Your shopping cart is empty!
ค่าแอมโมเนีย ไนไตรทและไนเตรด
ค่าแอมโมเนีย ไนไตรทและไนเตรด
โดยธรรมชาติจะมีวัฎจักรไนโตรเจนเป็นขบวนการที่เป็นการย่อยสลายแอมโมเนียเป็นไนไตรทและไนเตรด โดยแบคทีเรียที่ชื่อ Nitrosomonas เปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนไตรทและไนเตรด โดยย่อยสลายโดยแบคทีเรียชื่อ Nitrobacter เปลี่ยนเป็น ไนเตรด ในสภาวะที่มีออกซิเจน แอมโมเนียหมายถึง ก๊าชไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของ ionized form (NH4+) หรือในรูป unionized form (NH3) แอมโมเนียรูป NH3 จะเป็นพิษต่อสัตว์ มากกว่า NH4 แอมโมเนียทั้งสองรูปน้ำจะเป็นตัวไหนขึ้นอยู่กับค่า ph คือถ้าน้ำมี ph สูง แอมโมเนียจะเป็น NH3 เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ ถ้าน้ำมีค่า ph ต่ำ แอมโมเนียจะอยู่ในรูป NH4 ซึ่งจะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำต่ำ โดย NH3 จะทำลายการทำงานของเหงือกปลา โดยแอมโมเนียจะซึมผ่านผนังอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮีโมโกลบินของเลือดไม่สามารถรวมกับออกซิเจนที่ละลายในน้ำได้ พิษของแอมโมเนียจะรุนแรงยิ่งขึ้นถ้าอยู่ในสภาวะออกซิเจนต่ำ อุณหภูมิสูง ph สูงและความเค็มของน้ำสูงขึ้น แอมโมเนียในน้ำเกิดจากสิ่งขับถ่ายจากสัตว์น้ำ การย่อยสลายอินทรียวัตถุของแบคทีเรีย ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำไม่ควรเกิน 0.02 ppm ถ้าปริมาณแอมโมเนียในน้ำสูงถึง 1 ppm ปลาจะแสดงอาการโดยขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำ บริเวณลำตัวหรือ ครีบจะเป็นรอยแดงเหงือกเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำและอาจจะมีเลือดออก โดยปลาอาจจะนอนบริเวณพื้นตู้และครีบจะลู่ลงการลดความเป็นพิษของแอมโนเมียสามารถทำได้โดยการลด ph ในน้ำ เปลี่ยนถ่ายน้ำและลดการให้อาหาร
ไนเตรดซึ่งเป็นผลจากการย่อยสลายแอมโมเนียโดยแบคทีเรียมีความเป็นพิษต่อปลาโดยทั่วไปเมื่อปริมาณแอมโมเนียเพิ่มขึ้นในที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ปริมาณไนเตรดจะเพิ่มขึ้นด้วย และปริมาณไนไตรดในน้ำสูงถึง 1 ppm จะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ คือ ทำให้เกิดโรค Brown Blood Disease (เลือด สีน้ำตาล) ซึ่งเกิดจากไนไตรดทำให้เกิดสารชนิดที่ไม่จับออกซิเจน (feeric) ในเลือด ทำให้เลือดนำออกซิเจนไปใช้ไม่ได้และทำให้ระบบหายใจผิดปกติ ปลาจะแสดงอาการผิดปกติโดยการขึ้นมาหายใจบริเวณผิวน้ำ ขยับเหงือกอย่างรวดเร็ว และเหงือกจะเปลี่ยนสีจากปกติเป็น สีน้ำตาลดำ ปลาที่สัมผัสกับไนเตรดระดับต่ำในระยะเวลานานๆ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลงและทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้เช่น โรคอิค โรคครีบเน่าและการติดเชื้อแบคทีเรีย และถ้าระดับสารเฟอร์ริค(ferric เป็นสารที่ไม่จับออกซิเจน) ในเลือดสูงขึ้นจะส่งผลต่อตับ เหงือกและ เซลส์เลือด ถ้าไม่มีการแก้ไขโดยลดละดับไนไตรดปลาจะตายเพราะขาดออกซิเจน
การลดความเป็นพิษไนไตรด อาจทำได้โดยการเปลี่ยนน้ำ ใส่เกลือลงในน้ำ ลดการให้อาหารและการเพิ่มอากาศลงไปในน้ำ ไนเตรดเป็นผลจากการย่อยสลายไนไตรดโดยแบคทีเรีย โดยปกติไนเตรดไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำแต่ถ้าปลาต้องอยู่ในสภาพที่ปริมาณไนเตรดสูงกว่า 50 ppm ในเวลานานๆ จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลให้ปลาบางชนิดเกิดอาการเครียดได้ ซึ่งผลของความเครียดส่งผลให้ปลาเกิดโรคต่างๆ ได้ และทำให้ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง ปริมาณไนเตรดที่สูงจะมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของลูกปลา นอกจากไนเตรดจะมีผลต่อปลาที่เลี้ยงแล้วยังมีผลต่อการเกิดแพลงตอนพืชและตะไคร่น้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำได้ โดยปริมาณไนเตรดเพียง 10 ppm จะมีผลต่อการเกิดแพลงตอนพืชและตะไคร่น้ำ ในธรรมชาติปริมาณในเตรดจะค่อนข้างต่ำคือ ต่ำกว่า 5 ppm ในตู้เลี้ยงปลาน้ำจืดนั้นควรควบคุมไว้ไม่ให้เกิน 25 ppm แต่ถ้าจะใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาควรควบคุมไนเตรดไม่ให้เกิน 10 ppm การที่จะลดปริมาณไนเตรดโดยการย่อยสลายโดยแบคทีเรียเพื่อเปลี่ยนเป็นก๊าชไนโตรเจนนั้น ไม่เหมือนกับการย่อยสลายแอมโมเนียและไนไตรดโดยแบคทีเรียเนื่องจากแบคทีเรียที่จะย่อยสลายไนเตรดเป็นก๊าซไนโตรเจนนั้นเป็นแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนและในสภาพตู้ปลานั้นจะอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนซึ่งไม่สามารถที่จะให้แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนอาศัยอยู่ได้