Flammable

อันตรายจากสารไวไฟ

            สารเคมีที่ติดไฟได้อาจอยู่ในรูปของ ของแข็ง ของเหลว ไอ หรือ ก๊าซ ก็ได้ โดยทั่วไปจะมีสมบัติที่ติดไฟได้อย่างรวดเร็วและเกิดการเผาไหม้ได้ในอากาศ อันตรายที่

เกิดบ่อยครั้งมากที่สุดมักเกิดจากการติดไฟเนื่องจากไอของของเหลวที่ระเหยได้ดี อันตรายจากการติดไฟ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องคือทำให้เกิดการระเบิดของ

สารเคมีที่จัดเก็บไว้ในบริเวณใกล้เคียงได้

          การเกิดไฟไหม้ขึ้นได้จะต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนร่วมกัน องค์ประกอบแรกคือ ออกซิเจน หรือ อากาศ หรือสารเคมี ที่สามารถทำปฏิกิริยาให้ ออกซิเจน ออก

มาได้ องค์ประกอบที่สองคือ เชื้อเพลิง ซึ่งรวมทั้งสารไวไฟ และ องค์ประกอบสุดท้ายคือ แหล่งจุดติดไฟ ได้แก่ ความร้อนหรือประกายไฟ การป้องกันไฟไหม้จะทำได้โดยการ

แยกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกไป ไฟก็ไม่สามารถจะลุกติดขึ้นได้ แต่จะเห็นได้ว่าในสภาพแวดล้อมของบรรยากาศในการทำงานโดยทั่วไป การแยกเอาองค์ประกอบ

ที่หนึ่งคืออากาศออกไปจะทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นในการป้องกันไฟไหม้จึงมักจะเน้นที่การแยกแหล่งจุดติดไฟคือ ประกายไฟหรือความร้อนให้ห่างออกไปจากแหล่งเชื้อเพลิง

หรือ สารไวไฟ

 

ในส่วนของความสามารถในการติดไฟได้ของสารไวไฟนั้น ควรคำนึงถึงสมบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของสารเคมี คือ

1. จุดวาบไฟ

จุดวาบไฟ หมายถึงอุณหภูมิต่ำสุดที่จะทำให้ของเหลวหรือสารเคมีเกิดการระเหยเป็นไอที่มีความเข้มข้นในอากาศเพียงพอที่จะเกิดการลุกติดไฟได้เมื่อมีเปลวไฟจ่ออยู่ที่

ผิวหน้าของของเหลวนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเคมีอินทรีย์ มีจุดวาบไฟที่ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง  เช่น แอซีโทน ( -18 องศาเซลเซียส)

เบนซีน (-11.1 องศาเซลเซียส) หรือ เมทานอล (11.1 องศาเซลเซียส) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหากแอซีโทน (Acetone)  เกิดรั่วไหล  หรือหกเลอะ ก็จะมีโอกาสที่ทำให้เกิด

การลุกไหม้ได้โดยง่ายเมื่อมีแหล่งประกายไฟหรือความร้อนเพียงเล็กน้อยอยู่ในบริเวณนั้น

2. อุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เอง

อุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เอง หมายถึงอุณหภูมิต่ำสุด ที่ทำให้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว ไอ หรือ ก๊าซ  เกิดการติดไฟขึ้นได้เองในอากาศโดยไม่ไม่จำเป็นต้องมี

แหล่งจุดติดไฟ ดังนั้นสารเคมีที่มีอุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เองต่ำ   จะมีความเสี่ยงในการลุกติดไฟเองได้มาก ตัวอย่างเช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์  (Carbon disulfide) มีอุณหภูมิ

ที่จุดติดไฟได้เองที่ 90 องศาเซลเซียส จะสามารถลุกไหม้ได้เองโดยความร้อนจากหลอดไฟ แสงสว่างไดเอทิลอีเทอร์ (Diethyl ether) มีอุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เองที่ 160

องศาเซลเซียส สามารถลุกติดไฟทันทีที่หกราดบนพื้นเตาไฟฟ้า โดยไม่ต้องมีประกายไฟ หรือเปลวไฟเลย

3. ขอบเขตของการติดไฟ

สารไวไฟ โดยทั่วไปจะมีขอบเขตที่จะติดไฟได้อยู่ระหว่างค่า 2 เรียกว่า ค่าต่ำสุดของการติดไฟหรือการระเบิด (Lower Explosive Limit หรือ LEL) และ ค่าสูงสุดของการติด

ไฟหรือการระเบิด Upper Explosive Limit  หรือ  UEL ค่าต่ำสุดของการติดไฟ  (LEL) หมายถึงความเข้มข้นต่ำสุดของก๊าซ หรือ ไอของสารไวไฟในหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ

ปริมาตรในอากาศ ที่จะทำให้เกิดการไหม้ลุกลามขึ้นได้เมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ ส่วนค่าสูงสุดของการติดไฟ (UEL) หมายถึง ความเข้มข้นสูงสุดของก๊าซ หรือ ไอของสารไวไฟ

ในหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตรในอากาศ  ที่จะทำให้เกิดการไหม้ลุกลามขึ้นได้เมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ  หากค่าของความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศต่ำกว่าค่าต่ำสุด หรือ

สูงกว่าค่าสูงสุดของการติดไฟ หรือการระเบิดแล้วจะไม่ทำให้เกิดการติดไฟ หรือการระเบิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีองค์ประกอบของการติดไฟครบทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ออกซิเจน

ความร้อนหรือประกายไฟ และเชื้อเพลิง ดังนั้นช่วงของการติดไฟหรือการระเบิดได้ของสารเคมีก็คือช่วงที่ค่าความเข้มข้นไอของสารเคมีนั้นอยู่ระหว่าง LEL กับ UEL นั่นเอง

ซึ่งค่า LEL และ UEL ของสารเคมีแต่ละชนิดจะต้องมีอุณหภูมิที่ทำการวัดกำกับไว้ด้วยเสมอ เพราะความเข้มข้นของสารเคมีจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง