Your shopping cart is empty!
กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope )
กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope )
กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope ) คืออะไร กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการส่องขยายวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แผงอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด หรือเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ กล้องจุลทรรศน์จึงถูกนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการทดลอง เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนนักศึกษา และใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ เพื่อตรวจสอบวัตถุชิ้นงาน
ประเภทของกล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง และกล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน ซึ่งแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือตัวกล้อง ส่วนรับแสงแบบกระจกหลอดไฟ ปุ่มปรับภาพและเลนส์ที่ทำหน้าที่ขยายวัตถุ ดังนั้นการเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ดี ควรเลือกกล้องที่ประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่จะสามารถปรับโฟกัสการขยายวัตถุให้มองเห็นผ่านเลนส์ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ( Light Microscope ) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีกำลังขยายถึง 2,000 เท่าและเป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ราคาถูก กล้องชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงแบบธรรมดา ประกอบด้วยเลนส์ 2 ชนิดคือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา โดยใช้แสงผ่านวัตถุแล้วขึ้นมาที่เลนส์จนเห็นภาพที่บนวัตถุอย่างชัดเจน กล้องที่ใช้แสงแบบสเตอริโอ ( Stereo Microscope ) เป็นกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ที่ทำให้เกิดภาพ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย
สินค้ารุ่น NTX-3C สินค้ารุ่น BVM-20105
2. กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน ( Electron Microscope ) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ลำแสงอิเล็กตรอนแทนแสงปกติและใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว มีกำลังขยายสูงถึง 500,000 เท่า สูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่มีกำลังแค่ 2,000 เท่า เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพและความละเอียดสูง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กล้องจุลทรรศน์แบบส่องผ่าน ( Transmission Electron Microscope: TEM ) และกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด ( Scanning Electron Microscope: SEM )
สินค้ารุ่น TECNAI 20 สินค้ารุ่น JEM-F200
หลักการการทำงานของกล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการมองวัตถุที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเครื่องช่วยดวงตาในการศึกษาลักษณะโครงสร้างของเซลล์ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งกล้องจุลทรรศน์มีความสามารถในการขยาย ( Magnification ) ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการแจกแจงรายละเอียด ( Resolution / Resolving power ) หมายถึงความสามารถของกล้องจุลทรรศน์ในการแยกจุดสองจุด ซึ่งอยู่ใกล้กันที่สุดให้มองเห็น แยกเป็นสองจุดได้ ( Two points of discrimination )
กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope ) รุ่นแนะนำ
กล้องจุลทรรศน์สำหรับงานชีววิทยา เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ในการสังเกตวัตถุที่มีขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านชีววิทยา อุตสาหกรรมการผลิตยา อุตสาหกรรมการเกษตร งานทางด้านการแพทย์ ดังนั้น กล้องจุลทรรศน์สำหรับงานชีววิทยา จึงถูกนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการนำไปใช้ในหน่วยงานทางด้านการศึกษาต่างๆ เพื่อใช้สอนแก่นักเรียน นักศึกษา ตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
สินค้ารุ่น N-180M สินค้ารุ่น BBM-106D
กล้องจุลทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับต่อเข้ากับหน้าจอในการใช้งาน โดยกล้องจุลทรรศน์นี้มีกำลังขยายมากถึง 50-500x เหมาะสำหรับในการใช้งานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เคมี การตรวจสอบในอุตสาหกรรม QC การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ รวมไปถึงการใช้งานสำหรับการเรียนการสอนในสถาบัน กล้องจุลทรรศน์รุ่นนี้ออกมาในรูปแบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถใช้งานเข้ากับตามหลักวัตถุประสงค์ต่างๆ
สินค้ารุ่น BVM-10101 สินค้ารุ่น MC108
กล้องจุลทรรศน์สำหรับส่องดูวัตถุโบราณพระเครื่อง กล้องซ่อมแผงวงจรโทรศัพท์มือถือ ดูพืช สัตว์ สิ่งของขนาดเล็ก Jewelry จิวลี่เครื่องประดับ ดูพื้นผิววัตถุทึบแสงและโลหะ เป็นกล้องที่ดูภาพ เห็นความชัดลึกของภาพ ตลอดจนความชัดเจนของภาพ รายละเอียด และสีสันสดใสมีชีวิตชีวาที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงการป้องกัน ESD แบบบิวท์อิน เลนส์ประสิทธิภาพสูงที่เชื่อถือได้นับเป็นศูนย์รวมในการนำเสนอผลลัพธ์ที่ เที่ยงตรงแม่นยำ
- test7
- Knowledge ความรู้