เครื่องวัดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

การเลือกใช้เครื่องวัดสนามแม่เหล็กสนามไฟฟ้า (EMF/ELF Meter)

สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า (Electric and Magnetic Field: EMFs) หมายถึง เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้น ระหว่างวัตถุที่มีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมกันเรียก สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)

สนามแม่เหล็กไฟฟ้าสถิต  หรือ แม่เหล็กถาวร จะเรียกว่า (Static Field หรือ DC Field
สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนตามเวลา(เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า)จะเรียกว่า (Dynamic Field หรือ AC Field)

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ


1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น สนามแม่เหล็กโลก คลื่นรังสีจากแสงอาทิตย์ คลื่นฟ้าผ่า คลื่นรังสีแกมมา เป็นต้น
2. เกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์   แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
- แบบตั้งใจ คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อที่จะใช้ประโยชน์โดยตรงจากคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่สร้างขึ้นนี้
- แบบไม่ได้ตั้งใจ คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์  โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ประโยชน์โดยตรงจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น

การเลือกเครื่องวัดสนามแม่เหล็ก และ สนามไฟฟ้า

สนามไฟฟ้าเกิดจากประจุหรือแรงดันที่ไหลในสายไฟโดยไม่สนใจกระแสไฟโดยจะวัดเป็นค่า(Volts per meter: V/m)
สนามแม่เหล็กเกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำหน่วยที่ใช้วัด คือ เกาส์ (Gauss: G) หรือ เทสลา (Tesla: T)

เครื่องวัดสนามแม่เหล็ก

 

ตัวอย่างเครื่องมือวัดค่าสนามไฟฟ้า รุ่น EMF450           ตัวอย่างเครื่องมือวัดค่าสนามแม่เหล็ก รุ่น MF100

 

สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำและแรงดันที่ไหลในสาย

แผนภูมิ

        ผลกระทบของการสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กจากภายนอกต่อร่างกาย โดยหลักๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับค่าความถี่และขนาดของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ค่าความถี่เรียกง่ายๆ คือ จำนวนรอบการแกว่งของสัญญาณ  ตัวเครื่องวัดเกี่ยวกับสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กจะต้องเป็นเครื่องที่มีความถี่มาเกี่ยวข้อง  ส่วนใหญ่จะเน้นวัดใต้ สายส่งไฟฟ้า   จานคลื่นวิทยุ  เสาอากาศ เป็นต้น  

หน่วยที่ใช้วัด คือ: V/m  mA/m , µW/m2 +   Hz

       การวิจัยและพัฒนาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยได้กำหนดระดับสูงสุดของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่เกิดจากระบบไฟฟ้าความถี่ต่ำ (50 Hz) ที่ประชาชนสามารถสัมผัสได้อย่างปลอดภัยไว้ดังแสดงในตาราง

Research

เครื่องมือวัดค่าสนามไฟฟ้าสนามแม่เหล็ก จึงมีส่วนสำคัญเพื่อให้ตรงกับลักษณะงานและกำหนดค่าระดับความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน

 

ตัวอย่างเครื่องมือวัดค่าสนามไฟฟ้าสนามแม่เหล็ก

 

เครื่องวัดสนามแม่เหล็ก

         TM-192D

เครื่องวัดสนามแม่เหล็ก

         480826

         SDL900