0
รวม 0.00 ฿
 x 

Your shopping cart is empty!

รวม 0.00 ฿

FREE DELIVERY !

3,000 บาทขึ้นไป*

Technical Support

ทดลองสินค้าหน้าร้าน บริการหลังการขาย

OPEN ( MON-SAT )

8.00-17.30(จ-ศ) 9.00-15.30(เสาร์)

O2 Meter

  • COD และ BOD

    COD และ BOD

     

    COD และ BOD คือ ?

              น้ำจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำ การที่มีสารต่างๆ ละลายปะปนอยู่ในน้ำซึ่งส่วนใหญ่คุณสมบัติหลักๆของน้ำก็จะมีคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำก็หลักๆ จะประกอบไปด้วยลักษณะทางภายนอกที่แตกต่างกัน เช่น ความใส ความขุ่น กลิ่น สี อุณหภูมิ การนำไฟฟ้า ของน้ำและอาจจะรวมไปถึงคุณสมบัติทางเคมีของน้ำ เช่น ความเป็นกรดและความเป็นด่างของน้ำ

              ในส่วนของค่า COD และ BOD ในน้ำนั้นก็สำคัญเช่นกัน ค่า COD  หรือ Chemical Oxegen Demand  หรือเรียกย่อๆ ว่า COD  (ซี โอ ดี)  คือค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ แสดงความสกปรกของน้ำเสียจากบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม  คือ ปริมาณ O2 ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้และย่อยสลายไม่ได้จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน วิธีซีโอดี ใช้สารเคมีซึ่งเป็นออกซิไดซ์ที่สามารถออกซิไดซ์สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำ แล้ววัดปริมาณออกซิเจน ที่ใช้เพื่อการออกซิไดซ์สารอินทรีย์นั้น ให้เป็น คาร์บอนไดออกไซด์  และน้ำ ในสภาวะที่เป็นกรดเข้มข้น และที่มีอุณหภูมิสูง น้ำที่มี ค่าซีโอดี  สูงแสดงว่ามีการปนเปื้อนด้วยสารอินทรีย์สูง หรือมีความสกปรกมาก  การวิเคราะห์ซีโอดีจะใช้เวลาสั้นประมาณ 3 ชั่วโมง จึงเหมาะสม ที่จะใช้ในการควบคุมดูแลระบบ บำบัดน้ำเสีย  เนื่องจากสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ 

              ค่า BOD หรือ Bilogical Oxygen Demand หรือที่เรียกย่อๆว่า BOD (บี โอ ดี ) คือ ค่า ปริมาณออกซิเจน ที่ต้องการเพื่อใช้ไปในกระบวนการต่างๆของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ค่า BOD สูง หมายถึงในน้ำมีการใช้ ออกซิเจน มาก โดยสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีเชือจุลลินทร์อยู่มาก ค่า BOD ต่ำนั้นหมายถึงระดับการใช้ ออกซิเจน ของสิ่งมีชีวิตในน้ำนั้นต่ำ จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ในน้ำนั้นมีสารอินทรีย์มากน้อยหรือไม่ (จุลลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็มีเหมือนกัน) การหาค่า BOD ทำได้โดยการหาความแตกต่างของ ปริมาณออกซิเจนละลา  หรือค่า DO (Dissolved Oxygen) ก่อนและหลังการบ่มในภาชนะปิด ซึ่งการหาค่า BOD โดยปกติแล้วจะใช้เวลาบ่ม 5 วัน ส่วนภาชนะที่ใช้บ่มคือขวด BOD 

     

  • O2 Meter

     

    Oxygen Detector

    มารู้จักอุปกรณ์เพื่อสิ่งแวดล้อม "เครื่องวัดออกซิเจน"

    Oxygen Gas Detectorตามที่เราทราบกันดีว่าการเพิ่มขึ้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และลดลงของแก๊สออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ เป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิอากาศบนผิวโลกสูงขึ้น เครื่องวัดแก๊สออกซิเจน

    เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้วัดปริมาณแก๊สออกซิเจนในอากาศว่ามีปริมาณอยู่เท่าใด มากหรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุสำคัญของปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น เพื่อนำไปวิเคราะห์หาวิธีป้องกันแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยแก๊สจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถใช้ เครื่องมือวัดแก๊สออกซิเจน วัดปริมาณแก๊สเปรียบเทียบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมได้

