0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

เครื่องวัดแสง

  • Light Meters

    Light Meter

     

    How Light Meters Work

    Most meters consist of a body. a photo cell has energy. This energy is transferred by the photo cell into electric current; the amount of current generated depends on the amount of light striking the cell. The meter then reads the electrical current and calculates the appropriate value of either Lux or foot-candles.

    A key thing to remember about light is that it is usually made up of many different types (colors) of light at diffrent wavelengths. The reading, therefore, is a result of the combined effects of all the wavelengths. A standard color can be referred to as color temperature and is expressed in degress Kelvin. The standard color temperature for calibration of most light meters is 2856 degrees Kelvin which is more yellow than pure white.

    Different types of buids burn at different color temperatures. Sper Scientific meter readings will, therefore, vary with different light sources of the same intensity. This is why some lights seem "harsher" than others. See the chart to the left for suggested lighting levels for various applications.

    Light Meter Units of Measure

    Light can be quantified in many ways, i.e., Lux, Lumens, foot-candles,candle power, candelas, and so on. The two most popular scales are Lux, which is the European measure,and foot-candles, which is the U.S. scale. Lux is a unit of illumination of one square meter which is one meter away from a uniform light source. 1 candela = 1 Lux. Foot candles are a unit of illumination of one square foot which is one foot away from a uniform light source. 

    Light Measurement Conversion Factor

    Abbreviations:
    FC-Footcandle, Lux-Lux, Lumen-Lumen

    Since: 1 Lumen/sq ft, and 1 Lux=1 Lumen/sq meter
    and: 1 square ft=0.0929 sq meter
    then: 1 Lux=0.0929 FC, and 1 FC=10.76 Lux

    All models have a fast and accurate response, and are CE approved. The sensors are cosine and color corrected and hermetically sealed to ensure long term stabillty. These meters come ready to use with probes, 9V battery, carrying case, instructions, and a 5-year warranty.

    Convenient Lighting Levels for Varying Applications

    Offices

    100 to 300

    Lux

    General workrooms, corridors, stairs and restrooms

    300 to 750

    Lux

    Conference and computer rooms

    750 to 1500

    Lux

    Technical offices, rooms for drawing and calculating

    Factories

    300 to 750

    Lux

    Winding, steel work and welding

    750 to 1500

    Lux

    Inspection, welding, heavy machinery operation

    1500 to 3000

    Lux

    Inspection and testing operations, selection areas, machine tool areas

    Schools

    75 to 300

    Lux

    Lecture rooms, assembly halls, corridors, stairs and toilets

    200 to 750

    Lux

    Classrooms, demonstration rooms, gymnastics

    300 to 1500

    Lux

    Precision drawing rooms, experimental laboratories, libraries and reading rooms

    Shops

    120 to 500

    Lux

    Stairs, elevators, toilets and corridors

    500 to 1000

    Lux

    Display windows and sales areas

    4000 to 8000

    Lux

    Jewelers and goldsmiths

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    Sper Scientific light meters have been checked and calebrated using NIST traceable light sources and standards. The light source is a color correct buid that burns at 2856 degrees Kilvin. The meters have a 5-year warranty. they are used in many applications, from testing the reflectance of porcelain pigments in a QC lab to pharmaceutical degradation studies.

    To convert from

    into

    multiply by

    Lux

    Candela steradian

    1.0

    Lumens

    Candle power (spherical)

    0.07958

    Lumens

    Watts

    0.0015

    Lumens per square centimeter

    Lamberts

    1.0

    Lumens per square centimeter

    Lux

    10000

    Lumens per square centimeter

    Phots

    1.0

    Lumens per square foot

    Foot candles

    1.0

    Lumens per square foot

    Foot lamberts

    1.0

    Lumens per square foot

    Lumens /Square meter

    10.76391

    Lumens per square foot

    Lux

    10.76396

    Lumens per square meter

    Foot candles

    0.0929

    Lumens per square meter

    Lumens/Square foot

    0.0929

    Lumens per square meter

    Phots

    0.0001

    Lumens per square meter

    Lux

    1.0

    Lux

    Foot Candles

    0.0929

    Lux

    Lumens/square meter

    1.0

    Lux

    Phots

    0.0001

     

     

    .

