1. ชื่อและส่วนประกอบต่างๆ เครื่องวัดความหวาน
- ช่องมองภาพ (Eyepiece)
- แผ่นปิดปริซึม (Daylight plate)
- ปริซึมรองรับตัวอย่าง (Prism)
- ด้ามจับ (Grip).
**คำเตือน: เมื่อต้องการใช้เครื่องมือนี้วัดสารละลายที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ทุกครั้งควรใช้ความระมัดระวังในทุกอุปกรณ์ สวมหน้ากากและถุงมือป้องกันสารเคมีทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยกรุณาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรับมือกับสารอันตรายในกรณีที่อาจจะเกิด
2. การสอบเทียบ (calibration)
**ข้อควรระวัง: เครื่องวัดการหักเหของแสงนี้ ต้องการการปรับเทียบค่าก่อนเริ่มการใช้งานครั้งแรกในทุกๆ วันนอกเหนือจากนั้น หากอุณหภูมิในห้องเปลี่ยนในระหว่างวัน เราต้องทำการสอบเทียบค่าใหม่อีกครั้ง
- หยดน้ำกลั่น 1-2 หยด ลงบนปริซึมรองรับสาร (รูปที่ 1)
- ปิดแผ่นปริซึมลงเบาๆ (รูปที่ 2)
- น้ำกลั่นหรือสารละลายจะต้องแผ่สม่ำเสมอบนหน้าปริซึมรองรับสารไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้น (รูปที่ 3)
- มองผ่านช่องมองภาพ หมุนเพื่อปรับค่าขีดบอกปริมาณให้คมชัด (รูปที่ 4)
- ดูเพื่อให้มั่นใจว่าเส้นตัดสีขาวและสีฟ้า ตรงกับขีดบอกปริมาณที่ 0 องศาเซลเซียส (รูปที่ 5)
- ถ้าหากเส้นตัดสีขาวและสีฟ้าไม่ตรงกับขีดวัดบอกปริมาณที่ 0 องศาเซลเซียส หมุนเกลียวสำหรับปรับค่าด้วยไขควงจนกระทั้งเส้นตัดสีขาวและสีฟ้าตรงกับขีดบอกปริมาณที่ 0 องซาเซลเซียส (รูปที่ 6)
**คำเตือน: อย่าหมุนเกลียวปรับค่ามากจนเกินไป อาจจะทำให้เครื่องวัดค่าการหักเหของแสงทำงานผิดพลาด
3. การสุ่มทำการวัดอย่างง่ายและรวดเร็ว
- หยดตัวอย่าง 1-2 หยด ลงบนปริซึมรองรับตัวอย่าง (รูปที่ 1)
- ปิดแผ่นปริซึมลงเบาๆ (รูปที่ 2)
- ตัวอย่างที่ต้องการวัดจะต้องแผ่สม่ำเสมอบนหน้าปริซึมรองรับสารไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้น (รูปที่ 3)
- มองเส้นตัดผ่านช่องมองภาพ (eyepiece) สามารถปรับความคมชัดได้โดยการหมุนที่ช่องมองภาพ (รูปที่ 4)
- อ่านค่าที่วัดได้จากขีดบอกปริมาตรที่เส้นตัดสีขาวและสีฟ้าว่าตรงกับขีดบอกปริมาณว่าตรงกับค่าที่เท่าไหร่ (รูปที่ 7)
- เช็ดตัวอย่างออกด้วยผ้าบางๆ หรือ tissue ที่เปียก หรือล้างปริซึมรองรับตัวอย่างด้วยน้ำ หลังจากล้างปริซึมให้ซับน้ำที่เหลืออยู่ด้วยผ้าบางๆ หรือ tissue ที่แห้ง (รูปที่ 8)
4. มาตราส่วน บริกซ์ (Brix)
เครื่องวัดการหักเหของแสง ถูกออกแบบมาให้วัดค่าการหักเหของแสงของตัวอย่างมาตราส่วนบริกซ์มีพื้นฐานมาจากน้ำตาล (ซูโครส) และน้ำ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ตัวอย่างส่วนมากประกอบด้วยสารอื่นๆ มากกว่าน้ำตาล ตัวอย่างเช่น เกลือ แร่ธาตุต่างๆ และโปรตีน เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (Brix) แสดงให้เห็นถึงความเข้มข้นทั้งหมดของปริมาณของแสงที่ละลายในตัวอย่าง
