Your shopping cart is empty!
การประยุกต์ใช้อินฟราเรดในอุตสาหกรรม
การประยุกต์ใช้อินฟราเรดในอุตสาหกรรม
ก่อนที่จะนำอินฟราเรดมาทำการการประยุกต์ใช้นั้นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า อินฟราเรด หรือ คลื่นรังสีอินฟราเรดคืออะไร คลื่นรังสีอินฟราเรด
(Infrared (IR) มีคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีใต้แดงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิดหนึ่งแผ่มาจากดวงอาทิตย์ ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ
Sir William Herschel ในปี 1800 จากการทดลองวัดอุณหภูมิของแถบสีต่างๆ ที่เปล่งออกมาเป็นสีรุ้ง จากปริซึม และพบว่าอุณหภูมิความร้อนจะเพิ่มขึ้นตาม
ลำดับ และสูงสุดที่แถบสีสีแดงการที่เขาเลื่อนเทอร์โมมิเตอร์จากแถบสีที่ไม่สว่างไปยังแถบสีสีแดง ซึ่งเป็นแถบสีที่สิ้นสุดของสเปกตรัมและอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น
ลำดับ ซึ่งขอบเขตดังกล่าวนี้เรียกว่า "อินฟราเรด" (ของเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดง) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร – 1 มิลลิเมตร ถี่
ในช่วง 1011–1014 เฮิร์ตซ์ มีคุณสมบัติไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ความถี่ยิ่งสูงมากขึ้นพลังงานก็สูงขึ้นตามไปด้วย เป็นคลื่นที่มีความถี่ถัดจากความถี่
ของสีแดงลงมา มนุษย์จึงไม่สามารถมองเห็นรังสีอินฟราเรดได้ แต่สามารถรู้สึกถึงความร้อนได้ ในการการประยุกต์ใช้งานนั้น อินฟราเรดสามารถนำไปประยุกต์
ใช้งานได้หลากหลายตัวอย่างที่จะพูดถึงนี้คือ กล้องอินฟราเรด โดยกล้องชนิดนี้จะมองไม่เห็นภาพจริง แต่มันจะจับพลังงานรังสีอินฟราเรด โดยพลังงานของ
รังสีอินฟราเรด จะแผ่จากวัตถุส่งผ่านเลนส์ของกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera) และจะถูกโฟกัสโดยเลนส์ไปยังตัวตรวจจับ โดยที่
เซนเซอร์จะทำการแปลงรังสีอินฟราเรดให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า และหลังจากนั้นอิเลคทรอนิกส์เซนเซอร์จะทำการแปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับ จึงจะ
แสดงผลบนจอภาพได้ ซึ่งวัตถุที่ร้อนกว่าจะแสดงสีสว่าง และวัตถุที่เย็นกว่าจะแสดงสีมืดกว่า เนื่องจากพลังงานความร้อนจะสะท้อน (Refected) พื้นผิวที่แวววาว
จึงทำให้กล้องถ่ายภาพความร้อนเกิดข้อจำกัด ที่ไม่สามารถมองผ่านแก้วได้ การใช้กล้องอินฟราเรดตรวจสอบในงานอุตสาหกรรม กล้องอินฟราเรดถูกนำไป
ประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการใช้ตรวจสอบในอุตสาหกรรม การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และการบำรุง
รักษาเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า (Predictive Maintenance) เช่น ตรวจสอบว่าฉนวนถูกติดตั้ง ในสภาพที่ดี, หาตำแหน่งอากาศรั่วไหล, วงจรไฟฟ้าที่โอเวอร์โหลด,
การตรวจสอบความร้อนที่สูญเสียในอาคาร, การหาตำแหน่งของสายไฟหรือท่อที่มีความร้อน, การตรวจสอบแบริ่ง, กล้องอินฟาเรดที่สามารถจับภาพได้แม้ใน
เวลากลางคืน, การตรวจสอบการรั่วของฉนวนในอุปกรณ์ทำความเย็น เป็นต้น และยังสามารถวัดอุณหภูมิจากระยะไกลโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด
(Infrared Thermometer) ที่อ้างถึงอุณหภูมิจากส่วนหนึ่งของการแผ่รังสีความร้อน รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากวัตถุที่ถูกวัด เรียกว่า เครื่องวัด
อุณหภูมิเลเซอร์ ถ้าเลเซอร์จะใช้เพื่อช่วยจุดมุ่งหมายที่วัดอุณหภูมิ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสหรือปืนอุณหภูมิที่สามารถวัดอุณหภูมิจากระยะไกล
โดยจะทราบปริมาณของพลังงานอินฟราเรดที่ปล่อยออกมาจากวัตถุ เป็นต้น