  • Training ส่งตัวเครื่องพร้อมสอนการใช้งาน รุ่น TM-202,TM-188D,DT-805,SC-05@บริษัท เจียมพัฒนาเท็กซ์ไทล์ส จำกัด (สำนักงานใหญ่)

    Project: ส่งตัวเครื่องพร้อมสอนการใช้งาน รุ่น TM-202,TM-188D,DT-805,SC-05

    สถานที่: บริษัท เจียมพัฒนาเท็กซ์ไทล์ส จำกัด (สำนักงานใหญ่) / จังหวัดนครปฐม

    วันที่: 27 มีนาคม 2562

     TM-202

    • 280362
  • Training ส่งสินค้าพร้อมสอนการใช้งาน เครื่อง ส่งสินค้าพร้อมสอนการใช้งาน เครื่อง MS2203 DIGITAL POWER CLAMP METER แคลมป์มิเตอร์ / GM1020 เครื่องวัดแสง แบบดิจิตอล LUX METER / GM8902 เครื่องวัดความเร็วลม

    Training ส่งสินค้าพร้อมสอนการใช้งาน เครื่อง   เครื่อง MS2203 DIGITAL POWER CLAMP METER แคลมป์มิเตอร์ / GM1020 เครื่องวัดแสง แบบดิจิตอล LUX METER / GM8902 เครื่องวัดความเร็วลม

    สถานที่  บริษัท เทคโนโลยี อกรีเม้นท์ กรุ๊ป จำกัด 88/6 หมู่ 7 ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150

    วันที่ 17 สิงหาคม 2563

    MS2203/GM1020/GM8902 

     

  • Training สอนการใช้งาน เครื่องวัดแสง รุ่น UV505,SDL470,UV340B @ บริษัท Epson Precision (Thailand)

    Project: สอนการใช้งาน เครื่องวัดแสง รุ่น UV505,SDL470,UV340B แบรนด์ EXTECH

    สถานที่: บริษัท Epson Precision (Thailand) / จังหวัดฉะเชิงเทรา

    วันที่ 30 เมษายน 2562

     UV505

    • 3
    • 4
  • Training เครื่องวัดแสง รุ่น 407026 @Rangsit City Municipality

    Project:  Training เครื่องวัดแสง Lux Meter รุ่น 407026

    สถานที่: เทศบาลนครรังสิต, จังหวัดปทุมธานี

    วันที่: 25 สิงหาคม 2560

    Training 407026@Rangsit City Municipality

     

    • S__8052753
    • S__8052754

     

     

  • การเลือกใช้เครื่องวัดแสง ในการทำงาน  (Lux Light meter)

    light meter

    การเลือกใช้เครื่องวัดแสง ในการทำงาน  (Lux Light meter)


    การทำงานของเครื่องวัดแสง

            ส่วนประกอบสำคัญของ เครื่องวัดแสง คือ ตัวเซนซ์รับแสง ( photo cell ) และส่วนของแสดงผลการวัด ตัวเซนซ์รับแสงมีหน้าที่ในการรับแสงซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งแปลงไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าแบบอนาลอก  และผ่านการประมวลผลโดยโมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีหน้าที่แปลงค่าความสว่างเป็นสัญญาณดิจิตอล โดยการแสดงผลนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตออกแบบ

    แสง มีคุณสมบัติของความเป็นคลื่น และมีพลังงานที่ขึ้นอยู่กับค่าความถี่ของแสงนั้นๆ ตามสมมติฐานของแมกซ์แพลงค์ ( E = nhf ) ดังพื้นฐานนี้ หน่วยการวัดของแสง จึงมีหน่วยการวัดหลายพารามิเตอร์ ได้แก่

    1.ความจ้า (brightness) หรือ อุณหภูมิ (temperature)

    2.ความสว่าง (illuminance หรือ illumination) (หน่วยSI: ลักซ์ (lux))

    3.ฟลักซ์ส่องสว่าง (luminous flux) (หน่วย SI: ลูเมน (lumen))

    4.ความเข้มของการส่องสว่าง (luminous intensity) (หน่วย SI: แคนเดลา (candela))