    "เครื่องมือวัดแก๊สออกซิเจน" กับมาตรฐานของสารเจือปนในอากาศ

    ที่ผ่านมาหลายๆ หน่วยงานอาจจะยังไม่ทราบว่าได้มีการกำหนดการตรวจวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศเป็นมาตรฐานชัดเจนตั้งแต่ปี 2549 ในเรื่องของปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ถูกปล่อยออกจากโรงงานโดยทั่วไป ซึ่งใจความหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ O2 คือ “ในกรณีที่ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสที่สภาวะแห้ง (Dry Basis) โดยมีปริมาตรออกซิเจนในอากาศเสียสภาวะจริงในขณะตรวจวัด สำหรับในกรณีที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ้าเป็นระบบปิดให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอทอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ที่สภาวะแห้ง (Dry Basis) โดยมีปริมาตรอากาศส่วนเกินในการเผาไหม้ (Excess Air) ร้อยละ 50 หรือมีปริมาตรออกซิเจนในอากาศเสีย ร้อยละ 7 ส่วนระบบเปิดให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสที่สภาวะแห้ง (Dry Basis) โดยมีปริมาตรออกซิเจนในอากาศเสีย ณ สภาวะจริงขณะตรวจวัด” ดังนั้นทุกโรงงานจำเป็นต้องทราบและทำความเข้าใจกับมาตรฐานนี้อย่างจริงจัง เพื่อรักษามาตรฐานอากาศที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศด้วย

    O2 Meter

    ประโยชน์ของ "เครื่องมือวัดแก๊สออกซิเจน"

    Oxygen Meter เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้วัดปริมาณออกซิเจนในอากาศ ทำให้เราทราบว่าในอากาศมีระดับปริมาณออกซิเจนเพียงพอหรือไม่ เช่นปกติแล้วในบรรยากาศต้องมีปริมาณของออกซิเจนอยู่ที่ 21% ถ้าน้อยว่า 19.5% หรือมากกว่า 23.5% ก็จะทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ นอกจากนั้นหากมีปริมาณ ออกซิเจน มากกว่า 22% เมื่อเกิดประกายไฟ จะให้ให้เกิดภาวะลุกติดไฟได้ง่ายอีกด้วยจึงจำเป็นต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ

    การปรับใช้ "เครื่องมือวัดแก๊สออกซิเจน" เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

    ในปัจจุบันมีการนำเอา เครื่องวัดแก๊สออกซิเจน มาใช้ในโรงงานและแวดวงอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการบังคับใช้เรื่องของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่จำกัดการปล่อยแก๊สมีพิษจากโรงงานสู่ชั้นบรรยากาศ และกำหนดปริมาณแก๊สออกซิเจนที่เหมาะสมในอากาศที่ปล่อยออกมา การมี O2 Meter ไว้ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะสร้างความสะดวกสบายในการเก็บข้อมูลรายวัน เพื่อบันทึกความเปลี่ยนแปลง แล้วยังสามารนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อหาวิธีแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีด้วย

    อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมทางอากาศ จะไม่สามารถขจัดออกไปได้โดยเครื่องมือสมัยใหม่เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยแก้ไข และป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศได้นั้น คือการตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นจากทุกคนในสังคม โดยการไม่สร้างสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการร่วมมือกันทำกิจกรรมที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีต่อไปอย่างยั่งยืนอีกด้วย

  • ONSITE SERVICE ส่งสินค้าพร้อมบริการติดตั้ง PONPE 330-O2 และ PONPE CLOUD1

    Onsite Service ส่งสินค้าพร้อมบริการติดตั้ง PONPE 330-O2 เครื่องควบคุมก๊าซออกซิเจน และ PONPE CLOUD1 แบรนด์ PONPE INSTRUMENS

    สถานที่จัดส่ง บริษัท พรีเมี่ยม เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

    วันที่ 28 กันยายน 2564

    PONPE 323-O2,PONPE CLOUD1

     

    Service

     

    Service1

     

    Service2

     

    Service3

     

    Service4

     

