว่าสภาพแวดล้อมการทำงานนั้นมีความดังเสียงประมาณ 90 เดซิเบลเอ หรือมากกว่าเสียงดังตลอดเวลาการ

ทำงาน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานได้ทั้งนี้เพราะเสียงดังทำให้ พฤติกรรม ส่วนบุคคลเปลี่ยนแปลง เช่น บางคนอาจรู้สึกเชื่องช้า ต่อการตอบสนองต่อสัญญาณต่าง ๆ

ความว้าวุ้นใจจนทำงานผิดพลาดจนเกิดอุบัติเหตุขึ้น นอกจากนี้ยังรบกวนการติดต่อสื่อสาร ทำให้ผู้ปฏิบัติงาน ไม่ได้ยินสัญญาณอันตราย ที่ดังขึ้นหรือไม่ได้ยินเสียงเตือนของ

เพื่อนพนักงานจนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้