สำหรับตัวอย่างที่แน่นอน ได้แก่ น้ำมันสำหรับตัด (Cutting Oil) และของเหลวที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมอื่นๆ แผนภูมิสำหรับแปลงค่าจากเปอร์เซนต์บริกซ์ (Brix) ไปยังความเข้มข้นของตัวอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้
5. การสุ่มทำการวัดอย่างง่ายและรวดเร็ว
ค่อยๆ วางตัวอย่างประมาณ 0.3 มล. ลงบนปลายด้านหน้า (ดังรูป 1) หรือปลายด้านหลัง (ดังรูป 2) ของแท่นรองรับตัวอย่างแล้วหมุนเครื่องวัดการหักเหของแสง (Refractometer) เบาๆ เพื่อให้ตัวอย่างเคลื่อนไปอยู่บนปริซึม ตัวอย่างเหลวจะแผ่อย่างสม่ำเสมอและสามารถวัดค่าได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยการลดขั้นตอนการเปิดและปิดแผ่นปริซึมระหว่างการหยดตัวอย่าง ผู้ใช้สามารถประหยัดเวลาในการวัดในกรณีที่มีตัวอย่างที่ต้องการวัดหลายๆ ตัวอย่างในแต่ละวัดได้ (การวัดวิธีนี้สามารถใช้ได้กับตัวอย่างที่มีความหนืดต่ำๆ)
6. การทวนสอบและการสอบเทียบ
- การทวนสอบ
เพื่อความมั่นใจในความแม่นยำของการวัดค่าเครื่องการหักเหของแสง ควรจะต้องตั้งค่าเริ่มต้น (set zero) ก่อนการใช้งานทุกวัน แนะนำให้บำรุงรักษาและสอบเทียบเป็นระยะๆ สำหรับความถี่นั้นขึ้นอยู่กับมาตรฐานของการปฏิบัติการในหน่วยงานคุณ
- ขั้นตอนการทวนสอบ
1. ตรวจสอบว่าปริซึมรองรับตัวอย่าง (Prisum) สะอาดและไม่มีรอยขีดข่วน
2. ใช้สารละลายซูโครส (Sucrose Solution) ตรวจสอบว่าเส้นตัดสีขาวและสีฟ้ามีค่าเท่ากับที่ควรจะเป็น
3. ตรวจสอบว่าค่าที่วัดได้ตรงกับค่าความเข้มข้นของสารละลายซูโครสที่ใช้
- การสอบเทียบ
โดยพื้นฐานของระบบคุณภาพ ISO (องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ) สำหรับเครื่องวัดการหักเหของแสงของ ATAGO สามารถจัดใบรับรองการสอบเทียบให้ได้รวมถึงเอกสารรับรอง HACCP หรือ GMP โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
7. ช่องมองภาพ (eye piece)
มีความชื้นสะสมเมื่อภาพของขีดบอกปริมาณและเส้นตัดกลายเป็นมีความชื้นเข้ามาขวางข้างในช่องมองภาพ (eyepiece) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ สำหรับวิธีการทำความสะอาดมีขั้นตอนดังนี้
- จับตัวเครื่องโดยหันช่องมองภาพ (eyepiece) เข้าหาตัวหมุนช่องมองภาพ (eyepiece) ไปทางซ้ายหรือทวนเข็มนาฬิกาจนกระทั่งช่องมองภาพ (eyepiece) หลุดจากตัวเครื่อง
- เช็ดเบาๆ ทั้งสองด้านตามลูกศรชี้ เพื่อทำความสะอาดโดยใช้ผ้าแห้งเพื่อขจัดความชื้นออก
- ใส่ช่องมองภาพ (eyepiece) กลับเข้าไปที่เดิมแล้วหมุนตามเข็มนาฬิกา จนกระทั่งแน่นเหมือนเดิม
8. การแก้ไขอุณหภูมิ (Temperature correction)