  • วิธี set ค่า Oxygen เบื้องต้น เครื่อง Multi Gas detector

    วิธี set ค่า Oxygen เครื่อง Multi-Gas detector

     

    วิธี set ค่า Oxygen เบื้องต้นของตัวเครื่อง Multi-Gas detector

     

    โดยทั่วไป Oxygen Detector เครื่องวัดออกซิเจนในอากาศ จะมีระดับความเข้มข้นในอากาศที่ 20.9%

    แต่บางครั้งเมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมาค่า Oxygen จะแสดงที่ 19.0% หรือ 18.9%

    แสดงค่า Oxygen

     

    วิธี set ค่า Oxygen เบื้องต้นเราก็สามารถทำได้

    1.เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วไปที่ เมนู Calibration 

    เมนู Calibration

     

    2.จากนั้นใช้ปุ่มลูกศรขึ้นหรือลูกศรลง ปรับมาที่ค่า Oxygen (O2)

    จากนั้นกดปุ่ม OK ค้างไว้ จนกว่าสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

    ค่า O2

     

    ปรับค่า O2

    3.เมื่อเปลี่ยนเป็นสีแดงแล้วให้นำตัวเครื่องออกไปที่มีอากาศถ่ายเทไม่ควรอยู่ในห้องหรือห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ จากนั้นกดปุ่มลูกศรขึ้น หรือลูกศรลงไปที่ค่า 20.9% 

    ปรับไปที่ค่า 20.9%

    4.เมื่อปรับค่าเสร็จแล้วจากนั้นกดปุ่ม OK ค้างไว้ จากหน้าจอสีแดงจะเป็นสีเขียว 

    กดปุ่ม OK ค้างไว้

    5.จากนั้นกดปุ่ม ปิด/เปิดเครื่อง เพื่อออกจากฟังก์ชั่น

    กดปุ่ม ปิด/เปิดเครื่อง

    6.เมื่อเราปรับค่าเสร็จแล้วจะสังเกตเห็นค่า Oxygen อยู่ที่ 20.9%

       แต่ถ้าเราปรับค่าแล้ว ค่า Oxygen ยังไม่ได้หรือยิ่งปรับยิ่งลงต่ำ หรือสูงเกินสันนิษฐานได้ว่า sensor Oxygen น่าจะมีปัญหา

    ค่า Oxygen อยู่ที่ 20.9%
  • อันตรายจากสารไวไฟ

    Flammable

    อันตรายจากสารไวไฟ

                สารเคมีที่ติดไฟได้อาจอยู่ในรูปของ ของแข็ง ของเหลว ไอ หรือ ก๊าซ ก็ได้ โดยทั่วไปจะมีสมบัติที่ติดไฟได้อย่างรวดเร็วและเกิดการเผาไหม้ได้ในอากาศ อันตรายที่

    เกิดบ่อยครั้งมากที่สุดมักเกิดจากการติดไฟเนื่องจากไอของของเหลวที่ระเหยได้ดี อันตรายจากการติดไฟ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องคือทำให้เกิดการระเบิดของ

    สารเคมีที่จัดเก็บไว้ในบริเวณใกล้เคียงได้

              การเกิดไฟไหม้ขึ้นได้จะต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนร่วมกัน องค์ประกอบแรกคือ ออกซิเจน หรือ อากาศ หรือสารเคมี ที่สามารถทำปฏิกิริยาให้ ออกซิเจน ออก

    มาได้ องค์ประกอบที่สองคือ เชื้อเพลิง ซึ่งรวมทั้งสารไวไฟ และ องค์ประกอบสุดท้ายคือ แหล่งจุดติดไฟ ได้แก่ ความร้อนหรือประกายไฟ การป้องกันไฟไหม้จะทำได้โดยการ

    แยกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกไป ไฟก็ไม่สามารถจะลุกติดขึ้นได้ แต่จะเห็นได้ว่าในสภาพแวดล้อมของบรรยากาศในการทำงานโดยทั่วไป การแยกเอาองค์ประกอบ

    ที่หนึ่งคืออากาศออกไปจะทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นในการป้องกันไฟไหม้จึงมักจะเน้นที่การแยกแหล่งจุดติดไฟคือ ประกายไฟหรือความร้อนให้ห่างออกไปจากแหล่งเชื้อเพลิง

    หรือ สารไวไฟ

     