    5.ความสุกใสของแสง (brilliance) หรือ แอมปลิจูด (amplitude)

    6.สี (color) หรือ ความถี่ (frequency)

    7.โพลาไรเซชั่น (polarization) หรือ มุมการแกว่งของคลื่น (angle of vibration)

    แต่โดยทั่วไป มักนิยมใช้การวัดความสว่างของแสงเพื่อการนำไปใช้วิเคราะห์งานต่างๆ เช่น งานด้านการควบคุมคุณภาพของหารผลิตหลอดไฟ งานตรวจวัดปริมาณ ความเข้มแสง เพื่อวิจัยอุปกรณ์ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นต้น ความเข้มแสงนอกจากจะขึ้นกับความเข้มแสงจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรงแล้ว ระยะทางการส่องสว่างก็มีผลต่อความเข้มแสงที่ส่องไปถึงวัตถุหรือเครื่องมือวัดเช่นกัน ดังนั้นสภาพแวดล้อมในการใช้งาน เครื่องวัดแสง คือสิ่งที่ผู้ใช้ต้องคำนึงถึง


    แสงสว่างที่เหมาะสมในการทำงาน  (Lux Light meter)

    แสงสว่าง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของทั้งมนุษย์ พืชสัตว์  ดังนั้นการตรวจสอบแสงสว่างจะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพของแสง ไม่ว่าจะมาจากแสงอาทิตย์หรือหลอดไฟ เพื่อต้องการไม่ให้มีผลกระทบต่อการทำงาน เช่น หากมีแสงสว่างที่น้อยเกินไปในการทำงาน จะมีผลเสียต่อสายตาเพราะต้องเพ่งเลงตลอดเวลาในการทำงาน  หากมี่แสงสว่างที่มากเกินไป จะทำให้ผู้ทำงานเกิดความไม่สบายสายตา แสบตา มึนศีรษะ   จึงต้องมีการตรวจสอบจากเครื่องวัดแสงว่าในแต่ละสถานที่มีปริมาณแสงเหมาะสมหรือไม่

    ปริมาณแสงที่เหมาะสม

    ประเภทกิจกรรมและพื้นที่ ความส่องสว่าง (LUX)
    ห้องน้ำ ห้องสุขา        100
    ช่องทางเดินภายในอาคาร 200
    ห้องสมุด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ 300 – 500
    ห้องประชุม       200 – 300
    หน้ากระดาน หน้าเวทีประชุม  700 – 1,000
    พื้นที่ทั่วไปในอาคาร     200
    แสงสว่างทั่วไปในร้านค้า     500 – 1,000

    แสงสว่างที่ควรหลีกเลี่ยง  คือการเกิดแสงจ้า (Glare) คือ จุดหรือพื้นที่ที่มีแสงจ้าเกิดขึ้นในระยะของลาน สายตา (Visual Field) ทำให้ตารู้สึกว่ามีแสงสว่างมากเกินกว่าที่ตาจะปรับได้ แสงจ้ามี 2 ชนิด คือ 
    1.1) แสงจ้าเข้าตาโดยตรง (Direct Glare) เกิดจากแหล่งกำเนิดที่แสงสว่างจ้าในระยะลานสายตา ซึ่งอาจเกิดจากแสงสว่างที่ส่องผ่านหน้าต่าง หรือแสงสว่างที่เกิดจาก ดวงไฟที่ติดตั้งไว้ 
    1.2) การเกิดเงา เงาเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างยิ่ง บริเวณที่มีเงามืดบนพื้นผิว ของชิ้นงาน จะทำให้การทำงานลำบากยากยิ่งขึ้น เพราะมองไม่เห็นหรือเห็นไม่ชัดนั่นเอง

     

    แสง
       
    การแก้ไขจะต้องมีการวางจุดติดตั้งของแสงสว่างให้เหมาะสม  โดยไม่กระทบต่อสายตาผู้ปฎิบัติงาน 
    จุดบริเวณหน้าต่างหรือประตูต่างๆ อาจทำการแก้ไขด้วยการติดผ้าม่าน ที่บังตา บานเกร็ด ต้นไม้ หรือไม้เลื้อยต่างๆ
    คุณลักษณะของเครื่องมือ สามารถวัดความเข้มแสงสว่างได้ ตั้งแต่ 0 - มากกว่า 10,000 ลักซ์ คุณลักษณะของ เครื่องวัดแสงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน CIE 1931 (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527


