Your shopping cart is empty!
เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดในด้านอุตสาหกรรม ใช้วัดไข้ได้ไหม?
เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดในด้านอุตสาหกรรม ใช้วัดไข้ได้ไหม?
จากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก แบบอินฟราเรด เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 เพราะเหมาะกับการคัดกรองคนจำนวนมาก เป็นเครื่องวัดไข้ที่สามารถอ่านค่าได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญใช้วัดอุณหภูมิได้โดยไม่ต้องสัมผัสผิว ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีประเด็นที่ว่า ใช้แล้ววัดค่าไม่ตรงไม่แม่นยำซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการใช้งานที่ไม่ถูกวิธี
สำหรับเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดที่ใช้วัดอุณหภูมิเครื่องจักรตามโรงงานหรือใช้งานในภาคอุตสาหกรรม หลายคนคงมีข้อสงสัยว่าเครื่องที่เราใช้อยู่นี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้วัดอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์หรือวัดไข้ได้ไหม? มีความแม่นยำมากน้อยเพียงใด จำเป็นไหมที่ต้องซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากเพื่อวัดไข้เพิ่มเติมอีก เราจะมาดูความแตกต่างระหว่างเครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากและเครื่องวัดอุณหภูมิงานด้านอุตสาหกรรมกัน
Infrared temperature meter คือ เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่ใช้การวัดรังสีอินฟราเรดที่ถูกปล่อยออกจากวัตถุ โดยเป็นการวัดอุณหภูมิที่พื้นผิวเท่านั้น การเลือกเครื่องมือวัดชนิดนี้ ต้องศึกษารายละเอียด 2 อย่าง คือ ค่า Distance to spot ratio และ ค่า Emissivity เพื่อให้สามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้อย่างถูกต้อง
ตารางแสดงความแตกต่าง
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดในด้านอุตสาหกรรม |
|
||||||
วัตถุประสงค์การใช้งาน |
ใช้สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิของระบบเครื่องปรับอากาศ การขนส่งและการตรวจสอบจุดที่ยานยนต์ อุณหภูมิผิวน้ำ ฯลฯ |
ใช้สำหรับการวัดอุณหภูมิของร่างกายคน ใช้วัดอุณหภูมิบริเวณหน้าผาก ใช้ตรวจหาอาการไข้ | |||||
ช่วงการวัดอุณหภูมิ | ช่วงการวัดอุณหภูมิกว้าง เช่น วัดได้อุณหภูมิตั้งแต่ -50 ถึง 380℃ (PONPE 430IR) หรือ -30 ถึง 1500℃ (GM1500) เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย | ช่วงอุณหภูมิไม่กว้าง ช่วงอุณหภูมิครอบคลุมอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์ เช่น 32.0 ถึง 42.5℃ (DT-8806H) | |||||
ค่าความแม่นยำ | ค่าความคาดเคลื่อนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ ± 1 ถึง 1.5 ℃ เป็นที่ยอมรับในงานด้านอุตสาหกรรม | ต้องการความแม่นยำสูง ค่าความคาดเคลื่อน 0.3°C – 0.4°C ตามมาตรฐาน ISO 80601-2-56 | |||||
โหมดวัดอุณหภูมิร่างกาย (Body temperature) |
ไม่มี | มี | |||||
*การแผ่รังสีอินฟราเรด (EMISSIVITY) | ไม่สามารถตั้งค่าได้ (ยกเว้นบางรุ่น) ส่วนใหญ่ตั้งค่าฯ เท่ากับ 0.95 หากนำมาวัดอุณหภูมิผิวหนัง โดยไม่มีการปรับแก้ค่า EMISSIVITY ให้เท่ากับค่าการแผ่รังสีของผิวหนัง จะทำให้ผลการวัดคลาดเคลื่อนได้ถึง 15°C | มีค่าการแผ่รังสีอินฟราเรด (EMISSIVITY) ที่เหมาะสมกับผิวหนังเหมาะใช้สำหรับวัดผิวหนัง วัดอุณหภูมิร่างกายโดยเฉพาะ | |||||
เลเซอร์สำหรับการชี้เป้า | มี เพื่อกำหนดจุดได้แม่นยำมากขึ้น | ไม่มี เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ | |||||
ระยะในการยิงวัดอุณหภูมิ |
สามารถวัดยิงวัดได้ระยะไกล หรือตามระยะห่างที่วัดอุณหภูมิ (D:S Ratio) ของตัวเครื่อง ยิ่ง D:S มีค่ามากทำให้การวัดระยะไกล จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
|
เพื่อความแม่นยำ ควรยิงวัดอุณหภูมิในระยะห่างจากหน้าผากประมาณ 5-15 ซม. |
เพื่อการวัดที่แม่นยำ
เมื่อมีการนำเครื่องวัดอุณหภูมิเข้าออกห้องที่อุณหภูมิต่างกันมาก เช่นจากตากแดดมาห้องแอร์ ควรทิ้งไว้ให้เครื่องเย็นลงประมาณ 15-20 นาที ก่อนการใช้งาน
อุณหภูมิปกติของร่างกายมนุษย์
โดยทั่วไปแล้วนั้นอุณหภูมิปกติของมนุษย์จะอยู่ที่ประมาณ 98.6 °F หรือ 37.0 °C แต่สามารถอยู่ในช่วงกว้างที่พอรับได้ซึ่งอาจจะอยู่ที่ประมาณ 97°F – 99°F หรือ 36.1 °C – 37.2 °C ค่ะ ดังนั้นหากคุณวัดอุณหภูมิในร่างกายได้เกิน 37.2 °C – 37.5 °C โดยประมาณให้ถือว่าคุณมีไข้แล้ว
*การแผ่รังสีอินฟราเรด (EMISSIVITY) : เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการแผ่รังสีความร้อนของพื้นผิวของวัตถุแต่ละชนิด โดยมีค่าระหว่าง 0-1 (ไม่มีหน่วย) ค่าการแผ่รังสีความร้อนของผิวหนังมนุษย์จะมีค่าประมาณ 0.98 ในขณะที่ค่าการเปล่งของวัตถุอื่นมีค่าแตกต่างกันไป เช่น น้ำ 0.93 , เซรามิก 0.80-0.95 และผ้า 0.95 เป็นต้น
สรุป เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดในด้านอุตสาหกรรมไม่แนะนำให้ใช้วัดไข้หรืออุณหภูมิร่างกายเนื่องจากมีช่วงการวัดที่กว้าง และมีค่าความแม่นยำ (Accuracy) ที่ไม่เหมาะสมต่อการวัดอุณหภูมิร่างกาย อาจทำให้การตรวจคัดกรองวัดไข้มีความผิดพลาด เนื่องจากใช้งานเครื่องมือผิดประเภท ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
หากท่านสนใจเครื่องวัดอุณหภูมิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่
https://www.ponpe.com/data-logger.html
หรือต้องการดูวีดีโอแนะนำวิธีการใช้งานตัวเครื่องต่าง ๆ ได้ที่
แนะนำ IR สำหรับวัดไข้
- maket
- Knowledge ความรู้