เมื่อเราวัดค่าสารละลายตัวอย่างที่ อุณหภูมิ แตกต่างกัน จะทำให้ค่าที่วัดแตกต่างกันไปด้วย ขีดบอกปริมาณสำหรับเครื่องวัดการหักเหของแสงชนิดมือถือ สามารถแสดงผลการวัดที่ถูกต้องเมื่อเครื่องถูกใช้วัดค่าอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ในหัวข้อที่ 2 และหัวข้อที่ 5 การวัดค่าการแก้ไขอุณหภูมิทำได้โดยการวัดบริกซ์ (Brix) ของตัวอย่างที่อุณหภูมิเดียวกับอุณหภูมิห้องหลังจากการสอบเทียบเครื่องวัดการหักเหของแสงด้วยน้ำ ซึ่งถูกวางทิ้งไว้ในห้องชั่วระยะเวลาหนึ่ง (ทำให้น้ำที่ให้สอบเทียบค่ามีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง) วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกสะบายที่สุดและใช้กันทั่วไปอีกวิธีหนึ่ง เราอาจแก้ไขอุณหภูมิโดยใช้ตารางแก้ไขอุณหภูมิ ก็สามารถทำได้สำหรับในกรณีนี้ การสอบเทียบค่าเครื่องวัดการหักเหของแสงด้วยน้ำกลั่นที่มีอุณหภูมิที่ 20 องศาเซลเซียส เมื่อเราทำการสอบเทียบค่าเครื่องวัดการหักเหของแสงไม่ต้องปรับเกลียวสำหรับปรับค่า เราแก้ไขค่าที่อ่านได้โดยใช้ตารางแก้ไขอุณหภูมิซึ่งแสดงอยู่ในหน้าถัดจากการอ่านค่าและการวัดอุณหภูมิไป
Scale reading |
Measurement temperature |
Correction value |
Correct value |
15.8% |
15°C |
-0.33 |
15.5% |
27.2 |
22°C |
+0.15 |
27.4% |
ตัวอย่าง
การแก้ไขค่าอุณหภูมิสำหรับเครื่องวัดการหักเหของแสง วัดที่ความยาวคลื่น 589 nm.
อุณหภูมิ อ้างอิง 20 องศาเซลเซียส
9. ข้อควรระวัง
- เครื่องวัดการหักเหของแสง ควรเก็บอยู่ในกล่องสำหรับเก็บตัวเครื่อง (มาพร้อมตอนสั่งซื้อ) และควรเก็บในสภาพแวดล้อมที่แห้ง (อุณหภูมิประมาณ 0 ถึง 40 องศาเซลเซียส)
- อย่าวางเครื่องหักเหของแสงทิ้งไว้ในที่มีแสงอาทิตย์โดยตรง
- การใช้โคมไฟสำหรับเครื่องวัดการหักเหของแสงโดยติดแน่นกับตัวเครื่อง อาจเกิดผลกระทบกับระบบชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติของตัวเครื่องได้
- เมื่อตัวอย่างมีความขุ่นหรือมีสี จะทำให้พื้นที่ที่เรามองหาเส้นตัดเพื่ออ่านค่าจะมืดหรือหายไป ในกรณีนี้แสงจากดวงอาทิตย์หรือแสงจากหลอดไฟจะช่วยให้สามารถอ่านค่าได้ง่ายขึ้น
- ระวังอย่าให้ตัวเครื่องโดนละอองน้ำ
- เช็ดตัวอย่างออกภายหลังจากการวัดค่าด้วยผ้าเปียกหรือกระดาษชำระที่เปียก
- ปริซึมรองรับตัวอย่าง (Prism) และแผ่นปิดปริซึม (Daylight Plate) จะถูกทำความสะอาดทันทีหลังจากที่วัดค่าเสร็จแล้ว หากเครื่องวัดการหักเหของแสงถูกใช้สำหรับการวัดน้ำมัน หรือตัวอย่างที่คล้ายน้ำมัน อาจมีน้ำมันส่วนที่เหลือเคลือบหรือตกค้างอยู่ หากเป็นเช่นนี้ ให้เช็ดทำความสะอาดตัวอย่างที่ค้างอยู่ด้วยเอซิลแอลกอฮอล์
- ระวังไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบนหน้าปริซึมรองรับตัวอย่าง (Prism) หลังจากการใช้งานทำความสะอาดปริซึมรองรับตัวอย่าง และแผ่นปิดด้วยผ้านุ่มชุบน้ำและเช็ดส่วนที่เปียกอีกครั้งด้วยผ้าแห้ง
- เครื่องวัดการหักเหของแสง เป็นเครื่องมือที่เที่ยงตรงและอ่อนไหวต่อระบบสายตาเป็นอย่างมาก อย่าทำตก, กระแทกอย่างแรง หรือกระเทือนอย่างรุนแรง
- เครื่องมือนี้หากถูกใช้ให้เกิดประโยชน์นอกเหนือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานหรือการวัดค่าโดยผู้ใช้งานเครื่องมือได้