    เครื่องวัดแสง  (Lux Light meter) รุ่นแนะนำ

    407026

    GM1010

    GM1020

     

  • ความหมายและคำจำกัดความของเครื่องมือวัด

    ความหมายและคำจำกัดความของเครื่องมือวัด

    ในการเลือกใช้เครื่องเครื่องมือวัดแต่ละชนิดเรามักจะเจอกับคำจำกัดความสำหรับเรียกใช้งานซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะทาง เช่น การดูสเปคของตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ใช้คู่กับตัวเครื่อง

    -Measuring Range หรือ ช่วงการวัด คือ ค่าที่บอกถึงความสามารถของเซนเซอร์และสถานะของตัวเครื่องว่าสามารถวัดได้หรืออ่านค่าได้เท่าไร  เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ ช่วงการวัดอยู่ที่ -10 ถึง 250 º C  

    -Resolution หรือ ค่าความละเอียด คือ เครื่องมือวัดแต่ละเครื่องจะระบุค่าความละเอียดของตัวเครื่องว่าเท่าไร  เช่น 0.1 º C   

    -Accuracy หรือ ค่าความถูกต้อง คือ ค่าที่บอกความสามารถของตัวเครื่องและเซนเซอร์ว่าสามารถอ่านค่าที่ได้เบี่ยงเบนไปจากค่าที่แท้จริงมากหรือน้อย เช่น ± 5% of Reading 

    - Response Time (ความไวต่อการตอบสนอง) คือ ช่วงเวลาที่เซนเซอร์ใช้ในการตอบสนองในการวัด ซึ่งจะมีหน่วยเป็น วินาที 

    - Sensors (เซนเซอร์) คือ อุปกรณ์ที่ใช้วัดตรวจจับสัญญาณ เช่น ความชื้น อุณหภูมิ แสงและ เสียง  

    ในส่วนที่ยกตัวอย่างมาเป็นการยกตัวอย่างเบื้องต้นสำหรับคำศัพท์ที่พบบ่อยในการเลือกซื้อเครื่องมือวัด

     

  • ความหลากหลายของเครื่องวัดความเข้มแสงกับการเลือกใช้งาน

    ความหลากหลายของเครื่องวัดความเข้มแสงกับการเลือกใช้งาน

    เครื่องวัดความเข้มแสง คือเครื่องมือที่ใช้วัดค่าปริมาณของแสงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือแสงที่เราสามารถมองเห็นและแสงที่เกิดจากการประดิษฐ์ขึ้น มีหน่วยวัดค่าเป็น ลักซ์ (LUX) และ ฟุตแคลเดิล (Foot Candle) โดยเครื่องวัดค่าความเข้มแสงในปัจจุบันถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย มีความรวดเร็วในการวัด สามารถพกพาได้สะดวกและมีความแม่นยำสูง ซึ่งเหมาะกับการวัดใน โกดัง, โรงงานอุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, ร้านอาหาร, โรงเรียน, ห้องสมุด, โรงพยาบาล, การถ่ายภาพ, วิดีโอ, โรงจอดรถ, พิพิธภัณฑ์หอศิลป์, สนามกีฬา, การรักษาความปลอดภัยอาคาร เป็นต้น

    เครื่องวัดความเข้มแสง ยังสามารถเลือกใช้งานให้ตรงกับชนิดของแสงที่ต้องการวัดได้อีกด้วย โดยเครื่องวัดค่าความเข้ม แสง ที่สามารถเลือกชนิดแสงได้ ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมีดังนี้

    1.เครื่องวัดความเข้มแสง LED เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาให้วัดความเข้ม แสง LED โดยตรง ซึ่งสามารถเลือกชนิดของสี LED ได้

     

     

     

    2.เครื่องวัดความเข้มแสงทั่วไป เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาให้วัดความเข้ม แสง ทั่วไปตามสำนักงาน , ห้องเรียนและโรงงาน