    ในส่วนของความสามารถในการติดไฟได้ของสารไวไฟนั้น ควรคำนึงถึงสมบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของสารเคมี คือ

    1. จุดวาบไฟ

    จุดวาบไฟ หมายถึงอุณหภูมิต่ำสุดที่จะทำให้ของเหลวหรือสารเคมีเกิดการระเหยเป็นไอที่มีความเข้มข้นในอากาศเพียงพอที่จะเกิดการลุกติดไฟได้เมื่อมีเปลวไฟจ่ออยู่ที่

    ผิวหน้าของของเหลวนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเคมีอินทรีย์ มีจุดวาบไฟที่ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง  เช่น แอซีโทน ( -18 องศาเซลเซียส)

    เบนซีน (-11.1 องศาเซลเซียส) หรือ เมทานอล (11.1 องศาเซลเซียส) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหากแอซีโทน (Acetone)  เกิดรั่วไหล  หรือหกเลอะ ก็จะมีโอกาสที่ทำให้เกิด

    การลุกไหม้ได้โดยง่ายเมื่อมีแหล่งประกายไฟหรือความร้อนเพียงเล็กน้อยอยู่ในบริเวณนั้น

    2. อุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เอง

    อุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เอง หมายถึงอุณหภูมิต่ำสุด ที่ทำให้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว ไอ หรือ ก๊าซ  เกิดการติดไฟขึ้นได้เองในอากาศโดยไม่ไม่จำเป็นต้องมี

    แหล่งจุดติดไฟ ดังนั้นสารเคมีที่มีอุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เองต่ำ   จะมีความเสี่ยงในการลุกติดไฟเองได้มาก ตัวอย่างเช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์  (Carbon disulfide) มีอุณหภูมิ

    ที่จุดติดไฟได้เองที่ 90 องศาเซลเซียส จะสามารถลุกไหม้ได้เองโดยความร้อนจากหลอดไฟ แสงสว่างไดเอทิลอีเทอร์ (Diethyl ether) มีอุณหภูมิที่จุดติดไฟได้เองที่ 160

    องศาเซลเซียส สามารถลุกติดไฟทันทีที่หกราดบนพื้นเตาไฟฟ้า โดยไม่ต้องมีประกายไฟ หรือเปลวไฟเลย

    3. ขอบเขตของการติดไฟ

    สารไวไฟ โดยทั่วไปจะมีขอบเขตที่จะติดไฟได้อยู่ระหว่างค่า 2 เรียกว่า ค่าต่ำสุดของการติดไฟหรือการระเบิด (Lower Explosive Limit หรือ LEL) และ ค่าสูงสุดของการติด

    ไฟหรือการระเบิด Upper Explosive Limit  หรือ  UEL ค่าต่ำสุดของการติดไฟ  (LEL) หมายถึงความเข้มข้นต่ำสุดของก๊าซ หรือ ไอของสารไวไฟในหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ

    ปริมาตรในอากาศ ที่จะทำให้เกิดการไหม้ลุกลามขึ้นได้เมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ ส่วนค่าสูงสุดของการติดไฟ (UEL) หมายถึง ความเข้มข้นสูงสุดของก๊าซ หรือ ไอของสารไวไฟ

    ในหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตรในอากาศ  ที่จะทำให้เกิดการไหม้ลุกลามขึ้นได้เมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ  หากค่าของความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศต่ำกว่าค่าต่ำสุด หรือ

    สูงกว่าค่าสูงสุดของการติดไฟ หรือการระเบิดแล้วจะไม่ทำให้เกิดการติดไฟ หรือการระเบิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีองค์ประกอบของการติดไฟครบทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ออกซิเจน

    ความร้อนหรือประกายไฟ และเชื้อเพลิง ดังนั้นช่วงของการติดไฟหรือการระเบิดได้ของสารเคมีก็คือช่วงที่ค่าความเข้มข้นไอของสารเคมีนั้นอยู่ระหว่าง LEL กับ UEL นั่นเอง

    ซึ่งค่า LEL และ UEL ของสารเคมีแต่ละชนิดจะต้องมีอุณหภูมิที่ทำการวัดกำกับไว้ด้วยเสมอ เพราะความเข้มข้นของสารเคมีจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง

Contact Us