     

     

  • หลักการและคำศัพท์ของแสง

    หลักการและคำศัพท์ของแสง

    ในการเลือกหลอดไฟประหยัดพลังงานที่ดีที่สุดสำหรับบ้านของคุณ คุณควรเข้าใจหลักการพื้นฐานของ แสง เสียก่อน อย่างเช่น คุณภาพแสง การบริโภคพลังงาน ปริมาณแสง หลักการของแสงเบื้องต้น อย่างเช่น

    ปริมาณแสง

    ความสว่าง (Illumination)

    แสง ที่กระจายออกไปยังพื้นผิวระนาบ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจุดไฟคือการสร้างแสงสว่าง

    Lumens

    ลูเมน (Lumen)

    ลูเมนคือหน่วยวัดการแผ่กระจายแสงของหลอดไฟ ตัวอย่างเช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ จะแพร่กระจาย แสง 1600 ลูเมน

    Footcandle

    ฟุตเทียน (Footcandle)

    ฟุตเทียน  คือหน่วยวัดของความหนาแน่นของแสงสว่าง 1 ฟุตเทียน คือแสงสว่างที่ถูกผลิตขึ้นมา 1 ลูเมน กระจายแสงได้พื้นที่ 1 ตารางฟุต บ้านรวมถึงสำนักงานส่วนใหญ่ก็จะใช้หลอดไส้ร้อนที่มี 30–50 ฟุตเทียน ซึ่งก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับการใช้งานอย่างอื่นที่ต้องการรายละเอียด ความสว่าง 200 ฟุตเทียน ถึงจะเหมาะสมและไม่ปวดตา ส่วนหลอดไฟที่เปิดตามทางเดินตอนกลางคือเพียง 5-20 ฟุตเทียน ก็เพียงพอ

    การบริโภคพลังงาน

    ประสิทธิภาพ

    หมายถึงอัตราในการผลิต แสงสว่าง ต่อการบริโภคพลังงาน ซึ่งจะวัดตัวเลขของการสร้างลูเมนต่อการบริโภคพลังงานไฟฟ้า หรือ ลูเมนต่อวัตต์

    คุณภาพของแสง

    อุณหภูมิสีของแสง

    อุณหภูมิสีของแสง

    สีมาจากแหล่งกำเนิดแสง อย่างสีเหลืองแดงคล้ายกับเปลวไฟก็ให้รู้สึกว่าอบอุ่น และสีฟ้าเขียวเหมือนแสงจากท้องฟ้าให้ความรู้สึกเย็น ซึ่งหน่วยวัด อุณหภูมิ เป็น Kelvin (K) ซึ่งถ้าสูงกว่า (3600–5500 K) เรียกว่าเย็น และอุณหภูมิสีต่ำกว่า (2700–3000 K) จะร้อน แสงเย็นนั้นใช้ในพื้นที่ทำงาน ส่วนแสงสีเหลืองอบอุ่นนั้นใช้ในพื้นที่อยู่อาศัย เนื่องจากเข้ากับสีผิวและเสื้อผ้าได้ดี อุณหภูมิสี 2700–3600 K นั้นถูกใช้ในอาคารทั่วไป

    Color Rendition

    ความถูกต้องของสี (Color Rendition)

    สีนั้นขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งนับว่าเป็นคุณภาพของแสงที่สำคัญมากกว่า อุณหภูมิ สี โดยวัตถุส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีเพียงสีเดียว แต่มีหลายสีผสมกันอยู่ ซึ่งแหล่งที่มาของแสงนี้เองก็มีความบกพร่องที่อาจจะส่งผลถึงการให้สีของแสงหลัก

    Color Rendition Index (CRI) หรือความถูกต้องของ สี ที่ 1 - 100 สเกล ที่ใช้วัดความสามารถในการให้สีที่ถูกต้องของแหล่งกำเนิดแสงอันเป็นวิธีเดียวกับที่แสงอาทิตย์ทำ ค่าสูงสุดของสเกล CRI คือ 100 เบสจากความสว่างของหลอดไฟ 100 วัตต์ และหลอดไฟที่มี CRI เท่ากับ 80 หรือมากกว่า มักจะถูกใช้ในอาคารทั่วไป

    .

  • เครื่องวัดแสง (Lux meter) หรือ (Light meter)

    Light meter

    เครื่องวัดแสง (Lux meter) หรือ (Light meter)

         เครื่องวัดแสง (Lux meter) หรือ (Light meter)  คือ เครื่องวัดที่ใช้วัดความสว่างของแสงในรูปของความเข้มการส่องสว่าง (Luminous intensity) หรือ กำลังส่องสว่าง (Candlepower) ของแสงที่ตกกระทบพื้นที่หนึ่งเพื่อให้ทราบว่าพื้นที่ที่ใช้งานอยู่นั้น  ค่ากำลังส่องสว่างของแสงเหมาะสมหรือไม่  ซึ่งมีหน่วยวัดค่าเป็น ลักซ์ (LUX) และ ฟุตแคลเดิล (Foot Candle)  ปัจจุบันถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย มีความรวดเร็วในการวัด สามารถพกพาได้สะดวก น้ำหนักเบาและมีความแม่นยำในการวัดสูง ซึ่งเหมาะในการวัดใน โรงงานอุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงพยาบาล, ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

    เครื่องวัดแสง มีกี่ประเภท

    เครื่องวัดแสงแบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.เครื่องวัดแสงประเภท Analog หน้าจอในการวัดเป็นเข็ม

    เครื่องวัดแสงหน้าจอเป็นเข็ม
                            สินค้ารุ่น LT300                                    สินค้ารุ่น PM6612L
     

                                               ตัวอย่างเครื่องวัดแสงแบบ Analog

     

    2.เครื่องมือวัดแสงประเภท Digital แสดงผลเป็นตัวเลขหน้าจอเป็น LED.

    เครื่องวัดแสงหน้าจอLED
                   สินค้ารุ่น GM1030                                                                              สินค้ารุ่น LX-90+

                                                              ตัวอย่างเครื่องวัดแสงแบบ Digital

    ส่วนประกอบของเครื่องวัดเเสง 

    ส่วนประกอบที่สำคัญมี 2 ส่วน คือ
    1. ส่วนรับแสง (Light Sensor) ใช้สำหรับรับค่าแสงตามจุดที่ต้องการวัด
    2. ส่วนประมวลผล หรือตัวเครื่อง คือส่วนที่แสดงผลลัพธ์ของค่าความสว่างที่ทำการวัด ซึ่งจะแสดงค่าเป็นตัวเลข 

    ส่วนประกอบเครื่องวัดแสง

    หลักการทำงานของ Lux meter (เครื่องวัดแสง) 

         ทำงานโดยใช้ Photo Electric cell หรือตัว Sensor ซึ่งถูกติดตั้ง ในโคมพลาสติกสีขาวขุ่น เมื่อจับแสงที่กระทบได้แล้ว จะส่งข้อมูลประมวลผล แปลงคลื่นแสงเป็นประจุไฟฟ้า คำนวณค่าเป็นหน่วย Lux แสดงผลออกมาที่หน้าจอDigital เพื่อสะดวกในการอ่านค่าที่วัดได้ให้ผู้ใช้งานทราบ

    เครื่องมือวัดแสงสำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

         แสงมีผลต่อการใช้ชีวิต และการทำงานของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และตามมาตรฐานที่กรมแรงงานได้มีกำหนดเอาไว้ ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการควบคุมปริมาณของแสงให้พอดี ไม่มาก หรือน้อยเกินไป การกำหนดความเหมาะสมของความเข้มแสงจึงเป็นส่วนสำคัญในป้องกันความเสี่ยงทางด้านสุขภาพกับผู้ปฏิบัติงาน โดยจะกำหนดความเข้มของแสงสว่างตามพื้นที่หรือลักษณะงาน เนื่องจากการรับรู้แสงของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการควบคุม แสง โดยใช้ความรู้สึกของมนุษย์ย่อมไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร การนำ เครื่องวัดแสง มาใช้จึงถูกบังคับเข้าไปในกฎหมายแรงงาน เพื่อป้องกันการได้รับแสงที่ไม่เหมาะสมของแรงงานให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้ที่ทำงาน เครื่องวัดแสงจึงได้เข้ามามีบทบาทในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น

    เครื่องวัดแสงรุ่นแนะนำ

     

     

     เครื่องวัดแสงEA30

     EA30

     

     เครื่องวัดแสงGM1010GM1010

     

             เครื่องวัดแสงLX1010BSLX-1010BS

  • แสงในงานอุตสาหกรรม

    เครื่องมือวัดแสงอุปกรณ์สำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

    แสงมีผลต่อการใช้ชีวิต และการทำงานของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และตามมาตรฐานที่กรมแรงงานได้มีกำหนดเอาไว้ ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการควบคุมปริมาณของแสงให้พอดี ไม่มาก หรือน้อยเกินไป เครื่องวัดแสง จึงได้เข้ามามีบทบาทในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นเพราะเหตุใดเครื่องมือวัดแสงจึงมีความสำคัญ

    หากมีแสงน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอสำหรับการมองเห็น

    การมีปริมาณ แสง ที่น้อยเกินไปจะส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพจิตของพนักงานได้ และในขณะเดียวกัน หากมี แสง มากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ คือจะทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว เวียนศีรษะ และไม่มีสมาธิในการทำงานได้เครื่องมือวัดแสงสามารถเป็นตัวอ้างอิงมาตรฐานการจัดแสงในพื้นที่ได้

    ปริมาณของแสงที่เหมาะสมตามมาตรฐานอุตสาหกรรม

    มาตรฐานของปริมาณแสงไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัว แต่ต้องมีการนำเอาสภาพของการทำงานมาเป็นตัววัดด้วย สามารถวัดด้วย เครื่องมือวัดแสง เช่น ความสูงของเพดาน ถึงพื้น ซึ่งเป็นจุดที่แสงตกกระทบ วัสดุที่ สะท้อนแสง คือผนัง หรือแม้กระทั่งพื้นที่ หรืออุปกรณ์ในการทำงาน ซึ่งตามหลักการแล้ว ไม่ว่าแสงจะมาจากที่ใดก็ตาม แต่เมื่อตกกระทบกับชิ้นงาน หรือ พื้นที่ในการทำงานแล้ว ไม่ควรจะแตกต่างจากแสงในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ บริเวณทำงานเกิน 3 เท่า เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว จะก่อให้เกิดอาการที่เรียกว่า แสงแยงตา ทำให้เสียสมาธิในการทำงาน และอาจจะทำให้ผู้ที่ปฏิบัติงานเกิดอาการป่วยได้

    คนเรามีการรับรู้ปริมาณแสงที่แตกต่างกัน

    เนื่องจากการรับรู้แสงของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการควบคุม แสง โดยใช้ความรู้สึกของมนุษย์ย่อมไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร การนำ เครื่องวัดแสง มาใช้จึงถูกบังคับเข้าไปในกฎหมายแรงงาน เพื่อป้องกันการได้รับแสงที่ไม่เหมาะสมของแรงงานให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้ที่ทำงาน

    เครื่องมือวัดแสงจำเป็นต้องมีในทุกโรงงานอุตสาหกรรม

    โดยตามกฎหมายแล้ว ทุกโรงงานต้อง เครื่องมือวัดแสง จำเป็นต้องมีในทุกโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก และจะต้องมีการทำการวัดปริมาณของแสง เป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพของการทำงาน อย่างเช่น การทาสีผนังใหม่ การติดตั้งหลอดไฟเพิ่มในจุดต่างๆ เพราะการวัดปริมาณแสงตกกระทบให้สม่ำเสมอ โดยใช้เครื่องวัดแสงจะช่วยให้แรงงาน ได้รับแสงที่ไม่จ้าจนเกินไป ในจุดที่แตกต่างกัน ทำให้ไม

    รู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของแสงเกิดขึ้น

    ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่ เครื่องวัดแสง มีความจำเป็นและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นการเลือกใช้ซื้อ เครื่องวัดแสง เพื่อมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมย่อมมีความสำคัญ ต้องมีการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมและมีการ สอบเทียบ ให้ได้มาตรฐานทุกปี

     

Contact Us